ลูกซน อยู่ไม่นิ่ง พาลูกไปตรวจสมาธิสั้นที่ไหนดี
ปัญหา ลูกซน อยู่ไม่นิ่ง ทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกเป็นกังวล อาจสงสัยว่าลูกเป็น “สมาธิสั้น” หรือเรียกอีกอย่างว่า ADHD (Attention Deficit Hyperactivity Disorder) เด็กที่มีอาการนี้มักไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ส่งผลต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียนและการอยู่ร่วมกับคนอื่น ควรพาลูกไปตรวจดูอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ การตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการจะช่วยให้แก้ปัญหาได้ไวและได้ผลลัพธ์ดีกว่า เพราะเด็กวัยนี้พัฒนาได้รวดเร็ว กว่าเด็กที่มีอายุมาก
หากคุณพ่อคุณแม่ยังลังเลว่า จะพาลูกไปตรวจสมาธิสั้นที่ไหนดี บทความนี้จะช่วยประกอบการตัดสินใจได้ค่ะ
สารบัญ
- อาการสมาธิสั้นเป็นอย่างไร?
- เด็กสมาธิสั้นมีกี่ระดับ?
- สมาธิสั้นดูได้ตอนกี่ขวบ?
- ข้อสังเกตุอาการสมาธิสั้น
- ลูก สมาธิสั้น อยู่ ไม่ นิ่ง ทำอย่างไรดี?
- พัฒนาการไม่สมวัยมีผลต่อสมาธิสั้นหรือไม่?
- พาลูกไปตรวจสมาธิสั้นที่ไหนดี?
- ไม่อยากรอคิวโรงพยาบาลนาน ตรวจที่ไหนได้อีก
- หากลูกมีเสี่ยงเป็น สมาธิสั้น แต่ไม่อยากรักษา จะเป็นอย่างไร?
- สรุป
อาการสมาธิสั้นเป็นอย่างไร?
สมาธิสั้น (ADHD) เป็นภาวะที่เด็กมีปัญหาในการจดจ่อกับงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นมักจะซน อยู่ไม่นิ่ง และไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมได้ดี ซึ่งส่งผลต่อการเรียน การเล่น และการเข้าสังคม อาการสมาธิสั้นมี 3 แบบ ดังนี้
- การขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่ได้นาน หลงลืมง่าย หรือทำงานไม่เสร็จ
- การซนและอยู่ไม่นิ่ง มักเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา แม้จะเป็นในสถานการณ์ที่ต้องนั่งนิ่ง เช่น ในห้องเรียนหรือขณะทำการบ้าน
- พฤติกรรมก้าวร้าว บางครั้ง เด็ก มี นิสัย ก้าวร้าว พูดแทรก หรือทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมโดยไม่ได้ตั้งใจ
เด็กสมาธิสั้นมีกี่ระดับ?
อาการสมาธิสั้นในเด็กสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับตามความรุนแรง ได้แก่
- ระดับเล็กน้อย เด็ก อยู่ ไม่ นิ่ง มีพฤติกรรมซน และขาดสมาธิ แต่ยังสามารถควบคุมตัวเองได้บ้าง
- ระดับปานกลาง อาการเริ่มส่งผลต่อการเรียนรู้และการเข้าสังคม เด็กอาจไม่สามารถจดจ่อกับงานได้และมีปัญหาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับเพื่อน
- ระดับรุนแรง อาการส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันทุกด้าน ทั้งการเรียน การเข้าสังคม และความสัมพันธ์กับคนรอบตัว
สมาธิสั้นดูได้ตอนกี่ขวบ?
เด็กสามารถเริ่มแสดงอาการสมาธิสั้นตั้งแต่อายุ 3-4 ปี ในช่วงนี้สมาธิและความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมควรพัฒนาได้ตามปกติ แต่หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีปัญหาในการจดจ่อ อยู่ไม่นิ่ง หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าว มากกว่าวัย อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเด็กมีปัญหาด้านสมาธิ หรือเสี่ยงที่จะเป็น ADHD ได้
ข้อสังเกตุอาการสมาธิสั้น
- จดจ่อนาน ๆ ไม่ได้ เด็กอาจมีปัญหาในการทำกิจกรรม ไม่สามารถทำการบ้านหรือฟังครูในห้องเรียนได้นานๆ มักจะเปลี่ยนความสนใจได้ง่าย เช่น เสียงเล็กๆ หรือการเคลื่อนไหวรอบตัวอาจทำให้เด็กหลุดโฟกัสจากสิ่งที่ทำอยู่
- อยู่ไม่นิ่ง เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นมักจะนั่งไม่ค่อยนิ่ง รู้สึกไม่สบายเมื่อต้องนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน เช่น ขยับขา หรือมืออยู่ตลอดเวลา
- ลืมง่าย เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นมักจะลืมสิ่งที่ทำ หรือสิ่งที่เพิ่งพูดคุยไป
- การไม่สามารถทำงานเสร็จตามเวลา เด็กอาจใช้เวลานานในการทำการบ้านหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ มักจะทิ้งงานทำไม่เสร็จหรือไม่ส่งงานตามกำหนด
- การมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เด็กอาจแสดง พฤติกรรมก้าวร้าว หรือใช้ความรุนแรง โวยวายเมื่อไม่สามารถทำตามคำสั่ง เพราะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้
ลูกเสี่ยงเป็น สมาธิสั้น ทำอย่างไรดี?
