ลูกเป็นสมาธิสั้น หรือ พฤติกรรมจากการเลี้ยงดู
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่า ลูกสมาธิสั้น หรือพฤติกรรมที่แสดงออกจากวิธีเลี้ยงลูกที่ไม่เหมาะสม การแยกระหว่างโรคสมาธิสั้น (ADHD) กับพฤติกรรมที่เกิดจากปัจจัยด้านการเลี้ยงดูเป็นสิ่งที่ต้องดูอย่างละเอียด เพราะทั้งสองอย่างมีผลกระทบต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตของลูกได้ในอนาคต
บทความนี้จะช่วยคุณพ่อคุณแม่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พฤติกรรมเด็ก และ อาการโรคสมาธิสั้น พร้อมแนวทางในการดูแลและแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม
สารบัญ
- โรคสมาธิสั้น คือ
- พฤติกรรมและอาการเด็กสมาธิสั้น
- พฤติกรรมที่เกิดจากการเลี้ยงดู
- ความแตกต่างเด็กสมาธิสั้นและพฤติกรรมจากการเลี้ยงดู
- ผลกระทบและปัญหาพฤติกรรมเด็ก
- เลี้ยงลูกอย่างเหมาะสม ปรับพฤติกรรมเด็กให้ดีขึ้น
- สรุปลูกเป็นสมาธิสั้น หรือพฤติกรรมที่เกิดจากการเลี้ยงดู
โรคสมาธิสั้น คือ
โรคสมาธิสั้น (ADHD: Attention Deficit Hyperactivity Disorder) คือภาวะที่เกิดจากสมองส่วนหน้า ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมสมาธิและพฤติกรรมมีการทำงานลดลง ทำให้เด็กควบคุมตัวเองได้ยากและอยู่ไม่นิ่ง อาการเหล่านี้มักจะเริ่มแสดงออกในช่วงวัยเด็ก และอาจส่งผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน และการเข้าสังคม
พฤติกรรมและอาการเด็กสมาธิสั้น
เด็กสมาธิสั้น จะสามารถสังเกตได้ชัดเจนเมื่ออายุ 7 ปีขึ้นไป เพราะเป็นช่วงที่ต้องเข้าโรงเรียนและได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมกับผู้อื่น รวมถึงเป็นช่วงวัยที่มีการพัฒนาในด้านต่างๆ เด็กที่มีโรคสมาธิสั้นมักจะมีอาการดังต่อไปนี้
- ขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน วอกแวกง่าย ลืมสิ่งต่างๆ บ่อยครั้ง
- ซน อยู่ไม่นิ่ง กระสับกระส่าย เคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา
- ขาดความยับยั้งชั่งใจ หุนหันพลันแล่น ทำอะไรโดยไม่คิดก่อน พูดแทรก พูดวกไปวนมา
ดังนั้นในการวินิจฉัยว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่ จำเป็นต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรมของเด็กทั้งที่บ้านและปรึกษากับคุณครูที่โรงเรียนอย่างละเอียด และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจวินิจฉัย หาสาเหตุ และวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม
สาเหตุโรคสมาธิสั้น
โรคสมาธิสั้น (ADHD) เป็นภาวะที่เด็กมีปัญหาเรื่องสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ วอกแวกง่าย ซน และควบคุมตัวเองได้ยาก สำหรับสาเหตุของโรคสมาธิสั้นนั้น เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เช่น
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคสมาธิสั้นมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม หากพ่อแม่หรือญาติพี่น้องเป็นโรคสมาธิสั้น ลูกก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้สูงขึ้น
- การทำงานของสมอง การทำงานของสารเคมีในสมองเช่น โดปามีน และนอร์เอพิเนฟริน อาจผิดปกติหรือทำงานลดลง
- ปัจจัยทางด้านการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูที่ขาดระเบียบวินัย ตามใจ ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเวลานานๆ
สาเหตุของโรคสมาธิสั้นในแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกันไป และมักเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ไม่ใช่เกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเพียงอย่างเดียว หากคุณสงสัยว่าลูกมีอาการ “โรคสมาธิสั้น” ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม
Brain and Life สถาบันฝึกพัฒนาทักษะสมอง ให้บริการทดสอบทักษะทางสมองและพัฒนาการเด็ก ตรวจทักษะที่ขาดไป โดยใช้การทดสอบ Gibson Test เพื่อตรวจหาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ ทักษะที่ต้องพัฒนา แต่ไม่ได้วินิจฉัย “โรคสมาธิสั้น” ได้โดยตรง ลูกอาจจะขาดทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิต พร้อมโปรแกรมพัฒนาทักษะออกแบบเฉพาะบุคคล เพื่อปรับพฤติกรรม แก้ปัญหาลูกอยู่ไม่นิ่ง เรียนรู้ช้า
พฤติกรรมที่เกิดจากการเลี้ยงดู
การเลี้ยงดูมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทั้งพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก หากวิธีการเลี้ยงดูไม่เหมาะสม อาจทำให้เด็กแสดง พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ การเข้าสังคม และความมั่นใจในตนเองในระยะยาว
พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้มาจากความผิดปกติทางสมองหรือโรค เช่น สมาธิสั้น (ADHD) แต่เป็นผลจากปัจจัยด้านการเลี้ยงดู เช่น การขาดกฎระเบียบ การให้ความรักที่ไม่สมดุล หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิต ยกตัวอย่างเช่น
- พฤติกรรมดื้อรั้นและเอาแต่ใจ อาจเกิดจากการเลี้ยงดูที่ตามใจมากเกินไป หรือการขาดกฎระเบียบในบ้าน เพราะการที่พ่อแม่ยอมตามคำขอของลูกทุกครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการปัญหา
- การแสดงอารมณ์ที่รุนแรง เด็กบางคนอาจแสดงอารมณ์เชิงลบ เช่น ความโกรธหรือความหงุดหงิด สาเหตุอาจะเป็นเพราะ ขาดการสอนให้เด็กเข้าใจและจัดการอารมณ์ของตนเอง หรือจากการเรียนรู้และเลียนแบบจากสิ่งรอบตัว
- พฤติกรรมไม่เคารพผู้อื่น เช่น การพูดจาหยาบคาย หรือการไม่ฟังคำสั่ง อาจได้รับอิทธิพลจากวิธีการเลี้ยงดูที่ขาดการปลูกฝังเรื่องมารยาทและการเคารพผู้อื่น
- พฤติกรรมเก็บตัวและไม่เข้าสังคม อาจเกิดจากการเลี้ยงดูที่ขาดการสนับสนุนเรื่องการเข้าสังคม ไม่กล้าพูดคุย อาจเกิดจากที่ครอบครัวปกป้องลูกมากเกินไปจนลูกขาดโอกาสเรียนรู้การแก้ปัญหาในสังคม ทำให้ลูกไม่กล้าเข้าสังคมด้วยตัวเอง
- การไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ ต้องให้เตือนหรือบอกเรื่องต่าง ๆ อยู่ทุกครั้ง อาจเกิดจากลูกถูกช่วยเหลือหรือทำหน้าที่แทนในทุกเรื่อง และการขาดการสอนเรื่องความรับผิดชอบและการฝึกวินัย
ความแตกต่างเด็กสมาธิสั้นและพฤติกรรมจากการเลี้ยงดู
พฤติกรรมของเด็กที่ดูเหมือน “สมาธิสั้น” เช่น อยู่ไม่นิ่ง ขาดสมาธิ หรือแสดงพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น อาจเกิดได้จากสองสาเหตุหลัก คือ โรคสมาธิสั้น (ADHD) และ พฤติกรรมที่เกิดจากการเลี้ยงดู การแยกแยะระหว่างสองสิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะส่งผลต่อวิธีการดูแลและแก้ไขที่เหมาะสม
- เด็กสมาธิสั้น เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง และมักแสดงอาการในทุกสถานการณ์ อาการต้องได้รับการดูแลและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น การบำบัดหรือการใช้ยาในบางกรณี
- พฤติกรรมที่เกิดจากการเลี้ยงดู เป็นผลจากสิ่งแวดล้อมและวิธีการเลี้ยงดู พฤติกรรมสามารถปรับเปลี่ยนได้ง่ายขึ้นเมื่อพ่อแม่เปลี่ยนแปลงวิธีการดูแลและคอยแนะนำลูกไปในทางที่ดี
หากพ่อแม่ยังไม่แน่ใจว่าอาการของลูกมเป็นสมาธิสั้นหรือพฤติกรรมที่เกิดจากการเลี้ยงดู ควรเริ่มต้นจากการสังเกตพฤติกรรมในหลายสถานการณ์ และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม
ผลกระทบและปัญหาพฤติกรรมเด็ก
