สอนการบ้านลูกเองทำไมถึงยากหรือว่าลูกเรียนรู้ช้า?
การสอนการบ้านลูกเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนประสบปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการที่ลูกไม่ตั้งใจทำการบ้าน เขียนหนังสือไม่ได้ หรือใช้เวลานานกว่าปกติ ปัญหาเหล่านี้อาจทำให้พ่อแม่รู้สึกเครียด และสงสัยว่าลูกของตนเองมีปัญหา เรียนรู้ช้า หรือมีภาวะ LD (Learning Disabilities) หรือไม่
สารบัญ
- เมื่อการบ้านกลายเป็นศึกในบ้าน สอนการบ้านลูกเอง…ทำไมถึงยากจัง
- ปัญหาที่พบบ่อยในการสอนการบ้านลูก
- ความแตกต่างวิธีการสอนของพ่อแม่และคุณครู
- สัญญาณเสี่ยงลูกเป็น LD และวิธีสังเกต
- ตรวจ LD ได้ที่ไหนการบ้านลูก
- ลูกเป็น LD ต้องรักษาไหม?
- เทคนิคการสอนการบ้านลูก
- สรุปสอนการบ้านลูกเองทำไมถึงยากหรือว่าลูกเรียนรู้ช้า?
เมื่อการบ้านกลายเป็นศึกในบ้าน สอนการบ้านลูกเอง…ทำไมถึงยากจัง
การสอนการบ้านลูกอาจดูเหมือนเป็นกิจกรรมง่าย ๆ ที่พ่อแม่ทุกคนสามารถทำได้ แต่ในความเป็นจริง หลายครอบครัวต้องเจอกับความยากเมื่อลูกไม่ตั้งใจเรียน หรือไม่สามารถทำการบ้านได้อย่างราบรื่น ซึ่งอาจนำไปสู่ความเครียดทั้งพ่อแม่และลูก
สาเหตุที่การสอนการบ้านลูกกลายเป็นเรื่องยากมีหลากหลายปัจจัย ตั้งแต่ธรรมชาติของเด็ก ลักษณะของการบ้าน ไปจนถึงวิธีการสอน มาดูกันว่าทำไมการสอนการบ้านลูกจึงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับหลายครอบครัว
ปัญหาที่พบบ่อยในการสอนการบ้านลูก
การสอนการบ้านให้ลูกเป็นหนึ่งในความท้าทายที่พ่อแม่ต้องเจอในชีวิตประจำวัน เนื่องจากการบ้านไม่เพียงแค่การเสริมทักษะการเรียนรู้ แต่ยังเป็นการฝึกทักษะหลายด้าน เช่น การบริหารเวลา ความรับผิดชอบ และสมาธิ อย่างไรก็ตาม พ่อแม่หลายคนมักพบปัญหาต่าง ๆ เมื่อสอนลูกทำการบ้าน ซึ่งแต่ละปัญหามักมีสาเหตุและวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน
1. ลูกไม่สนใจหรือไม่อยากทำการบ้าน ลูกบางคนไม่รู้สึกสนุกหรือไม่มีความสนใจในการทำการบ้าน สาเหตุอาจะเป็นเพราะ การบ้านอาจยากเกินไป
2. ลูกไม่เข้าใจเนื้อหา บางครั้งลูกอาจทำการบ้านไม่สำเร็จเพราะไม่เข้าใจคำถามหรือเนื้อหาที่ต้องทำ เช่น คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน หรือภาษาไทยที่มีคำยาก ลูกอาจรู้สึกท้อแท้เมื่อไม่สามารถทำการบ้านได้
3. ลูกมีความเครียดจากการทำการบ้าน ลูกอาจรู้สึกเครียดจากปริมาณการบ้านที่มากเกินไป หรือเนื้อหาที่ยากเกินไป
4. พ่อแม่ไม่มีเวลาในการช่วยเหลือลูก พ่อแม่อาจต้องทำงานหรือมีภาระหน้าที่อื่น ๆ จึงไม่มีเวลาช่วยลูกทำการบ้านได้
5. การบ้านมากเกินไป บางครั้งการบ้านที่ได้รับอาจมากเกินไป จนลูกไม่สามารถจัดการได้ในเวลาอันเหมาะสม และส่งผลต่อสภาพจิตใจของลูก
อีกสาเหตุหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่าการสอนการบ้านลูกมีความยากอาจเป็นเพราะว่าลูกมีภาวะการเรียนรู้บกพร่องหรือ LD (Learning Disorder) ซึ่งทำให้ลูกเรียนรู้ช้ากว่าเด็กทั่วไป โดยที่โรคการเรียนรู้บกพร่องสามารถส่งผลต่อการทำการบ้านในหลายรูปแบบ เช่น ความยากลำบากในการอ่าน การเขียน การคำนวณ หรือการจำข้อมูล