เมื่อสังเกตอาการของลูกน้อยแล้วมีอาการเสี่ยงที่ลูกเป็นสมาธิสั้น หรือ ADHD การแก้ไขพฤติกรรม ควรเริ่มจากการสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้ลูกจดจ่อและมีสมาธิมากขึ้น เช่น ลดสิ่งเร้ารอบข้าง สร้างกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย หากมีอาการที่รุนแรง วิธี แก้เด็กสมาธิสั้น ควรเริ่มจากการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำในการรักษา ทั้งการทานยา รวมถึงการฝึกพัฒนาสมองที่ช่วยให้ลูกมีความสามารถในการควบคุมตัวเองดีขึ้น
วิธีแก้เด็กสมาธิสั้น
วิธีแก้เด็กสมาธิสั้น มีหลายวิธีที่สามารถปรับใช้ให้เหมาะสมกับลูกได้ ซึ่งสามารถช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ วิธีที่สามารถนำไปปรับใช้ได้
1. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ขั้นตอนแรกที่สำคัญคือการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง แพทย์จะทำการประเมินอาการของเด็กผ่านการสังเกตและพูดคุยผู้ปกครองเพื่อแยกแยะระหว่างสมาธิสั้นและปัญหาอื่น ๆ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ยา การบำบัดพฤติกรรม หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
2. การบำบัดทางพฤติกรรม
การบำบัดทางพฤติกรรมเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเด็กฝึกสมาธิ นอกจากนี้ยังสอนให้เด็กจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ดีขึ้น และการฝึกแก้ปัญหาด้วยตนเอง
3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน สร้างตารางกิจวัตรประจำวันที่ชัดเจนและทำอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เด็กมีวินัยและรู้ตัวว่าต้องทำอะไรบ้าง
4. ความร่วมมือจากครูและโรงเรียน
การสื่อสารกับครูและโรงเรียนเป็นส่วนสำคัญในการดูแลเด็ก ควรแจ้งให้ครูทราบถึงอาการของเด็ก เพื่อให้ครูเข้าใจและสามารถปรับวิธีการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็ก
พัฒนาการไม่สมวัยมีผลต่อสมาธิสั้นหรือไม่?
พ่อแม่หลายคนสงสัยว่า พัฒนาการไม่สมวัย เช่น การพูดช้าหรือการทำงานช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน อาจมีผลต่ออาการสมาธิสั้นหรือไม่? คำตอบคือ พัฒนาการช้า อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณบ่งบอกว่าลูกมีปัญหา สมาธิสั้น เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยมักมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์และการแสดงออก ไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกของตนเองได้ดีอาจทำให้พวกเขามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ การตั้งสมาธิก็จะยิ่งทำได้ยาก ดังนั้นการตรวจพัฒนาการของเด็กตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยให้พ่อแม่สามารถรับรู้ปัญหาและจัดการได้ไว
พาลูกไปตรวจสมาธิสั้นที่ไหนดี?
