ลูกเป็นสมาธิสั้น และ LD ร่วมด้วย ต้องรักษายังไง

ลูกเป็นสมาธิสั้น และ LD ร่วมด้วย ต้องรักษายังไง

ลูกเป็น สมาธิสั้น (ADHD) และ บกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก การเรียนรู้ และการเติบโตของลูก ปัญหานี้ส่งผลโดยตรงต่อ เด็ก ทั้งการเข้าสังคม การใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการเรียนรู้ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

สารบัญ

โรคสมาธิสั้นและโรค LD

โรคสมาธิสั้น (ADHD) หรือ Attention Deficit Hyperactivity Disorder คือ ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง และควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้

สาเหตุและอาการโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น เกิดจากความผิดปกติทางสมอง เช่น การทำงานของสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ที่ไม่สมดุล หรืออาจเกิดได้จาก พันธุกรรม หากพ่อแม่หรือญาติมีประวัติ ADHD เด็กก็มีโอกาสได้รับผลกระทบเช่นกัน อาการที่พบได้บ่อยคือ ลูกอยู่ไม่นิ่ง ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ไม่มีสมาธิ

ผลกระทบ

  • ส่งผลต่อการเรียน เช่น ไม่สามารถทำงานให้เสร็จตรงเวลา
  • มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์และสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อน

อ่านโรคสมาธิสั้น เพิ่มเติมคลิก

โรค LD (Learning Disabilities) คือ ความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นภาวะที่เด็กมีปัญหาในการเรียนรู้เฉพาะด้าน แม้ว่าจะมีสติปัญญาปกติหรือสูงกว่าค่าเฉลี่ย

ประเภทของ LD

Dyslexia (บกพร่องด้านการอ่าน)

  •  มีปัญหาในการอ่านคำหรือประโยค
  • เข้าใจเนื้อหาช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน

Dysgraphia (บกพร่องด้านการเขียน)

  • เขียนตัวหนังสือกลับด้าน เช่น “b” กับ “d”
  • เขียนไม่ตรงบรรทัดหรือเขียนคำผิดบ่อย

Dyscalculia (บกพร่องด้านการคำนวณ)

  • มีปัญหาในการจำตัวเลขหรือการทำโจทย์คณิตศาสตร์

สาเหตุของโรค LD

ความผิดปกติทางประสาท เช่น การทำงานของสมองที่ประมวลผลข้อมูลช้ากว่าปกติ รวมถึงการถ่ายถอดทางพันธุกรรม

ผลกระทบ

  • ส่งผลต่อการเรียน เช่น ไม่สามารถอ่านหรือเขียนได้เท่ากับเพื่อน
  • เด็กอาจรู้สึกท้อกับการเรียนและไม่อยากเรียนอีก

อ่านโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) เพิ่มเติมคลิก

เด็กสมาธิสั้น มีโอกาสเป็นโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ ได้ง่าย เนื่องจากปัจจัยหลายด้าน เช่น เด็กไม่มีสมาธิ ทำให้ไม่สามารถจดจ่อกับเนื้อหาการเรียนได้ ประมวลผลข้อมูลช้าทำให้เข้าในเนื้อหาได้ยาก และปัญหาด้านพฤติกรรม ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ในห้องเรียนและการพัฒนาทักษะพื้นฐาน หากไม่ได้รับการดูแลและวิธีแก้ไขอย่างเหมาะสม เด็กเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น LD (Learning Disabilities) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้เด็กมีปัญหาเฉพาะด้าน เช่น การอ่าน การเขียน หรือการคำนวณ

การวินิจฉัยเด็กสมาธิสั้น (ADHD) และบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) เป็นกระบวนการที่ช่วยระบุปัญหาและออกแบบแนวทางการรักษาและการดูแลที่เหมาะสม การวินิจฉัยอย่างถูกต้องช่วยให้เด็กได้รับการสนับสนุนทั้งในด้านพฤติกรรม การเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพ

ขั้นตอนการวินิจฉัยสมาธิสั้น

  1. การสอบถามประวัติพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะเริ่มต้นด้วยการสอบถามจากพ่อแม่ ครู โดยเน้นไปที่พฤติกรรมของเด็กในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น บ้าน โรงเรียน หรือที่สาธารณะ
  2. การใช้แบบประเมินมาตรฐาน แบบประเมินที่เป็นที่นิยมในการวินิจฉัยสมาธิสั้น เช่น Conners’ Rating Scales ประเมินพฤติกรรมและอาการสมาธิสั้น
    Vanderbilt ADHD Diagnostic Parent and Teacher Scales ประเมินอาการสมาธิสั้นผ่านมุมมองของพ่อแม่และครู
  3. การตรวจร่างกายและวิเคราะห์ปัจจัยอื่น ๆ แพทย์จะตรวจสอบสภาพร่างกายเพื่อแยกโรคอื่นที่อาจทำให้เกิดอาการคล้ายสมาธิสั้น เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล
  4. การสังเกตพฤติกรรมในสถานการณ์จริง การดูพฤติกรรมของเด็กในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น การเรียนในห้องเรียน การทดสอบผ่านกิจกรรมที่ต้องการสมาธิ เช่น การต่อบล็อกหรือการจับคู่

ทำแบบประเมินเด็กสมาธิสั้นอย่างง่าย 10 ข้อ คลิก

  1. การทดสอบด้านการเรียนรู้ การวินิจฉัย LD จำเป็นต้องใช้การทดสอบเฉพาะด้านเพื่อระบุปัญหาในทักษะการเรียนรู้ เช่น
    การอ่าน (Dyslexia) ทดสอบการจดจำตัวอักษร การออกเสียง และการเข้าใจเนื้อหา
    การเขียน (Dysgraphia) ประเมินลายมือ การเขียนสะกดคำ และการเรียงประโยค
    การคำนวณ (Dyscalculia) ทดสอบการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ การจดจำตัวเลข และการใช้เครื่องคิดเลข
  2. เปรียบเทียบกับเกณฑ์อายุและระดับชั้นเรียน วิเคราะห์ทักษะของเด็กว่าต่ำกว่ามาตรฐานของเพื่อนในวัยเดียวกันหรือไม่ และประเมินปัญหาการเรียนรู้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากน้อยแค่ไหน
  3. การประเมินศักยภาพทางปัญญา ใช้การทดสอบไอคิว (IQ Test) หรือแบบทดสอบความสามารถเฉพาะด้าน
  4. การรวบรวมข้อมูลจากครูและพ่อแม่ ข้อมูลจากผู้ที่ใกล้ชิดกับเด็ก เช่น ครูและผู้ปกครอง มีความสำคัญในการระบุลักษณะของปัญหา เช่น

ความแตกต่างในการวินิจฉัย ADHD และ LD

ADHD เน้นการสังเกตพฤติกรรมและการควบคุมอารมณ์ เช่น การอยู่ไม่นิ่งหรือขาดสมาธิในทุกสถานการณ์

LD มุ่งเน้นที่ทักษะการเรียนรู้เฉพาะด้าน เช่น การอ่าน การเขียน หรือการคำนวณ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับความฉลาด

Brain and Life สถาบันฝึกพัฒนาทักษะสมอง ให้บริการทดสอบทักษะทางสมองและพัฒนาการเด็ก ตรวจทักษะที่ขาดไป โดยใช้การทดสอบทักษะสมอง Gibson Test เพื่อตรวจหาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ ทักษะที่ต้องพัฒนา แต่ไม่ได้วินิจฉัย โรคสมาธิสั้น (ADHD) หรือโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD)” ได้โดยตรง ลูกอาจจะขาดทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิต พร้อมโปรแกรมพัฒนาทักษะออกแบบเฉพาะบุคคล เพื่อฝึกพัฒนาทักษะสมองทั้ง 7 ด้านที่ช่วยให้มีสมาธิและการเรียนรู้ได้ดีขึ้น

เด็กที่มีอาการสมาธิสั้น และเป็น LD ร่วมด้วย มีอาการที่คล้ายกันและส่งผลถึงกันในด้านปัญหาพฤติกรรมและการเรียนรู้ การรักษาโรคทั้งสองมีอยู่หลายวิธี ซึ่งต้องให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการวินิจฉัยอย่างละเอียดร่วมด้วย เพื่อระบุลักษณะและระดับความรุนแรงของสมาธิสั้นและภาวะ LD โดยแนวทางการรักษามีดังนี้โดยแนวทางการรักษามีดังนี้

