โรคสมาธิสั้น แก้ยังไง ไม่ใช้ยา

โรคสมาธิสั้น แก้ยังไง โดยไม่ใช้ยา

โรคสมาธิสั้น เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อเด็กในชีวิตประจำวัน หลายครอบครัวอาจสงสัยว่า โรคสมาธิสั้นแก้ยังไง โดยไม่ใช้ยา ได้หรือไม่ คำตอบคือ “ได้” ด้วยวิธีการดูแลที่เหมาะสม การฝึกทักษะ และการบำบัด อย่างถูกต้อง คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกปรับตัวและพัฒนาได้อย่างเต็มที่โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา

สารบัญ

โรคสมาธิสั้นคืออะไร

โรคสมาธิสั้น คือ ภาวะพัฒนาการทางสมองที่ทำให้เด็กมีปัญหาในการจดจ่อ ทำงานไม่ต่อเนื่อง หรือควบคุมพฤติกรรมได้ยาก หรือเรียกว่า ADHD (Attention Deficit Hyperactive Disorder) อาการหลักของโรคสมาธิสั้นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • ขาดสมาธิ (Inattention) มีอาการเหม่อลอย หลงลืมได้ง่าย
  • อยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) อยู่ไม่นิ่ง จดจ่อนาน ๆ ไม่ได้ พูดคุยมาก
  • หุนหันพลันแล่น (Impulsivity) โวยวาย ทำอะไรไม่คิด บางครั้งอาจใช้ความรุนแรงหากไม่ได้ดั่งใจ

อ่านโรคสมาธิสั้น ADHD เพิ่มเติม คลิก

สมาธิสั้น แก้ยังไง โดยส่วนใหญ่ โรคสมาธิสั้นรักษาหายได้ หรือสามารถควบคุมอาการให้ดีขึ้น สามารถทำงานและใช้ชีวิตปกติได้ มีเพียงประมาณร้อยละ 30 ที่อาการอาจแย่ลงและมีปัญหาเรื่องพฤติกรรม อาการจะดีขึ้นหรือแย่ลงขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาที่เหมาะสมทั้งในบ้านและโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยแก้ไขพฤติกรรมของลูกได้โดย

  1. สร้างกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จัดตารางเวลาที่ชัดเจน มีกิจวัตรประจำวันที่เป็นระบบช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่ต้องทำ และลดการวอกแวก ไม่มีสมาธิ
  2. การฝึกสมาธิ จะช่วยให้เด็กสงบและจดจ่อกับสิ่งที่ทำ ลดความว้าวุ่นและเพิ่มสมาธิ
  3. ทำกิจกรรมกระตุ้นสมอง ใช้อุปกรณ์หรือสื่อการเรียนที่ช่วยให้เด็กจดจ่อได้ง่ายขึ้น เล่นเกมที่ช่วยพัฒนาการของเด็ก เช่น เกมจิ๊กซอว์ หมากรุก หรือเกมจับคู่ การใช้สี การ์ด หรือภาพประกอบ
  4. ชื่นชมเมื่อเด็กทำสิ่งที่ดีหรือสำเร็จ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ ให้เด็กกล้าที่จะทำอะไรใหม่ ๆ เปิดโอกาสการเรียนรู้
  5. ปรับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ จัดพื้นที่ที่ปราศจากสิ่งรบกวนสำหรับการทำการบ้าน หรือกิจกรรม การดูแลด้วยวิธีเหล่านี้จะช่วยให้เด็กสมาธิสั้นมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และสามารถปรับตัวในชีวิตประจำวันได้ดีโดยไม่ต้องพึ่งพาการรักษาด้วยยาในทันที

เมื่อทราบว่าลูกมีภาวะสมาธิสั้น (ADHD) คุณพ่อคุณแม่มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ลูกปรับตัวและพัฒนา การดูแลที่เหมาะสมและการสนับสนุนที่ถูกวิธีจะช่วยให้ลูกสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่คำแนะนำที่สำคัญสำหรับพ่อแม่ในการดูแลเด็กสมาธิสั้น ได้แก่

1. ยอมรับและเข้าใจภาวะสมาธิสั้น ศึกษาและทำความเข้าใจว่า โรคสมาธิสั้นคืออะไร เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มีข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูก ยอมรับว่าโรคสมาธิสั้นไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับสติปัญญา แต่เป็นการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ซึ่งสามารถพัฒนาและรักษาให้ดีขึ้นได้

2. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม หากพฤติกรรมของลูกส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น การเรียน การเข้าสังคม ควรปรึกษาแพทย์ นักจิตวิทยา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก เพื่อช่วยวางแผนการดูแลที่เหมาะสม เช่น การบำบัดพฤติกรรม การฝึกสมาธิ หรือการให้คำปรึกษาครอบครัว

