ผู้ที่ต้องการพัฒนาด้านการเรียน
Education Booster
ผู้ที่ต้องการพัฒนาด้านการเรียน
นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่ง เสนอความเห็นลงในวารสารการแพทย์ Lancet Child & Adolescent Health ให้มีการนิยามช่วงอายุของ “วัยรุ่น” เสียใหม่ โดยขยายช่วงเวลาที่มนุษย์พ้นจากวัยเด็กแต่ยังไม่เข้าสู้วัยผู้ใหญ่ให้ยาวนานขึ้น จากราว 11-19 ปี มาเป็น 10-24 ปี และนักวิจัยพบว่า สมองของคนรุ่นใหม่จำนวนมากยังคงมีพัฒนาการต่อไปหลังอายุ 20 ปี โดยทำงานได้ไวและมีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม ส่วนฟันกรามชุดสุดท้าย (Wisdom teeth) ก็งอกโผล่ขึ้นช้าลง โดยบางคนมีฟันชุดนี้งอกมาเมื่อมีอายุถึง 25 ปีแล้ว (ฺBBC, 2018: ออนไลน์)
Frances Jensen นักประสาทวิทยา กล่าวว่า สมองของคนเราเป็นอวัยวะที่เติบโตช้าที่สุดในบรรดาอวัยวะต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ สมองคนเราเติบโตเต็มที่เมื่อคนเราเข้าสู่วัยยี่สิบต้นๆ และยังกล่าวอีกว่า หากสมองเป็นภาพจิกซอว์ สมองของเด็กวัยรุ่นจะเทียบได้กับจิกซอว์ที่ยังต่อไม่เสร็จ สมองของเด็กวัยรุ่นมีความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นทางเคมีและทางโครงสร้าง มีลักษณะเหมือนกับสมองผู้ใหญ่ราว 80 เปอร์เซ็นต์ทางด้านโครงสร้างและการทำงาน เด็กวัยรุ่นมีสมองที่มีประสิทธิภาพสูงในการเรียนรู้แต่ยังไม่สามารถควบคุมตนเองได้เต็ม นอกจากนี้การนอนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้และความจำ เด็กวัยรุ่นทั้งชายและหญิงมักจะนอนไม่เพียงพอ เมื่อเด็กวัยรุ่นเข้านอนดึกและตื่นสายในวันต่อมา พ่อแม่มักคิดว่านั่นเป็นเพราะเด็กวัยรุ่นขี้เกียจ Frances Jensen กล่าวว่า “นี่เป็นความเชื่อที่ผิดอย่างหนึ่ง นาฬิกาชีวิตของเด็กวัยรุ่นถูกกำหนดให้นอนดึกและตื่นสายกว่าผู้ใหญ่อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง”
ในหนังสือ “The Teenage Brain: A Neuroscientist’s Survival Guide to
Raising Adolescents and Young Adults” ของ Frances Jensen อธิบายถึงจุดแข็งและจุดด้อยของสมองในระยะของการพัฒนาในช่วงวัยรุ่นนี้ เธอกล่าวว่า เด็กวัยรุ่นเรียนรู้ได้ดีกว่าผู้ใหญ่เพราะความแตกต่างของลักษณะการเชื่อมโยงในสมอง แต่ในขณะที่เด็กวัยรุ่นมีความสามารถสูงในการเรียนรู้ การเชื่อมโยงระหว่างสมองหลาย ๆ ส่วนของเด็กวัยรุ่นก็ยังคงอยู่ระหว่างการพัฒนา (Elmasry Faiza, 2015: ออนไลน์)
หน้าที่บริหารจัดการของสมอง
หน้าที่บริหารจัดการของสมอง ประกอบด้วยทักษะ 8 ด้าน (Guy, Isquith, & Gioia, 2004) ได้แก่
- การยั้งคิด (Inhibition)
- การยืดหยุ่น (Shifting)
- การควบคุมอารมณ์ (Emotional control)
- การสังเกต (Monitor) ความจำใช้งาน (Working memory)
- การวางแผนจัดระบบ (Planning/ Organizing)
- การจัดการอุปกรณ์ (Organization of materials)
- การทำงานสำเร็จ (Task complete)
ดังนั้นหน้าที่บริหารจัดการของสมองจึงเป็นทักษะที่มนุษย์ทุกคนต้องใช้ และมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการเรียน การทำงาน และการมีชีวิตครอบครัวที่ดี งานวิจัยด้านสมองและประสาท วิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน (Blair, 2002, 2003; Blair & Razza, 2007; Normandeau & Guay, 1998) ต่างบ่งชี้ว่า หน้าที่บริหารจัดการของสมองมีความสำคัญต่อ ความพร้อมในการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งด้าน การอ่านและคณิตศาสตร์ เช่น ความจำ ความสามารถในการยับยั้ง ควบคุม ฯลฯ และการประสบความสำเร็จในการทำงาน (จุฑามาศ แหนจอน, 2560: ออนไลน์)
วัยรุ่นใช้สมองส่วนไหนมากที่สุด?
