เด็กทุกคนมีพฤติกรรมดื้อบ้างเป็นครั้งคราว เกิดขึ้นได้จากปัจจัยรอบตัว เป็นพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาไม่เหมาะสม สังเกตได้จากการโต้แย้ง ไม่เชื่อฟัง เอาแต่ใจ โรคดื้อ ไม่เพียงแต่จะพบในเด็กเท่านั้น แต่ยังพบได้ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่อีกด้วยพฤติกรรมเหล่านี้หากเกิดขึ้นบ่อยครั้งอาจส่งผลกระทบต่อทักษะการเรียนรู้ แต่หากสังเกตดี ๆ ยังมีอีกหนึ่งโรคที่คล้ายกันอย่าง Learning Disorder หรือ โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งมีสาเหตุที่ทำให้แสดงพฤติกรรมนั้นออกมาได้คล้าย ๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น สภาพแวดล้อม พันธุกรรม ระบบประสาท เป็นต้น
สารบัญ
- โรคดื้อมีจริงหรอ ?
- สาเหตุของโรคดื้อ
- อาการของโรคดื้อที่พบได้บ่อย
- โรคดื้อต่อต้านในผู้ใหญ่
- ผลกระทบของโรคดื้อ
- วิธีแก้ลูกดื้อไม่เชื่อฟัง ทำอย่างไรบ้าง
โรคดื้อมีจริงหรอ
โรคดื้อ คือ ภาวะผิดปกติในการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กต่อผู้อื่น มักจะพบโรคนี้ในเด็กที่มีอายุในช่วง 6-8 ปี เกิดขึ้นได้กับทั้งเพศชายและหญิง รวมทั้งผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นได้ พฤติกรรมเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ และส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่และเพื่อน ๆ รอบข้าง ซึ่งสาเหตุของโรคอาจเกิดจากพันธุกรรม ระบบประสาท หรือสภาพแวดล้อม เช่น การใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว การเลี้ยงลูกผิดวิธี หรือการถูกรังแก เป็นต้น
อาการของโรคดื้อที่พบได้บ่อย
- เป็นคนเจ้าอารมณ์โกรธง่าย อารมณ์รุนแรง ฉุนเฉียวตลอดเวลา มักจะระเบิดอารมณ์ออกมาเมื่อรู้สึกไม่พอใจ ควบคุมอารมณ์ของตนเองไม่ได้
- การใช้คำพูด ใช้คำพูดหยาบคาย โต้แย้งโดยไม่ฟังเหตุผล ไม่ทำตามคำสั่งของใคร
- ตั้งใจก่อกวน ก่อความรำคาญ หาเรื่องทะเลาะวิวาท คุกคามผู้อื่น หากรู้สึกโกรธใครจะหาทางตอบโต้ หรือกลั่นแกล้งอีกฝ่ายด้วยเจตนาที่ไม่ดี ไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น
โรคดื้อต่อต้านในผู้ใหญ่
ไม่เพียงแต่จะพบโรคดื้อแค่ในเด็กเท่านั้นแต่ยังพบ โรคดื้อต่อต้านในวัยผู้ใหญ่ ได้เหมือนกัน อาการโรคดื้อในเด็กและผู้ใหญ่มีความคล้ายคลึงกัน แต่ในผู้ใหญ่จะวินิจฉัยได้ยากกว่า เพราะมีปัจจัยที่หลากหลายมากขึ้นตามอายุ และจากภาวะพฤติกรรมจากโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย อาการอาจมีลักษณะดังนี้
- การไม่เคารพผู้อื่น ไม่ฟังตามคำสั่ง มักจะคิดว่าตนเองใหญ่กว่าผู้อื่น ท้าทาย จนทำให้เกิดข้อขัดแย้งกับคนรอบ ๆ เช่น เจ้านายหรือเพื่อนร่วมงาน ญาติ
- ความขัดแย้ง สร้างปัญหา ยุยง ทำให้ความสัมพันธ์กับคนรอบตัวมีปัญหา
- ความรู้สึกโกรธหรือหงุดหงิด โกรธง่ายและตอบโต้ด้วยความเกลียดชังหรือความรุนแรง ขาดความยับยั้งอารมณ์
- การปฏิเสธการรับผิดชอบ มักจะปฏิเสธการกระทำผิดหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นโยนให้ผู้อื่น และคิดว่าตนเองไม่ผิด
สาเหตุของโรคดื้อ
ไม่มีสาเหตุของ โรคดื้อ ที่เห็นได้ชัดเจน จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล การวินิจฉัยและการรักษาจึงต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายด้าน ดังนี้
- ปัจจัยทางพันธุกรรม เด็กบางคนอาจมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมดื้อรั้นมาตั้งแต่เกิด อาจเกิดจากการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรมจากคนในครอบครัวที่มีความผิดปกติทางจิต เช่น ภาวะความผิดปกติทางบุคลิกภาพ และภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ เป็นต้น
- ปัจจัยทางระบบประสาท เกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของสารเคมีในสมองไม่สมดุล หรือ มีภาวะทางจิตร่วมด้วย เช่น โรคสมาธิสั้น โรคการเรียนรู้บกพร่อง ภาวะซึมเศร้า เครียด เป็นต้น
ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ความรุนแรงในครอบครัว หรือปัญหาทางสังคมการถูกเพื่อนรังแกหรือกลั่นแกล้ง พฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุของโรคนี้ได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ปกครองละเลยไม่ใส่ใจดูแลลูก เด็กขาดการอบรมเลี้ยงดูอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ การขาดแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิต
ผลกระทบของโรคดื้อ
หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม โรคดื้อ อาจส่งผลกระทบต่อเด็กในระยะยาว เช่น เกิดภาวะ บกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ LD ย่อมาจากคำว่า learning disorder เป็นความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางด้านการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง นอกจากผลกระทบต่อการเรียนรู้แล้ว โรคดื้อยังส่งผลกระทบต่อด้านอื่น ๆ ของชีวิตเด็กอีกมาก
- ด้านอารมณ์และพฤติกรรม ควบคุมตัวเองไม่ได้ ทำให้เกิดความขัดแย้งและความไม่เข้าใจต่อสังคมรอบตัว
- ด้านสังคม การรักษาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเป็นไปได้ลำบาก เพราะอาจมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวหรือไม่เชื่อฟัง ในอนาคตอาจมีปัญหาในการทำงาน เนื่องจากไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบได้
- สุขภาพจิตใจ นำไปสู่การเกิดปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ที่รุนแรงมากขึ้น เช่น โรคบุคลิกภาพ ซึมเศร้า
ทั้งนี้การรักษาโรคดื้อจึงมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตของเด็กในอนาคต หากปล่อยไว้อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตของเด็กไปตลอด
อ่านเพิ่มเติม : ความบกพร่องด้านการเรียนรู้
อ่านเพิ่มเติม : โรคสมาธิสั้น คืออะไร
วิธีแก้ลูกดื้อไม่เชื่อฟัง ทำอย่างไรบ้าง
การมีลูกดื้อและไม่เชื่อฟังเป็นเรื่องที่พ่อแม่หลายคนต้องเผชิญ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เด็กจะแสดงพฤติกรรม แต่ถ้าพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งและส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน อาจเป็นสัญญาณว่าเราควรหาวิธีรับมือที่เหมาะสม
การช่วยเหลือทางการแพทย์ เนื่องจาก โรคดื้อ หรือ Odd (Oppositional Defiant Disorder) มักเกิดร่วมกับโรคหรือภาวะอื่น ๆ เช่น โรคสมาธิสั้น(ADHD) โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disorder) ดังนั้นแพทย์จึงต้องประเมิน วินิจฉัยภาวะต่าง ๆ รวมถึงให้การรักษาภาวะเหล่านั้น และการรักษาครอบครัวจำเป็นต้องให้ความร่วมมือเนื่องจากโรคนี้ส่วนใหญ่มักพบในเด็ก ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนในครอบครัวจะส่งผลเป็นอย่างมาก
การช่วยเหลือทางการศึกษา ซึ่งที่ Brain and Life Center มีคอร์สเรียนพัฒนาสมองเพื่อช่วยลดอาการของโรคลง โดยก่อนเข้าเรียนจะมีการทำแบบทดสอบ Gibson Test ที่สามารถบอกจุดแข็ง จุดอ่อน และสิ่งที่ควรจะต้องพัฒนาหรือปรับปรุงได้อย่างไร โดยที่เราจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำและคำปรึกษาตลอดทั้งการเข้าคอร์สแบบตัวต่อตัว เป็นการฝึกเฉพาะบุคคลโดยแท้จริง สามารถแก้ปัญหาสมาธิสั้นได้อย่างตรงจุด
อ่านเพิ่มเติม : Gibson Test
สรุป
พฤติกรรมที่เด็กดื้อมีสาเหตุที่ซับซ้อนกว่าที่คิด และอาจไม่ใช่เรื่องปกติเสมอไป หากพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเด็ก อาจก่อให้กิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งการวินิจฉัยที่ถูกต้องจะช่วยให้เด็กได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม สังคมได้ง่ายขึ้น