emperor syndrome

“โรคฮ่องเต้ซินโดรม” เมื่อการตามใจกลายเป็นภัยเงียบ

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกมากเกินไป อยากให้ลูกมีสิ่งที่ต้องการ เพื่อให้เขาได้สนุกและเติบโตให้สมกับวัย แต่การตามใจลูกน้อยบ่อยครั้ง ทำให้เด็กเชื่อว่าพ่อแม่จะให้ได้ทุกอย่าง เด็กจึงมีพฤติกรรมเอาแต่ใจ จนค่อย ๆ กลายเป็น “ภัยเงียบ” ที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้อย่างไม่รู้ตัว และนำไปสู่ โรคฮ่องเต้ ซินโดรม

สารบัญ

โรคฮ่องเต้ เกิดจากอะไร

โรคฮ่องเต้ เกิดจากอะไร?

โรคฮ่องเต้ หรือ ฮ่องเต้ซินโดรม เกิดจากการที่ผู้ปกครอง เลี้ยงลูก โดยให้ทุกอย่างที่ต้องการโดยไม่มีขอบเขต คอยปลอบประโลมลูกอยู่ตลอด ซึ่งยิ่งเป็นการส่งเสริมให้เด็กคิดว่าตัวเองต้องได้สิ่งที่ต้องการ คนรอบข้างต้องทำคำสั่ง นาน ๆ เข้าเด็กจะเริ่มมีภาวะ เอาแต่ใจ จะต้องได้สิ่งนั้น โดยไม่สนใจความรู้สึกของคนรอบข้าง และแสดงความรุนแรงอย่างการแย่งสิ่งของเหล่านั้นมา

  • เด็กที่เป็น โรคฮ่องเต้ เมื่อเกิดการผิดหวัง จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรงออกมาจนกว่าจะได้สิ่งที่ต้องการ
  • คิดว่าตัวเองมีอำนาจเหนือกว่าผู้อื่น รู้สึกว่าตนเองเป็นผู้นำและมีสิทธิ์ในการตัดสินใจทุกอย่างโดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น
  • ขาดความเห็นใจ เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ไม่สนใจความรู้สึกของคนรอบข้าง
  • ตัวเองต้องได้รับความสนใจหรือเป็นที่ยอมรับมากกว่าคนอื่น
  • ไม่มีเหตุผล ยึดความคิดตนเองเป็นใหญ่ ไม่รับฟังความเห็นต่าง

โรคฮ่องเต้ ซินโดรม ส่งผลกระทบต่อ พัฒนาการเด็ก ในระยะยาว ทำให้เด็กประสบปัญหาในชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับผู้อื่น ในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้

  1. เด็กไม่เรียนรู้ที่จะอยู่ในกฎและกติกาของสังคม  ขาดความรับผิดชอบ ทำให้มีปัญหาในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  2. เด็กไม่สามารถจัดการอารมณ์ได้ เมื่อเจอกับความผิดหวัง จะแสดงออกด้วยความโกรธหรือหงุดหงิด
  3. ขาดความเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่นไม่สามารถเข้าใจหรือรับรู้ความรู้สึกของคนอื่น
  4. ส่งผลกระทบต่อ สุขภาพจิตเด็ก เจอกับความเครียด ความวิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้า ที่ไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้ และการกดดันจากสังคม ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็ก

ครอบครัวหรือความสัมพันธ์ คนที่มีภาวะฮ่องเต้ซินโดรมอาจสร้างความเครียดจากการยึดตัวเองเป็นใหญ่ มีอำนาจบังคับทุกอย่าง และกดดันคนรอบข้างให้ทำตาม ทำให้ความสัมพันธ์พังลงได้

การทำงาน อาจเกิดความขัดแย้งระหว่างหัวหน้าหรือทีม ยึดความคิดตัวเองว่าถูกไม่รับฟังความเห็นที่ต่างจากตัวเอง ขาดวินัย ในการทำงาน ทำให้สังคมการทำงานมีบรรยากาศที่ตึงเครียดและทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

สังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่สามารถแยกแยะอะไรถูกผิด จากการพูดคุยสื่อสาร และจัดการกับอารมณ์ ความคิด ไม่ได้ ทำให้เข้าสังคมกับผู้อื่นได้ยาก

เอาแต่ใจ เป็นธรรมชาติของเด็กที่จะมีพฤติกรรมไม่ได้ดั่งใจก็ร้องไห้บ้างบางครั้ง ซึ่งปัญหาพฤติกรรมของลูกแก้ได้ไม่ยากมี วิธี รับมือ ลูก เอาแต่ใจ และเลี้ยงลูกแบบมีเหตุมีผลสร้างเสริมพัฒนาการให้ลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ดังนี้