  1. การรักษาด้วยยา ใช้ยาเพื่อช่วยเพิ่มสมาธิและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
  2. การบำบัดพฤติกรรม ฝึกเด็กให้เรียนรู้การจัดการอารมณ์และพฤติกรรม เช่น การควบคุมสมาธิ
  3. การศึกษาพิเศษ ปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับอาการ เช่น สอนเด็ก LD ด้วยวิธีเฉพาะ การสะกดคำซ้ำ ๆ หรือใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย
  4. การรักษาด้วยยาและการบำบัด เป็นวิธีทีได้ผลช่วยให้เด็กพัฒนาศักยภาพและปรับตัวในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น เนื่องจากการใช้ยาช่วยให้เด็กสามารถควบคุมพฤติกรรมได้ในระยะสั้น ขณะที่การบำบัดสมองช่วยพัฒนาความสามารถในระยะยาว

Brain and Life Center มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของเด็กที่มีสมาธิสั้น และโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ ผ่านโปรแกรมฝึกสมองที่ออกแบบเฉพาะบุคคลให้เหมาะสมกับแต่ละอาการ ได้รับมาตรฐานจาก BrainRx ศูนย์ฝึกสมองที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา มีการวิจัยรองรับและมีเคสตัวอย่างที่เห็นผลหลังจากฝึกเพียงไม่กี่เดือน เพื่อช่วยเด็กทุกคนพัฒนาทักษะในทุกด้าน ทั้งด้านสมอง การเรียนรู้ และใช้ชีวิตได้ด้วยตัวเองในอนาคต

เทคนิคการสอนเด็กสมาธิสั้น

เทคนิคการสอนเด็กสมาธิสั้น และ เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ จำเป็นต้องใช้วิธีการที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของเด็กแต่ละคน เน้นการปฏิบัติ เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

เทคนิคการสอนเด็ก ADHD

1. สอนทีละขั้นตอน เด็กที่มีสมาธิสั้นมักมีปัญหาในการจัดการกับข้อมูล การสอนทีละขั้นตอนช่วยให้ลูกเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น

2. สร้างกิจวัตรและตารางเวลาที่ชัดเจน เด็ก ADHD ทำงานได้ดีขึ้นเมื่อรู้ว่าต้องทำอะไรในเวลาใด การมีกิจวัตรที่สม่ำเสมอช่วยลดความสับสนและเพิ่มสมาธิให้มากขึ้น

3. ใช้สื่อการสอนที่น่าสนใจและหลากหลาย การใช้สื่อที่มีสีสันหรือภาพประกอบช่วยดึงดูดความสนใจของเด็ก ADHD ได้

4. ส่งเสริมลูกให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เด็ก ADHD ชอบทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวและมีส่วนร่วม การสอนที่กระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วมช่วยเพิ่มการเรียนรู้ได้ดี

เทคนิคการสอนเด็ก LD

1. ใช้วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย เด็ก LD มักมีปัญหาเฉพาะด้าน เช่น การอ่าน การเขียน หรือการคำนวณ การใช้วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายช่วยสร้างความเข้าใจได้ง่ายขึ้น

2. สอนซ้ำและเน้นการฝึกทำจริง เด็ก LD ต้องการเวลาในการเรียนรู้มากกว่าเด็กทั่วไป การฝึกซ้ำโดยการลงมือทำจริงช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและความเข้าใจได้

3. ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโะโยชน์ เทคโนโลยีสามารถช่วยเด็ก LD เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เช่น โปรแกรมฝึกอ่าน แอปพลิเคชันช่วยเขียน หรือเกมคณิตศาสตร์

การสอนเด็ก ADHD และ LD ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างพ่อแม่ ครู และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมและช่วยให้เด็กพัฒนาศักยภาพได้เต็มที่ การสอนและการฝึกฝนเป็นสิ่งสำคัญจะช่วยให้เด็กเรียนรู้และเติบโตไดเต็มที่

GibsonTest_CTAmotion-gif

สรุปลูกเป็นสมาธิสั้น และ LD ร่วมด้วย ต้องรักษายังไง

การรักษาเด็ก ADHD และ LD ต้องใช้การดูแลที่ครอบคลุมทั้งด้านการแพทย์ การบำบัด การศึกษา และการเลี้ยงดูจากครอบครัว เพื่อให้เด็กสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ สมาธิ และความมั่นใจในตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Brain and Life Center พร้อมช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ในการวิเคราะห์ปัญหาพฤติกรรมเด็ก และพัฒนาสมองของลูกด้วยโปรแกรมที่ออกแบบเฉพาะบุคคล เพื่อช่วยให้ลูกพัฒนาสมาธิและพฤติกรรม พร้อมใช้ชีวิตอย่างมั่นใจและมีความสุขในอนาคต

This will close in 0 seconds