ทักษะทางการได้ยิน
Auditory Processing
ทักษะทางการได้ยิน (Auditory Processing)
ทักษะทางการได้ยิน (Auditory Processing) เป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการรับรู้ (Perception), การจัดการ (Management) และทำความเข้าใจข้อมูลเสียง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ ประกอบด้วยการแยกเสียง การตัดเสียง และการผสมเสียง
ปัจจุบันทักษะทางการได้ยินมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นทักษะพื้นฐานที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านการเรียน การทำงาน และด้านการใช้ชีวิต บุคคลที่มีทักษะทางการได้ยินที่ดีมักจะมีความสามารถในการสื่อที่ดีนำมาซึ่งความสำเร็จในชีวิต
เพราะทักษะดังกล่าวเป็นพื้นฐานสำคัญของทักษะการเข้าสังคม ป้องกันการเข้าใจผิด ลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น พัฒนาทักษะทางด้านสติปัญญาและทำให้บุคคลเกิดการพัฒนาตนเองอีกด้วย เพราะทักษะทางการได้ยินที่ดีจะช่วยให้บุคคลได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นเกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์
การจับประเด็น การฝึกด้านความจำ การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ในบางครั้งทักษะทางการได้ยินที่ดียังช่วยให้บุคคลเกิดความจรรโลงใจ และช่วยให้บุคคลมีสมาธิ จดจ่อกับสิ่งที่ได้ยินอีกด้วย
โรคที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของทักษะทางการได้ยิน ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาการประมวลเสียงจากระบบประสาทส่วนกลาง (Central Auditory Processing Disorder : CAPD) หมายถึง ผู้ที่มีความยากลำบากในการใช้ข้อมูลจากการฟังเพื่อนำมาสื่อสารและการเรียนรู้ CAPD ไม่ได้เป็นปัญหาหรือโรคชนิดเดียว แต่เป็นกลุ่มของปัญหาที่เกิดกับทักษะในการฟัง โดยส่วนใหญ่เด็กที่เป็น CAPD จะถูกวินิจฉัยพร้อมกับอาการสมาธิสั้นหรือมีปัญหาในการเรียนรู้
Chermak และ Musiek (1998) ได้คาดคะเนว่า อุบัติการณ์ของ CAPD สูงถึง 3 ถึง 5 เปอร์เซนต์ และมีอุบัติการณ์สูงกว่าการสูญเสียการได้ยิน มีการติดตามศึกษาเด็กที่มีปัญหาในการได้ยินที่เกิดจากหูชั้นกลางอักเสบตั้งแต่อายุ 1 ขวบ ถึง อายุ 9 ขวบ พบว่า เด็กพวกนี้มีปัญหาในการประมวลเสียงและการเรียนรู้ ดังนั้น ไม่เพียงแต่มีเด็กจำนวนมากที่มีปัญหาในการเรียนรู้ที่มาจาก CAPD มากกว่ามีปัญหาการสูญเสียการได้ยิน แต่ปัญหา CAPD ยังเป็นปัญหาที่มองไม่เห็นในขณะที่ปัญหาในการได้ยินยังเห็นได้ง่ายและมักจะสัมพันธ์กับปัญหาทางภาษาและการพูด (ศิริพันธ์ ศรีวันยงค์, 2557: ออนไลน์) สมาคม ASHA ได้ระบุปัญหาของเด็ก CAPD ดังนี้
1. ปัญหาในการบอกแหล่งกำเนิดเสียงและทิศทางของเสียง คือ ความสามารถที่จะบอกว่าเสียงเกิดขึ้นในที่ใด ทักษะนี้เป็นทักษะสำคัญในการอยู่รอด ส่วนการบอกทิศทางของเสียง คือ ความสามารถในการบ่งบอกทิศทางที่มาของเสียง
