โรคสมองเมาแผ่นดินไหว

โรคสมองเมาแผ่นดินไหว อาการเวียนหัวที่เกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหว

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เวลา 13.20 น. เกิดเหตุ แผ่นดินไหว ขนาด 8.2 ที่ความลึก 10 กิโลเมตร ในประเทศเมียนมา ส่งผลให้ประชาชนในภาคเหนือของประเทศไทย รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือน นอกจากนี้ ยังมีอาฟเตอร์ช็อกขนาด 7.1 และตามมาด้วยแรงสั่นสะเทือนอีกหลายครั้ง แม้อาฟเตอร์ช็อกเหล่านี้อาจไม่ส่งผลกระทบชัดเจน แต่หลายคนยังคงรู้สึกเวียนหัว นั่นอาจเป็นเพราะกำลังเผชิญกับ โรคสมองเมาแผ่นดินไหว

“โรคสมองเมาแผ่นดินไหว” หรือ “Earthquake Sickness” เป็นภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากเผชิญกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว ผู้ที่มีอาการนี้จะรู้สึกเวียนศีรษะ โคลงเคลง คลื่นไส้ หรือรู้สึกเหมือนพื้นยังคงสั่นอยู่ แม้ว่าเหตุการณ์จะสงบลงแล้วก็ตาม อาการเหล่านี้คล้ายกับอาการเมารถหรือเมาเรือและอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

ระบบประสาทการทรงตัวในหูชั้นในมีหน้าที่ควบคุมสมดุลของร่างกาย เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ระบบนี้จะทำงานหนักเพื่อปรับสมดุล ทำให้หลังจากเหตุการณ์สงบลง อาจเกิดความผิดปกติและทำให้รู้สึกเวียนศีรษะ หรือโคลงเคลง

ความเครียดและความวิตกกังวลหลังเกิดแผ่นดินไหว อาจทำให้สมองรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนที่ไม่มีอยู่จริงได้ ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ในผู้ที่เคยประสบกับเหตุการณ์รุนแรง

บางครั้งอาการคล้ายกับ MdDS ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากการเดินทางทางเรือหรือเครื่องบินนาน ๆ และยังรู้สึกเหมือนกำลังเคลื่อนไหวอยู่ แม้ว่าจะกลับมาอยู่บนพื้นดินแล้วก็ตาม

  • เวียนศีรษะ คลื่นไส้
  • รู้สึกโคลงเคลง เดินเซ
  • รู้สึกเหมือนพื้นยังสั่นอยู่
  • ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • วิตกกังวล
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น
  • หลีกเลี่ยงการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือแสงจ้า
  • หายใจลึก ๆ และพยายามผ่อนคลายเพื่อลดความเครียด
  • ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดินช้า ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นระบบประสาทการทรงตัว
  • หากอาการไม่ดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ควรปรึกษาแพทย์
  • อาการรุนแรงขึ้นหรือไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน
  • มีอาการปวดศีรษะรุนแรง มองเห็นผิดปกติ หรือมีอาการทางระบบประสาทอื่น ๆ
  • มีโรคประจำตัวที่อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น เช่น โรคเกี่ยวกับหูชั้นใน หรือโรคทางระบบประสาท

“โรคสมองเมาแผ่นดินไหว” เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนหลังจากประสบเหตุแผ่นดินไหว ผู้ที่มีประวัติเมารถ เมาเรือ หรือเป็นผู้หญิงอาจมีความเสี่ยงสูงกว่า อาการมักจะหายไปเองภายในไม่กี่วัน แต่ในบางรายอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำเพิ่มเติม

This will close in 0 seconds