“วัยรุ่นคิดโดยใช้ความรู้สึก”
การสแกนสมองแสดงให้เห็นการทำงานของสมองแต่ละส่วนขณะกำลังทำหน้าที่ในสภาวะที่แตกต่างกัน มีการทดลองครั้งหนึ่งกำหนดให้วัยรุ่นและผู้ใหญ่ดูภาพคนที่กำลังแสดงอารมณ์ทางสีหน้าแตกต่างกัน การทดลองดังกล่าวต้องการวัด ‘อารมณ์’ ของผู้มองหลังจากเห็นภาพ
ผลการทดลองพบว่า ผู้ใหญ่ใช้สมองส่วน prefrontal cortex ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้เหตุผลประกอบการคิด ส่วนวัยรุ่นใช้สมองส่วน amygdala สมองส่วนควบคุมอารมณ์มากกว่า (วิภาวี เธียรลีลา, 2018: ออนไลน์)
7 สิ่งเกี่ยวกับสมองวัยรุ่นที่ต้องรู้
- สมองมีขนาดใหญ่ที่สุดในช่วงวัยรุ่นตอนต้น สำหรับเด็กผู้หญิงสมองมีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อประมาณ 11 ปี สำหรับเด็กผู้ชายสมองมีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่ออายุประมาณ 14 ปี แต่ความแตกต่างนี้ไม่ได้หมายความว่าชายหรือหญิงฉลาดกว่าอีกฝ่าย
- สมองยังคงเติบโตแม้ว่าจะโตแล้ว แม้ว่าสมองอาจมีขนาดโตขึ้น แต่ก็ยังไม่พัฒนาและเติบโตเต็มที่จนกระทั่งช่วงอายุ 20 กลางๆ ส่วนหน้าของสมองที่เรียกว่าเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้าเป็นสมองส่วนสุดท้ายที่จะเจริญเติบโต พื้นที่นี้รับผิดชอบทักษะ เช่น การวางแผน การจัดลำดับความสำคัญ และการควบคุมแรงกระตุ้น
- สมองของวัยรุ่นพร้อมที่จะเรียนรู้และปรับตัว สมองของวัยรุ่นนั้นมีความยืดหยุ่นซึ่งหมายความว่าสามารถเปลี่ยนแปลงปรับตัว และตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม การออกกำลังกายและกิจกรรมสร้างสรรค์เช่นศิลปะสามารถช่วยให้สมองเติบโตและเรียนรู้
- ความผิดปกติทางจิตจะเริ่มปรากฏขึ้นในช่วงวัยรุ่น การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในสมองพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ และสังคมสามารถทำให้วัยรุ่นมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สมองกำลังประสบอยู่อาจอธิบายได้ว่าทำไมวัยรุ่นถึงเป็นช่วงเวลาที่มีความผิดปกติทางจิตหลายอย่าง เช่น โรคจิตเภท ความวิตกกังวล ซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว และความผิดปกติของการกิน
- สมองวัยรุ่นอาจเสี่ยงต่อความเครียดมากกว่า เนื่องจากสมองของวัยรุ่นยังคงพัฒนา วัยรุ่นอาจตอบสนองต่อความเครียดแตกต่างจากผู้ใหญ่ซึ่งอาจนำไปสู่ความผิดปกติทางจิตที่เกี่ยวข้องกับความเครียด เช่น ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า การมีสติซึ่งเป็นกระบวนการทางจิตวิทยาที่ให้ความสนใจกับช่วงเวลาปัจจุบันอาจช่วยให้วัยรุ่นรับมือกับและลดความเครียดได้
- วัยรุ่นต้องการการนอนหลับมากกว่าเด็กและผู้ใหญ่ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าระดับเมลาโทนิน(ฮอร์โมนหลับ) ในเลือดของวัยรุ่นสูงขึ้นตามธรรมชาติในเวลากลางคืนและลดลงในตอนเช้า ความแตกต่างนี้อาจอธิบายได้ว่าทำไมวัยรุ่นจำนวนมากนอนดึกและต่อสู้กับการตื่นขึ้นในตอนเช้า
- สมองของวัยรุ่นนั้นมีความยืดหยุ่น การเปลี่ยนแปลงบางอย่างของสมองในช่วงการพัฒนาที่สำคัญนี้อาจช่วยป้องกันความผิดปกติทางจิตในระยะยาว (National Institute of Mental Health, 2020: ออนไลน์)
สมองวัยรุ่นสร้างให้ดีได้
“สมองวัยรุ่นสร้างให้ดีได้” เพราะสมองมีความสามารถในการเรียนรู้และการปรับตัวตามแต่ละช่วงวัย ด้วยเหตุนี้ ความเข้าใจกลไกการทำงานของสมอง โดยเฉพาะพัฒนาการทางสมองของเด็กตั้งแต่วัยแรกเกิดไปจนกระทั่งวัยรุ่น จะช่วยให้ผู้ใหญ่วางแผนการเลี้ยงดูบุตรหลานได้อย่างเหมาะสม สมองที่เติบโตตามธรรมชาติในสภาพแวดล้อมที่ดีจะสื่อสารวิธีคิด พฤติกรรมและการแสดงความรู้สึกในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ ซึ่งจะช่วยลดการกระทบกระทั่งและทลายกำแพงความไม่ไว้วางใจระหว่างผู้ใหญ่กับวัยรุ่นได้ ้การเปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความสามารถและศักยภาพของตนเองได้อย่างอิสระจะช่วยกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการทางสมองอย่างเต็มประสิทธิภาพ (วิภาวี เธียรลีลา, 2018: ออนไลน์)