การเลี้ยงดูมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจของเด็ก หากการเลี้ยงดูเด็ก ไม่เหมาะสมกับวัย อาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม ความคิด และความสัมพันธ์ของเด็กในระยะยาว ปัญหาพฤติกรรมเด็ก อาจทำให้เด็กมีนิสัยที่ไม่เหมาะสมและติดตัวไปจนเป็นผู้ใหญ่ และต้องเจอกับความยากในการปรับตัว การเรียนรู้ และการใช้ชีวิตในสังคม
การเลี้ยงดูที่ไม่ให้ความสำคัญของการเรียนรู้ และการขาดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ส่งผลให้เด็กไม่สามารถพัฒนาศักยภาพทางการเรียนได้เต็มที่ กระทบต่อการเรียนรู้และการพัฒนาซึ่งอาจทำให้เด็กมีภาวะ การเรียนรู้บกพร่อง หรือ LD ได้อีกด้วย
เลี้ยงลูกอย่างเหมาะสม ปรับพฤติกรรมเด็กให้ดีขึ้น
การเลี้ยงลูกไม่ใช่เพียงแค่การดูแลในเรื่องพื้นฐาน เช่น อาหารหรือที่อยู่อาศัย แต่ยังรวมถึงการสร้างทักษะพื้นฐานในการใช้ชีวิต ทักษะการเรียนรู้ และพฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต ซึ่งพฤติกรรมของเด็กเปรียบเสมือนกระจกสะท้อนการเลี้ยงดูจากครอบครัว หากวิธีการเลี้ยงดูเหมาะสม พฤติกรรมของเด็กก็จะพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น เช่น
1. การเป็นแบบอย่างที่ดี พ่อแม่คือคนที่ลูกเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมมากที่สุด การแสดงออกของพ่อแม่ในชีวิตประจำวันจึงส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมของลูก
2. การสอนให้รู้จักกฎและระเบียบ เด็กที่เติบโตในสภาพแวดล้อมที่มีกฎระเบียบชัดเจนจะเรียนรู้การเคารพผู้อื่นและมีวินัยในตนเอง จะช่วยให้ลูกเข้าใจขอบเขตของพฤติกรรมที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม
3. การแสดงความรักในครอบครัว ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่และลูกเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาพฤติกรรมเด็ก และให้คำชมเมื่อลูกทำสิ่งที่เหมาะสม ช่วยสร้างความมั่นใจและกระตุ้นให้พวกเขาแสดงพฤติกรรมที่ดี ซึ่งเด็กจะเรียนรู้ว่าพฤติกรรมแบบใดจะได้รับคำชม
4. การจัดการอารมณ์ในครอบครัว เด็กยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีเท่าผู้ใหญ่ การเลี้ยงดูที่เหมาะสมจะช่วยสอนให้ลูกเข้าใจและจัดการกับอารมณ์ของตนเอง ยกตัวอย่างการสอนให้ลูกระบุอารมณ์ให้้ เช่น “ลูกโกรธเพราะอะไร?”หรือ ใช้เทคนิคการหายใจลึก ๆ หรือการนับเลข 1-10 เพื่อช่วยสงบสติอารมณ์
5. การสอนความรับผิดชอบ การให้เด็กมีหน้าที่ที่เหมาะสมกับวัยช่วยปลูกฝังความรับผิดชอบและทักษะการจัดการเวลา อย่าทำหน้าที่แทนลูก แต่ควรปล่อยให้เขาเรียนรู้ผ่านการลองผิดลองถูก
การเลี้ยงลูกอย่างเหมาะสมไม่ใช่เพียงการสร้างระเบียบวินัยหรือให้คำแนะนำ แต่เป็นการสร้างทักษะพื้นฐานในการใช้ชีวิตในสังคมและเป็นการสนับสนุนลูกในทางที่ถูก เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้าใจและเหมาะสม จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต
สรุปพัฒนาสมองลูก ในแต่ละช่วงวัย อย่างไรให้ฉลาด
พฤติกรรมของลูกที่ดูคล้าย “โรคสมาธิสั้น” อาจไม่ได้มาจากปัญหาทางสมองเสมอไป แต่อาจเป็นผลจากปัจจัยด้านการเลี้ยงดูหรือสิ่งแวดล้อม แต่ถ้าหากพฤติกรรมของลูกส่งผลกระทบต่อการเรียนหรือชีวิตประจำวัน ในหลายสถานการณ์ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและแนวทางการดูแลที่เหมาะสม
Brain and Life Center พร้อมช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ในการวิเคราะห์ปัญหาพฤติกรรมเด็ก และพัฒนาสมองของลูกด้วยโปรแกรมที่ออกแบบเฉพาะบุคคล เพื่อช่วยให้ลูกพัฒนาสมาธิและพฤติกรรม พร้อมใช้ชีวิตอย่างมั่นใจและมีความสุขในอนาคต