  1. สอนให้เด็กบอกความต้องการ อย่างสุภาพ จึงจะได้สิ่งที่ต้องการ
  2. อธิบายเหตุผล เพราะอะไร ด้วยความใจเย็น
  3. หากเด็กมีอารมณ์ รุนแรง สอนเด็กให้รู้จักอารมณ์ตนเอง ควรให้เวลาเด็ก และนั่งเงียบ ๆ ใกล้ ๆ
  4. อธิบายด้วยเหตุผลแล้ว ไม่สามารถให้ได้เสนอสิ่งอื่นที่สามารถทำได้แทน
  5. เมื่อเด็กอารมณ์เย็นลง ควรเริ่มต้นชมเล็ก ๆ น้อย เช่น “หนูไม่ร้องไห้แล้วใช่ไหมคะ เก่งมากค่ะ”

ทั้งนี้ ไม่ควรกอดปลอบ โอ๋เด็ก ในขณะที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม เพราะอาจเป็นการให้รางวัลพฤติกรรมที่ไม่ดี ควรให้เวลาเด็ก นั่งใกล้ ๆ และจับตัว ลูบ หรือกอดเพื่อช่วยให้เด็กใจเย็นลงได้

อ่านเพิ่มเติม ลูกกรี๊ด เอาแต่ใจ คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร

อ่านเพิ่มเติม เทคนิคปราบลูกดื้อ

เลี้ยงลูกแบบไหน
  • แสดงความรักกับลูกให้มากขึ้น เด็กทุกคนต้องการความอบอุ่นจากคุณพ่อและคุณแม่ ดังนั้นการแสดงความรักกับลูกจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกถึงการเอาใจใส่ และลดความเอาแต่ใจลงได้
  • ให้เวลากับลูกมากกว่าให้ลูกอยู่กับของเล่น เช่น ทำกิจกรรมร่วมกัน พูดคุยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ช่วยสร้างเสริมพัฒนาการ การฟังและพูดได้
  • ปลูกฝังความมีระเบียบวินัย เช่น กำหนดเงื่อนไขเวลานอน กิน เล่น ให้ตรงต่อเวลา เพื่อช่วยให้ลูกสามารถปรับตัวและอยู่ร่วมในสังคมได้ และกำกับดูแลให้ลูกทำตามกฎกติกาอย่างสม่ำเสมอ
  • สอนลูกด้วยเหตุและผล การแสดงออกด้วยความสุภาพ
  • ให้รางวัลด้วยคำชมบ่อย ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูก เช่น ชมเมื่อทำสิ่งเล็ก ๆ ได้สำเร็จ ให้กำลังใจ
  • ถ้าลูกทำผิด ต้องมีบทลงโทษที่เหมาะสม ตามที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า อย่างกังวลว่าถ้าลงโทษแล้วลูกจะไม่รักจนละเลยไม่ลงโทษ จะทำให้ลูกไม่ได้เรียนรู้ว่าอะไรไม่ควรทำ

การส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมให้เด็กเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้พัฒนาและเติบโตในทางที่ดีได้ ตัวอย่างดังนี้

  1. ฝึกทักษะการเข้าสังคม โดยการจัดกิจกรรมที่ให้เด็กมีโอกาสได้เล่นร่วมกับเด็กคนอื่น เช่น การเข้าร่วมกลุ่มเล่นกีฬา การเรียนในชั้นเรียน
  2. สอนทักษะการสื่อสาร เช่น การพูดอย่างชัดเจน การฟังอย่างตั้งใจ และการใช้ภาษาที่เหมาะสม
  3. สร้างความเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่น หากทำผิดสอนให้รู้จักขอโทษและการแก้ปัญหา จะให้ช่วยเด็กพัฒนาความเห็นอกเห็นใจสามารถเข้ากับผู้อื่นได้ดีขึ้น
  4. ฝึกให้เด็กมีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น สอนให้เด็กรับฟังความคิดเห็นและนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
  5. สนับสนุนเด็กในเรื่องที่ดี เช่น การเรียนและการเล่น เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีและสมวัย

AccelerateRx โปรแกรมที่ช่วยให้ลูกได้ฝึกสมอง พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ เตรียมความพร้อมให้ลูกปรับตัวในสังคมได้ดีมากขึ้น โดยเราจะพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้ เช่น ทักษะการอ่านและเขียน ทักษะการคิด ทักษะการสื่อสาร และทักษะสังคม

อ่านเพิ่มเติม AccelerateRx

Gibson Test_CTA

สรุป

โรคฮ่องเต้ ซินโดรมมีผลกระทบพัฒนาการของเด็กได้ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว รวมถึงส่งผลต่อการใช้ชีวิตในสังคม การเรียนรู้วิธีการจัดการกับพฤติกรรมเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและประสบความสำเร็จในชีวิตได้

ดังนั้น การส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมให้เด็กจะช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดี สภาพแวดล้อม สังคม การใช้ชีวิต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้ในอนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น

This will close in 0 seconds