ปัจจัยการพัฒนาของสมอง
ปัจจัยที่จะช่วยให้สมองพัฒนาได้ดีนั้นอาจแบ่งได้เป็น 3 อย่าง ดังนี้
1. พันธุกรรม คือการถ่ายทอดความฉลาดมาจากพ่อแม่ สมองของลูกจะมาจากการกำหนดของลักษณะทางพันธุกรรมในเซลล์ของพ่อแม่ พ่อหรือแม่ที่มีความสามารถโดดเด่นในเรื่องใด ลูกก็จะมีความสามารถอันนั้นด้วย อาจเรียกได้ว่าเป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวมา
2. อาหาร เป็นปัจจัยสำคัญของการเจริญเติบโต ทั้งทางร่างกายและสมอง การกินอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมกับวัยจะช่วยพัฒนาสมองให้ฉลาดขึ้นได้ การกินอาหารไม่ถูกต้อง การปล่อยปละละเลยไม่สนใจเรื่องกิน การกินอาหารไม่ได้เนื่องจากเจ็บป่วย การกินขนมมากเกินไปเลือกกินอาหารตามใจปาก หรือการกินอาหารที่ไม่มีคุณค่าเหล่านี้จะทำให้เด็กขาดสารอาหาร และสมองเติบโตได้ช้า ทำให้เด็กกลายเป็นเด็กไม่ฉลาด
3. สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลอย่างมากสำหรับการพัฒนาของสมอง การที่เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้เด็กได้รับการเรียนรู้เพิ่มขึ้นนั่นคือ มีสิ่งเร้ากระตุ้นสมองให้ทำงานอยู่มากเพียงพอ สมองที่ถูกกระตุ้นให้ทำงานมาก ย่อมได้รับความรู้และประสบการณ์มากทำให้เป็นคนฉลาดได้
ปัจจัย 3 ประการที่กล่าวมานี้ เราจะเห็นได้ว่ามีอยู่ถึง 2 ปัจจัยที่เราสามารถสร้างเสริมให้เกิดขึ้นได้ คือ ปัจจัยเรื่องอาหาร และสิ่งแวดล้อม เราสามารถจัดเตรียมให้พร้อมได้แต่ปัจจัยเรื่องพันธุกรรมนั้นค่อนข้างยากที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ให้เป็นอย่างที่เราต้องการ ดังนั้นการเลี้ยงลูกให้ฉลาดจึงควรทำในสิ่งที่สามารถทำได้ ควรศึกษาวิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยลูกให้ฉลาด หาทางสนับสนุนให้ลูกได้ใช้ความสามารถของตัวเขาเองในการพัฒนาสมอง (christmasmaily, มปป.: ออนไลน์)
โปรแกรมฝึกสมองสำหรับวัยรุ่นและวัยเรียน
- การฝึกสมองกับศูนย์พัฒนาสมองและศักยภาพ Brain and Life Center จะช่วยให้การเรียนเป็นเรื่องง่ายขึ้น เพราะเราสามารถวางแผนและจัดการวางโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยเรียนด้วยโปรแกรม Brain and Life Center โดยจะประเมินหาทักษะที่อ่อนที่ส่งผลต่อปัญหาการเรียนรู้ในโรงเรียน การฝึกสมองจะช่วยปรับปรุงและพัฒนาทักษะกระบวนการทำงานของสมองให้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียน ทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจมากขึ้นและยังช่วยให้ได้รับโอกาสทางการศึกษามากขึ้นอีกด้วย
- ทักษะการเรียนรู้ที่แข็งแรงจะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เข้าใจถึงกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งโปรแกรมฝึกสมองของ Brain and Life Center สามารถช่วยพัฒนาทักษะที่กล่าวไปในข้างต้น รวมถึงทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นอีกด้วย เช่น ด้านความจำระยะยาว ความจำในการทำงาน ด้านตรรกะและเหตุผล เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลดีดังนี้
- นักเรียนจะมีความจำและสมาธิที่ดีขึ้น
- นักเรียนจะมีประสิทธิภาพทางความคิดที่ดีขึ้น ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งในโรงเรียน, การเล่นกีฬา และการใช้ชีวิตประจำวัน
- นักเรียนจะมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น
- ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย