ทักษะความจำระยะยาว
Long-Term Memory
ความจำระยะยาว ( Long-Term Memory ) คืออะไร
ความจำระยะยาว (Long-Term Memory) เป็นหน่วยความจำที่เปรียบเสมือนคลังข้อมูล สามารถเก็บข้อมูลได้ไม่จำกัด เป็นระยะเวลานาน ความจำชนิดนี้สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกคือ ความจำที่สามารถเรียกคืนกลับโดยอัตโนมัติ (Non-Declarative / Implicit Memory) ซึ่งได้มาจากการฝึกทำซ้ำๆ เช่น การปั่นจักรยาน, การขับรถ เป็นต้น ความจำอีกชนิดคือ ความจำที่เรียกคืนโดยใช้ความคิดระดับสูง (Declarative / Explicit Memory) ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และความเข้าใจของบุคคลนั้นๆ เช่น การจดจำชื่อคนในครอบครัว, การหาของที่หาย, ความรู้รอบตัว, การจดจำอดีตหรือสิ่งที่เคยทำ ได้เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี เป็นต้น การที่เราจะสามารถจำข้อมูลต่างๆได้นั้นเราต้องเลือกสนใจ ใช้การจดจ่อกับข้อมูลนั้นก่อนและต้องมีการนึกหรือทำซ้ำๆ ข้อมูลนี้จึงจะเก็บอยู่ในความจำระยะยาว
หากทักษะด้านความจำระยะยาว (Long-Term Memory) อ่อนหรือบกพร่อง จะทำให้
- นึกข้อมูลหรือคำศัพท์ไม่ค่อยออก
- ต้องอาศัยการทำซ้ำหรือพูดซ้ำๆจึงจะจำได้
- มักจะนึกคำศัพท์ที่เฉพาะไม่ค่อยออก ต้องใช้การอธิบาย มักมีอาการ คำพูดติดอยู่ที่ปลายลิ้น
เราสามารถพัฒนาทักษะ Long-Term Memory (ความจำระยะยาว) ได้อย่างไร??
เราสามารถพัฒนาทักษะด้านความจำระยะยาว (Long-Term Memory) ได้ด้วยโปรแกรมฝึกสมอง ซึ่ง Brain and Life Center มีโปรแกรมสำหรับการฝึกสมองที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะการเรียนรู้ของสมองอย่างครอบคลุมในทุกๆด้าน