2. ปัญหาในการจำแนกแยกแยะเสียง คือ ความสามารถในการแยกเสียงใดเสียงหนึ่งออกจากเสียงอื่น ๆ จะใช้กับความสามารถในการแยกเสียงพูด เช่น แยกเสียง /P/ ออกเสียง /b/
3. ปัญหาในการแยกความเหมือน และความแตกต่างของเสียง
4. ปัญหาในการลำดับเสียง การนำเสียงมาประกอบเป็นคำ และการรับรู้เสียงที่แยกออกจากกัน
5. ปัญหาในการเข้าใจเสียงที่รบกวน ซึ่งเสียงรบกวนเหล่านี้อาจเป็นเสียงพูด หรือสัญญาเสียงอื่น ๆ ที่อาจจะดังหรือเบา
6. ปัญหาในการเข้าใจเสียงเมื่อคุณภาพของเสียงด้อยลง เช่น ข้อมูลบางอย่างของเสียงสูญหายไป อาจจะเกิดจากสเป็กตรัมบางส่วนของเสียงถูกลบออกไป ความถี่ของบางความถี่หายไป หรือเวลาของเสียงถูกกดบีบ
จะเห็นได้ว่าหากทักษะทางการได้ยิน (Auditory Processing) อ่อนหรือบกพร่อง จะทำให้มีปัญหาในการอ่านออกเสียงและการสะกดคำ ส่งผลต่อการฟัง (Listening) และการอ่าน (Reading) ทำให้ไม่ค่อยเข้าใจทั้งในเรื่องของภาษาและคำศัพท์ และส่งผลต่อการใช้ชีวิตอย่างมาก ดังนั้นการมีทักษะทางการได้ยินที่ดีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
พฤติกรรมของเด็กที่เป็นสมาธิสั้น | พฤติกรรมของ CAPD |
---|---|
– ไม่มีสมาธิ | – มีปัญหาในการฟังในที่ที่มีเสียงรบกวน |
– วอกแวกง่าย | – ทำตามคำสั่งไม่ได้ |
– มีความตื่นตัวสูงผิดปกติ | – ทักษะการฟังไม่ดี |
– ไม่อยู่นิ่ง | – ปัญหาในการเรียน |
– ชอบก่อกวน | – วอกแวกง่าย |
– หุนหันพลันแล่น | – ไม่มีสมาธิ |
CAPD อาจเกิดมีปัญหาอื่นร่วมด้วยรวมถึงสมาธิสั้นปัญหาความบกพร่องในการอ่าน ความผิดปกติของภาษาและออทิสติก Gail Chermak และคณะได้ทำการสำรวจ เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมของ CAPD และสมาธิสั้น โดยสามารถสรุปเป็นประเภทของอาการได้ดังต่อไปนี้ (ศิริพันธ์ ศรีวันยงค์, 2557: ออนไลน์)
การประมวลผลการได้ยิน
การประมวลผลการได้ยินคือการที่สมองรับรู้ และตีความข้อมูลของเสียง ใช้ทักษะหลายๆ ด้านเป็นตัวกำหนดความสามารถในการประมวลผล หรือความสำเร็จในด้านการฟัง โดยมีการแบ่งทักษะเป็น 4 ลำดับขั้น แต่ทุกกระบวนการมีการทำงานประสานกันและมีความจำเป็นต่อการฟังในชีวิตประจำวัน แม้นักวิจัยจะยังไม่เห็นด้วยกับลำดับขั้นดังกล่าวแต่ก็เห็นด้วยกับว่าทักษะทั้ง 4 ด้าน เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการประมวลผล
(S. Loraine Susie, 2010: ออนไลน์)
ขั้นที่ 1 : การรับรู้การได้ยิน
- การรับรู้การได้ยิน – ความสามารถในการตรวจจับเสียง
- แหล่งกำเนิดเสียง – ความสามารถในการค้นหาแหล่งกำเนิดเสียง
- ความมีสมาธิในการฟัง / ความสามารถในการแยกเสียง
ขั้นที่ 2 : การแยกเสียง
- การแยกเสียงจากสิ่งแวดล้อม – ความสามารถในการแบ่งแยกความแตกต่างของเสียงในสภาพแวดล้อม