การพาลูกไปตรวจสมาธิสั้นเป็นขั้นตอนสำคัญในการรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง ในประเทศไทยมีหลายสถานพยาบาลที่ให้บริการตรวจสมาธิสั้น เช่น
โรงพยาบาลรัฐ ตรวจสมาธิสั้นในกรุงเทพฯ ได้แก่
- สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
- สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
- โรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่า
- โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
- สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
โรงพยาบาลเอกชน ที่ตรวจสมาธิสั้นในกรุงเทพฯ ได้แก่
- โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
- โรงพยาบาลสมิติเวช
- โรงพยาบาลกรุงเทพ
- โรงพยาบาลพญาไท
- โรงพยาบาลเปาโล
หาหมอสมาธิสั้น ไม่อยากรอคิวโรงพยาบาลนาน ตรวจที่ไหนได้อีก
หากการเข้ารับการรักษาหรือตรวจสมาธิสั้น หรือ ADHD ใช้เวลารอคิวนานหลายเดือน Brain and Life Center อีกทางเลือกสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่อยากรอนาน เป็นศูนย์พัฒนาทักษะสมองที่เชี่ยวชาญในการตรวจและประเมินทักษะ ผ่านการทดสอบทางสมองด้วย Gibson Test ช่วยวิเคราะห์ทักษะด้านสมองที่ขาดและจำเป็นต่อการพัฒนาการเรียนรู้
นอกจากการทดสอบแล้ว ยังมีโปรแกรมฝึกพัฒนาสมอง Brain Course ที่ออกแบบให้เหมาะกับทักษะเฉพาะบุคคล มีงานวิจัยรองรับ มาตรฐานอเมิรกา เพื่อช่วยปรับพฤติกรรมและเสริมสร้างสมาธิของเด็กในระยะยาว มีผู้เชี่ยวชาญดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าลูกได้รับการดูแลที่เหมาะสม ช่วยให้ลูกสามารถพัฒนาทักษะสมองได้ดีขึ้น
หากลูกมีเสี่ยงเป็น สมาธิสั้น แต่ไม่อยากรักษา จะเป็นอย่างไร?
สมาธิสั้นนั้นมีผลต่อการควบคุมตัวเองส่งผลกระทบต่อลูกได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม พฤติกรรมนี้จะติดตัวเด็กไปจนโตและเกิดผลเสียในอนาคต
ผลกระทบในระยะสั้น
- การพัฒนาทางการเรียนรู้ เด็กที่มีโรคสมาธิสั้นมักพบปัญหาในการตั้งใจเรียนหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ อาจส่งผลให้เกิดภาวะการเรียนรู้บกพร่องหรือ LD ร่วมด้วย ทำให้เรียนรู้ได้ช้ากว่าวัย เรียนตามไม่ทันเพื่อน
- ปัญหาด้านพฤติกรรม ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ เช่น เมื่อไม่ได้ดั่งใจก็จะโวยวาย ใช้อารมณ์และความรุนแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดความขัดแย้งกับคนรอบตัว จนทำให้เด็กมีความเครียดหรือวิตกกังวล
- ความสัมพันธ์กับคนรอบตัว เนื่องจากพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากเด็กคนอื่น เด็กที่มีสมาธิสั้นอาจรู้สึกแปลกแยกจากเพื่อน ทำให้เกิดปัญหาในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนในวัยเดียวกัน
ผลกระทบในระยะยาว
- ผลกระทบต่อการศึกษา มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาในการเรียนในระดับที่สูงขึ้น ส่งผลให้มีโอกาสน้อยในการเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย เนื่องจากเด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้เมื่อมีความซับซ้อนมากขึ้น หรือไม่สามารถทำงานได้ตามที่สั่ง
- ผลกระทบทางอารมณ์และจิตใจ มีความเสี่ยงสูงที่จะพบอาการซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล ร่วมด้วย เนื่องจากความรู้สึกด้อยค่าและการรับรู้ถึงความไม่สามารถที่จะทำตามความคาดหวังของตนเองและคนรอบข้าง
- การทำงาน ผู้ใหญ่ที่เคยเป็นเด็กที่มีสมาธิสั้นพบเจอปัญหาในการทำงาน เช่น การรักษาความมีระเบียบเรียบร้อย การจัดการเวลา และการทำงานร่วมกับทีม ซึ่งทำให้มีความเครียดและกดดันในการทำงาน จนไม่สามารถทำไหว
สรุป
หากลูกมีอาการ ซน อยู่ไม่นิ่ง หรือจดจ่อไม่ได้ มีความเสี่ยงเป็นสมาธิสั้นหรือ ADHD ควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง สถานที่ตรวจมีทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ซึ่งการเข้ารักษาสมาธิสั้นมีหลายวิธี ทั้งการใช้ยา การทำกิจกรรมบำบัด และการฝึกทักษะต่าง ๆ ดังนั้นการพาลูกไปตรวจสมาธิสั้นเป็นขั้นตอนสำคัญในการช่วยให้ลูกได้รับการดูแลที่เหมาะสม
หากคุณพ่อคุณแม่ไม่อยากรอคิวตรวจนาน หรือไม่อยากให้ลูกทานยา Bran and Life ศูนย์พัฒนาสมองและศักยภาพ มีผู้เชี่ยวชาญในการตรวจและประเมินทักษะสมอง ซึ่งจะสามารถรู้ทักษะการคิดและการเรียนรู้ (Cognitive Skills) ทั้ง 7 ด้าน อีกหนึ่งตัวเลือกการรักษาโดยไม่ต้องทานยา