ลูกดื้อ-ไม่สนใจเรียน-อยู่ไม่นิ่ง-รักษาสมาธิสั้นที่ไหนดี

ลูกดื้อ ไม่อยู่นิ่ง ไม่สนใจเรียน! รักษาสมาธิสั้นที่ไหนดี?

การที่ ลูกดื้อ ไม่สนใจเรียน เพราะมีอาการ อยู่นิ่งไม่ได้ เป็นสัญญาณบอกถึงอาการสมาธิสั้น (ADHD) เด็กที่มีอาการนี้มักมีปัญหาในการจดจ่อ ทำกิจกรรม ได้ไม่นาน อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน ทำให้มีพฤติกรรม อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สาเหตุของ โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ร่วมด้วย

บทความนี้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ประกอบการตัดสินใจว่าควรพาลูก รักษาสมาธิสั้นที่ไหนดี เพื่อรับการตรวจประเมินอาการและได้รับคำแนะนำในการดูแลสมาธิสั้นอย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยวางแผนการรักษาลูกน้อยได้เหมาะสมและช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้เติบโตไปในอนาคตได้

สารบัญ

ลูกไม่สนใจเรียน อยู่ไม่นิ่ง รเป็นเพราะสมาธิสั้น

การแสดงออกทางพฤติกรรม เช่น ลูกไม่สนใจเรียน ไม่ทำการบ้าน นั่งนิ่งนาน ๆ ไม่ได้ มักจะพบในเด็กที่มีสมาธิสั้น อย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคนมีพฤติกรรมแตกต่างกันขึ้นอยู่กับช่วงวัย สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู การสังเกตพฤติกรรมอย่างใกล้ชิดและประเมินเป็นประจำจะช่วยให้เข้าใจว่าเป็นเพียงนิสัยดื้อธรรมดาตามวัยหรืออาการสมาธิสั้นที่ต้องการขเ้ารับการวินิจฉัย

การสังเกตอาการสมาธิสั้นในเด็กตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้พ่อแม่รับรู้และช่วยแก้ไขได้ทันเวลา เด็กที่มีอาการสมาธิสั้น มีพฤติกรรมหลายรูปแบบ เช่น อาการอยู่นิ่งไม่ได้ ไม่มีสมาธิ เหม่อลอย และบางครั้งอาจแสดง พฤติกรรมก้าวร้าว หรือขัดคำสั่งโดยไม่ตั้งใจ

สัญญาณที่ควรสังเกตเพิ่มเติม เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นอาจจะมีปัญหาในการจัดการเวลา เช่น ลืมทำการบ้าน หรือทำงานไม่เสร็จตามกำหนด สนใจสิ่งหนึ่งอยู่ แล้วเลิกสนใจในไม่กี่นาที สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณเบื้องต้นที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ เพื่อประเมินว่าควรพาลูกไปพบผู้เชี่ยวชาญหรือไม่

เด็กสมาธิสั้นจะมีปัญหาในการเรียนรู้และการทำกิจกรรมต่าง ๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือและช่วยเหลือเพื่อ ปรับพฤติกรรม ลูกน้อยได้ดังนี้

1. สังเกตพฤติกรรม ดูว่าลูกมีอาการที่เข้าข่ายหรือไม่ หากมีอาการที่น่ากังวล เช่น อาการ อยู่นิ่งไม่ได้ ไม่ตั้งใจฟัง ควรบันทึกพฤติกรรมเหล่านี้เพื่อใช้ประกอบกับการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้

2. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เมื่อเห็นสัญญาณของสมาธิสั้น ควรพาลูกไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถให้คำแนะนำ และรักษาได้ถูกต้อง

3. การปรับกิจวัตรและสิ่งแวดล้อม สร้างตารางเวลาที่ชัดเจนจะช่วยให้ลูกจัดการเวลาได้ดีขึ้น เช่น ตั้งเวลาเล่นและเวลาทำการบ้าน และจัดเตรียมพื้นที่ที่เงียบสงบและไม่มีสิ่งรบกวนลกความสนใจเด็กให้มีสมาธิขึ้นได้

4. ฝึกทักษะการตั้งสมาธิ ใช้เทคนิคการทำสมาธิสามารถช่วยให้ลูกสงบและตั้งใจทำกิจกรรมได้ดีขึ้น นอกจากนี้ การเลือกกิจกรรมที่ต้องใช้ความจดจ่อ เช่น เล่นดนตรี ศิลปะ ก็สามารถช่วยฝึกสมาธิได้

5. กาบำบัดด้วยยา ยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นสมองให้หลั่งสารเคมีออกมาในระดับที่ปกติ ช่วยให้เด็กสามารถควบคุมตนเองได้และมีสมาธิมากยิ่งขึ้น ซึ่งควรได้รับยาและการดูแลรักษาภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

6. การฝึกพัฒนาสมอง โปรแกรม Brain and Life จะเป็นการช่วยเสริมสร้างทักษะสมองและการพัฒนาศักยภาพของลูกให้ดีมากขึ้น เพิ่มสมาธิ การจดจ่อ แก้สมาธิสั้น เป็นทางเลือกของการรักษาโดยไม่ใช้ยา ไม่มีผลข้างเคียง

เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นมักประสบกับความท้าทายหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งทางการเรียนและทางสังคม เมื่อเด็กไม่สามารถจดจ่อกับกิจกรรมต่าง ๆ ได้ จะส่งผลให้การเรียนรู้ของเขาช้าลง ทำให้ไม่สามารถทำการบ้านหรือเรียนตามเพื่อนได้ทัน และส่งผลอื่น ๆ ตามมาเช่น

  • พัฒนาการล่าช้า เด็กมีพัฒนาการช้าอาจทำให้เขามีปัญหาในการทำความเข้าใจในสิ่งที่ซับซ้อน ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น 
  • การเรียนรู้ช้าลง การขาดสมาธิทำให้เด็กไม่สามารถจดจ่อในการเรียนหรือทำการบ้านได้ ส่งผลให้ตามเพื่อนไม่ทัน ต้นเหตุของปัญหาทางการเรียนรู้ (LD) โดยเฉพาะในทักษะพื้นฐาน เช่น การอ่านและการเขียน ทำให้พูดช้าหรือ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
  • พฤติกรรมไม่เหมาะสม เด็กมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ ทำใหพฤติกรรมเด็ก ก้าวร้าว หรือใช้ความรุนแรง โวยวายและงอแงออกมา เมื่อไม่ได้ดั่งใจ
  • ขาดทักษะในการสื่อสาร: การที่เด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์อาจทำให้เด็กไม่สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกหรือสื่อสารกับเพื่อนร่วมชั้นได้ดี จึงไม่กล้าพูดคุยกับคนรอบข้าง ทำให้สมองไม่ถูกกระตุ้น เรียบเรียงคำพูดไม่เป็น ไม่เข้าใจคำศัพท์

อาการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับสมาธิสั้น เนื่องจากการที่เด็กไม่สามารถจดจ่อทำกิจกรรมได้ ทำให้มีโอกาสพลาดการเรียนรู้พื้นฐานที่สำคัญ เช่น การอ่าน-เขียน และการสื่อสาร

แนวทางการช่วยเหลือ การกระตุ้นสมองเด็กผ่านการเรียนรู้จากกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย เช่น การเล่นเกมฝึกสมอง และการให้เด็กทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการ จะช่วยเสริมสร้างทักษะพื้นฐานของเด็ก นอกจากนี้ พ่อแม่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหากพบว่าลูกมีอาการสมาธิสั้นร่วมกับการพัฒนาการล่าช้า

เทคนิคการปรับพฤติกรรม ช่วยให้เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่ต้องใช้สมาธิได้ดีขึ้น

ปรับพฤติกรรมเด็ก พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกเข้าใจและจัดการอารมณ์ของตัวเอง เช่น สอนให้ลูกรู้จักหายใจลึก ๆ เมื่อรู้สึกโกรธหรืออึดอัด นอกจากนี้ การให้คำชมเมื่อเด็กควบคุมตัวเองได้จะช่วยสร้างแรงจูงใจในการปรับพฤติกรรมให้ดีขึ้น

ทำกิจกรรมที่ต้องออกกำลัง เช่น วิ่ง เล่นกีฬาเป็นวิธีที่ช่วยให้เด็กระบายพลังงานและได้เจอคนใหม่่ ๆ ทำให้พัฒนาทักษะการเข้าสังคมขึ้นได้

สื่อสารกับโรงเรียนให้เข้าใจ บอกครูเกี่ยวกับปัญหาของลูกเพื่อให้ครูสามารถช่วยปรับวิธีการสอนและให้คำแนะนำได้อย่างเหมาะสมการทำกิจกรรมฝึกสมอง เล่นเกมที่ฝึกสมอง เช่น เกมที่ต้องใช้การวางแผนหรือความคิดสร้างสรรค์ เป็นการปรับพฤติกรรมที่ต้นเหตุ

รักษาสมาธิสั้นที่ไหนดี

ในประเทศไทยมีหลายสถานพยาบาลที่เชี่ยวชาญในการรักษาสมาธิสั้น ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน เช่น

โรงพยาบาลรัฐ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์, โรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่า

โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, โรงพยาบาลสมิติเวช, โรงพยาบาลกรุงเทพ

อีกหนึ่งทางเลือกที่ไม่ต้องรอคิวนานและได้รับคำปรึกษาที่เหมาะสมกับลูก ที่ Brain and Life Center สถาบันฝึกพัฒนาทักษะสมอง ให้บริการทดสอบทางสมองและพัฒนาการเด็ก ใช้การทดสอบ Gibson Test เพื่อตรวจหาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ ทักษะที่ต้องพัฒนา และ คอร์สฝึกสมองที่ออกแบบโปรแกรมเฉพาะบุคคล แก้ปัญหาได้ถูกจุด

| อ่านต่อ

ADHD_CTA

เมื่อสงสัยว่าลูกมีอาการสมาธิสั้น พ่อแม่ควรพาลูกไปพบผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสม เพื่อทำการตรวจและวินิจฉัยอาการอย่างถูกต้อง โดยสามารถหาหมอหรือผู้เชี่ยวชาญได้ดังนี้:

1. จิตแพทย์เด็ก (Child Psychiatrist) จิตแพทย์เด็กมีความรู้เฉพาะในการวินิจฉัยและรักษาโรคทางจิตเวชในเด็ก รวมถึง ADHD (Attention Deficit Hyperactivity Disorder)

2. จิตแพทย์ (Psychologist) จิตแพทย์จะทำการทดสอบและประเมินพฤติกรรมของลูกเพื่อเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น และให้คำแนะนำในการรักษา แก้ไข

3. กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและการเจริญเติบโต (Pediatrician) จะให้การดูแลอย่างเชี่ยวชาญแก่เด็กและวัยรุ่นที่มีความล่าช้าทางพัฒนาการและเด็กที่มีปัญหาทางด้านการเรียนรู้ การตรวจรักษาและวินิฉัยของแพทย์จะทำการประเมินปัญหาในแต่ละด้านเพื่อการวินิจฉัยโรครวมไปถึงหาสาเหตุ ที่ทำให้เด็กมีอาการสมาธิสั้น เช่น โรคทางระบประสาท ระบบของสมอง ทั้งนี้การวินิจฉัยโรคเด็กโดยไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดหรือเอกซ์เรย์สมองแต่อย่างใด แพทย์จะทำการประเมินพฤติกรรมจากที่โรงเรียนจากครูหรือผู้ปกครองผ่านแบบสอบถามหรือประเมินระดับสติปัญญา (IQ test)

โรคสมาธิสั้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและความร่วมมือของแต่ละคนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรับยารักษาอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากได้รับการรักษาเร็วก็จะทำให้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติ ลดความเสี่ยงต่อเรื่องอื่น ๆ ในการใช้ชีวิต และทำงานได้

อ่านเพิ่มเติม การใช้ยาและผลข้างเคียง

อ่านเพิ่มเติม การรักษาไม่ใช้ยา

Brain and Life Center เรามีบริการตรวจและฝึกทักษะสมองโดยไม่ต้องใช้ยา โดยผู้เชี่ยวชาญจะช่วยวิเคราะห์ทักษะสมองของลูก ผ่านการทดสอบ Gibson Test ซึ่งเป็นเครื่องมือประเมินที่มีมาตรฐานระดับโลก ช่วยวิเคราะห์ทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ เช่น สมาธิ ความจำ และการคิดเชิงเหตุผล

จากผลทดสอบที่ได้มา จะนำไปออกแบบโปรแกรมฝึกพัฒนาสมองเฉพาะบุคคล (Brain Course) เพื่อช่วยเสริมสร้างสมาธิ ปรับพฤติกรรม และเสริมความมั่นใจให้กับลูก ผู้เชี่ยวชาญจะติดตามพัฒนาการอย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าลูกได้รับการดูแลที่เหมาะสม ช่วยให้ลูกสามารถพัฒนาทักษะสมองได้ดีขึ้นสมวัย

สรุป

ลูกดื้อ ไม่สนใจเรียน อาจเป็นสัญญาณของสมาธิสั้น หรือ ADHD การสังเกตพฤติกรรมและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้วินิจฉัยและได้รับคำแนะนำได้ถูกต้อง ซึ่งการรักษาสมาธิสั้นมีหลายวิธี ทั้งการใช้ยา การปรับพฤติกรรม และการฝึกพัฒนาสมอง การเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมจะช่วยให้ลูกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ Brain and Life Center เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาสมาธิสั้นโดยไม่ใช้ยา ด้วยโปรแกรมฝึกพัฒนาสมองเฉพาะบุคคลที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ลูกมีสมาธิที่ดีขึ้น และมีพัฒนาการที่สมวัย

This will close in 0 seconds