- ความแตกต่างระหว่างการออกเสียงพยางค์ ความเข้ม วรรคตอน จังหวะ และความคล้องจอง
- การแบ่งแยกการได้ยินของเสียง ความสามารถในการแบ่งแยกเสียงที่มีความเฉพาะ
ขั้นที่ 3 : เอกลักษณ์ของเสียง
- ความเฉพาะของเสียง – ความสามารถในการเชื่อมโยงความหมายของเสียง และคำ
- ความสามารถในการประมวลผลสิ่งที่ได้ยิน
- การวิเคราะห์เสียงที่ได้ยิน – ความสามารถในการระบุเสียง ผสมเสียง แยกเสียง และการจัดการเสียงที่ได้ยิน
ขั้นที่ 4 : ความเข้าใจในการได้ยิน
- ความเข้าใจในการได้ยิน – ความเข้าใจข้อความยาวๆ ที่ได้ยิน รวมถึงการเข้าใจประโยคสนทนา ทิศทางของบทสนทนาและเข้าใจเรื่องราว
- ความสามารถในการเติมส่วนที่หายไปของเสียง
- ความสามารถในการจดจำข้อมูลในขณะนั้นและหลังจากนั้น
- การประมวลผลการได้ยินทางภาษา การตีความ การเก็บรักษา จัดระเบียบ ใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้และการลื่อสารในระดับสูง
กระบวนการได้ยินมี 3 ระดับ คือ
1. การฟังคำศัพท์ (Words) ใช้คำคล้องจอง และฝึกการฟังอื่นๆ เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง เสียง จังหวะการพูด เพื่อให้สามารถประมวลผลการได้ยินได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ
2. การฟังความหมาย (Meaning) ทำให้ทราบถึงสิ่งที่ต้องทำ
3. การได้ยินความหมาย (implication) เพื่อให้สามารถประมวลผลสิ่งที่ต้องลงมือทำต่อไป (neuronetlearning: ออนไลน์)
การฟังสำคัญอย่างไร
- เด็กจะต้องสามารถตีความและเชื่อมโยงความหมายกับข้อมูลที่พวกเขาได้รับจากสิ่งที่พวกเขาได้ยินและวางแผนที่จะตอบสนอง
- ความสามารถในการเชื่อมโยงขึ้นอยู่กับความรู้ การได้รับความช่วยเหลือจากสิ่งที่เห็น
- การเข้าใจในสิ่งที่ได้ยินเป็นกุญแจสำคัญในการเขียน
- ความเข้าใจในสิ่งที่ฟัง = ความสามารถทางภาษา + ความรู้พื้นฐาน
- ความเข้าใจในสิ่งที่ฟัง x การแปลความหมาย = ความเข้าใจในการอ่าน
สิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดจากความสามารถในการฟังที่แม่นยำ (success for kids, 2019: ออนไลน์) เราสามารถพัฒนาทักษะ ทักษะทางการได้ยิน (Auditory Processing) ได้อย่างไร?
Brain and Life Center เป็นศูนย์พัฒนาสมองและศักยภาพ ที่ช่วยปรับปรุงและพัฒนาทักษะทางกระบวนการความคิดของสมอง เราสามารถพัฒนาทักษะทางการได้ยิน (Auditory Processing) ให้ดีขึ้นได้ ด้วย Brain training Program เป็นโปรแกรมฝึกสมองที่จะทำให้สมองของคุณมีศักยภาพสูงสุดในการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิง: https://www.neuronetlearning.com/ebook/812497652.pdf
อ้างอิง: https://www.superduperinc.com/handouts/pdf/243_AuditoryProcessing.pdf
อ้างอิง: https://successforkidswithhearingloss.com/for-professionals/listening-auditory-skills-development/