3. ให้เวลาและสนับสนุนการเรียนรู้ของลูก ใช้เวลากับลูกในการเล่นหรือทำกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มสมาธิ ให้ลูกได้ลองทำกิจกรรใหม่ ๆ ที่ช่วยเปิดโอกาส เช่น การต่อจิ๊กซอว์ การวาดภาพ

4. หลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีเป็นพี่เลี้ยงเด็ก ควรหลีกเลี่ยงให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ดูอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะภาพ เสียงเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้เด็กไม่ยอมละสายตา และไม่สนใจสิ่งรอบข้าง กับกิจกรรมอื่นๆ เสี่ยงอาการจะรุนแรงมากขึ้น

สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำ

  1. ตำหนิหรือลงโทษลูกมากเกินไป อาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกแย่และขาดความมั่นใจ
  2. เปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น ทำให้ลูกน้อยรู้สึกด้อยค่า และไม่กล้าทำเพราะกลัวโดนดุ
  3. ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์มากเกินไป ควรเน้นการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้มากกว่าผลสำเร็จว่าลูกจะต้องหายโดยเร็ว

ทำอย่างไรเมื่อ ลูกเป็นสมาธิสั้น อ่านต่อ คลิก!

แม้โรคสมาธิสั้น (ADHD) จะไม่มีวิธีรักษาให้ “หายขาด” ได้ในทันทีหรือรักษาโดยใช้ระยะเวลาอันสั้น แต่ การรักษาเด็กสมาธิสั้น มีหลายวิธีที่สามารถจัดการและพัฒนาพฤติกรรม รวมถึงลดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

  • การปรับพฤติกรรม (Behavioral Therapy) การบำบัดพฤติกรรมเป็นวิธีสำคัญในการช่วยผู้ที่มีสมาธิสั้นให้สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมได้ดีขึ้น เช่น วาดภาพ ฟังเพลง เต้น เป็นต้น
  • การฝึกสมาธิ การฝึกสมาธิช่วยเพิ่มความสงบและความสามารถในการจดจ่อ
  • การออกกำลังกายและกิจกรรมที่ใช้พลังงาน การออกกำลังกายช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง เพิ่มสมาธิ และลดพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง
  • การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสมาธิช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้และทำกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ลดเสียงรบกวนหรือของเล่นที่ล่อตา ใช้การอ่านหนังสือ ภาพ หรือ มีเสียงช่วยในการเรียนรู้
  • ปรับอาหารและโภชนาการ อาหารที่ดีมีผลโดยตรงต่อสมองและพฤติกรรม เช่น อาหารที่มีโอเมก้า 3 จากปลา ถั่ว และธัญพืช และ ลดอาหารที่กระตุ้นพฤติกรรมสมาธิสั้น เช่น อาหารที่มีน้ำตาลสูง คาเฟอีน หรืออาหารแปรรูป
  • การรักษาด้วยยา โดยทั่วไปแพทย์มักให้การรักษาด้วยยา ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นสมองให้หลั่งสารเคมีออกมาในระดับที่ปกติ ช่วยให้เด็กสามารถควบคุมตนเองได้และมีสมาธิมากยิ่งขึ้น ซึ่งควรได้รับยาและการดูแลรักษาภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง
  • การฝึกทักษะสมอง การฝึกทักษะสมองช่วยส่งเสริมทักษะทางด้านการเรียนรู้ สมาธิ ส่งผลให้เด็กสมาธิเรียนรู้ได้อย่างปกติ เรียนรู้ไว พัฒนาความสามารถในชีวิตประจำวันได้ เป็นการรักษาทางเลือกระยะยาวโดยไม่ใช้ยาและไม่มีผลข้างเคียง

รักษาโรคสมาธิสั้น | ด้วยการฝึกสมอง ไม่ใช้ยา

การรักษาโรคสมาธิสั้น สามารถรักษาได้หลายวิธี รวมถึงการใช้ยา ซึ่งมักเป็นแนวทางการรักษาที่แพทย์เลือกในกรณีที่อาการส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการเรียนรู้หรือการใช้ชีวิตประจำวัน การใช้ยารักษาสมาธิสั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ เพราะการใช้ยา มักใช้ในกรณีที่อาการรุนแรง ยากลุ่มที่ใช้ ได้แก่ ยากลุ่มกระตุ้นประสาท (Stimulants) เช่น Methylphenidate และ Amphetamine อาจมีผลข้างเคียงหากได้รับยาอย่างต่อเนื่องในระยะยาวได้ ข้อดีข้อเสียนี้จะช่วยคุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมสำหรับลูก

  1. ลดอาการสมาธิสั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยากลุ่มกระตุ้นประสาท เช่น Methylphenidate สามารถลดอาการอยู่ไม่นิ่ง ขาดสมาธิ และหุนหันพลันแล่นได้หลังจากทานยาไป เด็กที่ได้รับยาอาจมีสมาธิและสามารถทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความตั้งใจได้ดีขึ้น
  2. เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ เด็กที่ใช้ยามักสามารถจดจ่อกับการเรียนและทำงานได้ดีขึ้น ลดการขาดเรียนหรือพฤติกรรมที่รบกวนในห้องเรียน
  3. ช่วยให้ปรับตัวเข้าสังคมได้ง่ายขึ้น การลดพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นช่วยให้เด็กสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนและครอบครัว
  4. ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว ยากลุ่มกระตุ้นประสาทมักออกฤทธิ์เร็ว เห็นผลในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเริ่มใช้
  1. ผลข้างเคียงของยา เด็กอาจมีอาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ หรือปวดท้อง บางรายอาจมีอารมณ์แปรปรวน หรือวิตกกังวลเพิ่มขึ้น
  2. อาจต้องปรับขนาดยาบ่อย การตอบสนองต่อยาแตกต่างกันในเด็กแต่ละคน แพทย์อาจต้องปรับขนาดยาเพื่อให้เหมาะสม ซึ่งอาจต้องใช้เวลา
  3. ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้ยา ยามีฤทธิ์เพียงชั่วคราว หากยาหมดฤทธิ์ อาการสมาธิสั้นอาจกลับมา ทำให้ต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง
  4. ความเสี่ยงต่อการพึ่งพายา ยากลุ่มกระตุ้นประสาทอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการพึ่งพิงหากใช้อย่างไม่ถูกวิธี
  5. ไม่สามารถแก้ไขต้นเหตุของโรคได้ ยาช่วยลดอาการชั่วคราว แต่ไม่สามารถรักษาสมาธิสั้นให้หายขาดได้ เพราะต้นเหตุอยู่ที่การทำงานของสมองของเด็กผิดปกติ
วิธีรักษาโรคสมาธิสั้น โดยไม่ใช้ยา

เป็นอีกทางเลือกสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากการใช้ยาและต้องการพัฒนาพฤติกรรมของเด็กในระยะยาว วิธีการรักษาแบบนี้เน้นไปที่การบำบัดของสมองต้นเหตุของอาการ สมาธิสั้น และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อช่วยให้เด็กมีสมาธิที่ดีขึ้น ควบคุมพฤติกรรมได้ พัฒนาการของเด็ก เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ลูกได้ใช้ชีวิตและเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ปกติและมีความสุขในการเติบโตเหมือนเด็กคนอื่น ๆ

วิธีรักษาโดยไม่ใช้ยา ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ได้แก่

  1. การบำบัดพฤติกรรม (Behavioral Therapy)
  2. การฝึกสมาธิ
  3. การปรับอาหาร
  4. กิจกรรมฝึกสมอง

Brain and Life สถาบันฝึกพัฒนาสมองและศักยภาพ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการรักษาโดยไม่ใช้ยา เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ คือ “สมอง” ที่มีส่วนช่วยในการใช้ชีวิตประจำวันและประสิทธิภาพในการเรียนรู้ โดยทางสถาบันจะออกแบบคอร์สเรียนเฉพาะบุคคล ให้เหมาะกับทักษะสมองของเด็กที่ได้วัดผลจาก Gibson Test และนำมาปรับการฝึกให้เข้ากับทักษะของบุคคล เพื่อฝึกสมองตั้งแต่รากฐาน อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งสามารถช่วยให้คนที่มีปัญหาเรื่องสมาธิสั้น หรือมีปัญหาเรื่องความจำ ปัญหาทักษะด้านกระบวนความคิดต่าง ๆ พัฒนาให้ดีมากขึ้น

การฝึกสมอง แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เห็นผลลัพธ์ได้จริง มีงานวิจัยพิสูจน์ออกมาแล้วว่าทักษะสมองทั้ง 7 ด้าน มีการพัฒนาที่เพิ่มมากขึ้น แก้และรักษาได้อย่างตรงจุด

บอกลาอาการสมาธิสั้น โดยไม่ต้องพึ่งยา ปลอดภัย ไร้ผลข้างเคียง

ADHD_CTA

สรุปโรคสมาธิสั้นและการรักษาโดยไม่ใช้ยา

โรคสมาธิสั้นไม่ใช่ปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ การมีวิธีดูแลและรักษาที่เหมาะสม เช่น การบำบัดพฤติกรรม การฝึกสมาธิ จะช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาและปรับตัวในชีวิตประจำวันได้ การรักษาโดยไม่ใช้ยาถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับครอบครัวที่ต้องการหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของยา

Brain and Life พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนพัฒนาการของเด็กสมาธิสั้น ด้วยโปรแกรมฝึกสมองที่ออกแบบเฉพาะบุคคล ช่วยเสริมสร้างสมาธิ ความจำ และการควบคุมพฤติกรรม ทีมผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมดูแลเด็ก ๆ ให้เติบโตอย่างมั่นใจและเต็มศักยภาพ

This will close in 0 seconds