ความแตกต่างวิธีการสอนของพ่อแม่และคุณครู
การสอนของพ่อแม่และคุณครูมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือช่วยให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหา แต่ในกระบวนการสอนนั้นแตกต่างกัน ตั้งแต่เทคนิค ซึ่งมีหลากหลายวิธ๊ ไม่มีผิด ไม่มีถูก โดยจะมีความแตกต่างแนวทางการสอนดังนี้
พ่อแม่
- สอนจากประสบการณ์ พ่อแม่จะใช้ความรู้และประสบการณ์มาเป็นพื้นฐานในการสอน
- ไม่มีรูปแบบการสอนที่ตายตัว วิธีการสอนของพ่อแม่อาจเปลี่ยนไปตามสถานการณ์และความเข้าใจของลูก
- เน้นช่วยเหลือเฉพาะหน้า พ่อแม่มักเน้นให้ลูกทำการบ้านหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้สำเร็จ
คุณครู
- ใช้เทคนิคการสอน คุณครูได้รับการฝึกฝนเรื่องการสอนและการเข้าใจพฤติกรรมของเด็ก
- มีโครงสร้างการสอนที่ชัดเจน คุณครูวางแผนการสอนตามหลักสูตรและวัตถุประสงค์การเรียนรู้
- เน้นการสร้างพื้นฐานระยะยาว คุณครูมุ่งเน้นให้เด็กเข้าใจเนื้อหาเพื่อใช้ในอนาคต
สัญญาณเสี่ยงลูกเป็น LD และวิธีสังเกต
LD (Learning Disorder) เป็นภาวะที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในบางด้าน อาการที่แสดงออกอาจมีข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อร่วมกัน ดังนี้
- ปัญหาในการอ่าน (DYSLEXIA) เช่น อ่านผิด อ่านช้า ตกหล่น อ่านไม่ออกเลย
- ปัญหาในการเขียน (DYSGRAPHIA) เช่น เขียนตัวหนังสือกลับหลัง เขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกที่ หรือ เขียนคำสลับตำแหน่งกัน ทำให้ลูกเขียนช้าและไม่ชอบเขียน
- ปัญหาในการคำนวณ (DYSLEXIA) เช่น เขียนตัวเลขผิด ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขหลักต่างๆ ไม่เข้าใจเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ ตีโจทย์ปัญหาไม่ได้ ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณตัวเลข
ตรวจ LD ได้ที่ไหน
การตรวจรักษาโรค LD มีหลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะและระดับความรุนแรงของอาการ เมื่อได้รับการประเมินแล้ว การเลือกสถานที่ที่สามารถรักษาและช่วยพัฒนาเด็ก มีความสำคัญเนื่องจากการรักษาโรคนี้ต้องใช้การดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ
โรงพยาบาลที่รับตรวจและรักษา
- โรงพยาบาลรัฐ มีแผนกเฉพาะทางด้านจิตเวชและพัฒนาการเด็ก เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าสถานพยาบาลอื่น แต่ในบางครั้งอาจต้องรอคิวนานเนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนมาก
- โรงพยาบาลเอกชน เช่น โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และโรงพยาบาลสมิติเวช มีบริการวินิจฉัยและรักษาโรคค่าใช้จ่ายอาจสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐ แต่จะได้รับการดูแลและสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง
- คลินิกโรค LD คลินิกเฉพาะทางที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้และการพัฒนาเด็ก เช่น คลินิกจิตวิทยาเด็ก หรือคลินิกพัฒนาการ โดยใช้เทคนิคและวิธีการที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาทักษะ เช่น การฝึกสมาธิ การฝึกทักษะการอ่านและการเขียน ซึ่งสามารถช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้
Brain and Life Center สถาบันฝึกพัฒนาทักษะสมอง ให้บริการทดสอบทางสมองและพัฒนาการเด็ก สามารถเข้ามาปรึกษาได้ทั้งออนไลน์และออนไซต์ โดยไม่ต้องรอคิวนาน ใช้การทดสอบประเมินทักษะสมอง 7 ด้าน เพื่อตรวจหาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ ทักษะที่ต้องพัฒนา และ ออกแบบคอร์สฝึกสมองเฉพาะบุคคล แก้ปัญหาได้ถูกจุด จึงตอบโจทย์พ่อแม่ที่กำลังมองหาการเรียนเพื่อฝึกทักษะการเรียนรู้ให้สมวัย เพื่อเพิ่มศักยภาพสมองและทักษะให้ลูก
แนะนำสถานที่หรือศูนย์ที่สามารถตรวจวินิจฉัย เด็ก LD ในประเทศไทย
ลูกเป็น LD ต้องรักษาไหม?
คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกกังวลและไม่รู้จะเริ่มต้นจากตรงไหน หากลูกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น LD ควรเริ่มการบำบัดหรือการช่วยเหลือทันที เพื่อเสริมสร้างทักษะที่บกพร่อง อย่าตื่นตระหนก และ ทำความเข้าใจ เพราะโรคนี้รักษาได้หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ลูกสามารถเรียนได้ปกติ เช่น
- การบำบัดพฤติกรรมสำหรับเด็กที่มีปัญหาสมาธิ
- การบำบัดด้านการอ่านและการเขียนสำหรับเด็กดิสเล็กเซีย
- การสอนพิเศษในรูปแบบที่เหมาะสม
เด็ก LD สามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น หากเด็กได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ และรักษาที่ถูกวิธี เด็กก็จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นและสามารถหายได้ โดยไม่ต้องทานยา
เทคนิคสอนการบ้านลูก
การสอนการบ้านลูกไม่ใช่เพียงแค่การช่วยให้ลูกทำงานเสร็จ แต่ยังเป็นโอกาสสำคัญในการเสริมสร้างนิสัยการเรียนรู้ที่ดี หากพ่อแม่สามารถจัดการและใช้เทคนิคที่เหมาะสมได้ จะช่วยให้ลูกมีสมาธิ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ และลดความเครียดจากการทำการบ้าน บทความนี้ได้รวบรวมแนวทางที่ใช้ง่ายและได้ผล เพื่อช่วยให้การสอนการบ้านกลายเป็นกิจกรรมที่สนุกและมีประสิทธิภาพ
- สร้างบรรยากาศที่เหมาะสมสำหรับการเรียน เลือกสถานที่ที่สงบ ไม่มีเสียงรบกวน และจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ
- สร้างกิจวัตรการทำการบ้าน มีตารางเวลาที่ชัดเจนช่วยสร้างระเบียบวินัย
- การพูดให้กำลังใจ หลีกเลี่ยงการตำหนิช่วยให้ลูกมีแรงจูงใจในการทำการบ้าน
- สอนวิธีการจัดการเวลา สอนให้ลูกวางแผนและบริหารเวลา
- ฝึกลูกให้คิด ค่อยให้คำชี้แนะ ที่นำไปสู่การคิดวิเคราะห์
- ใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย เพื่อให้ลูกได้เจอโจทย์หลากหลายรูปแบบ เช่น รูปภาพ วิดีโอ ภาพวาดระบายสี
- จัดการกับอารมณ์ เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกหงุดหงิดจากการสอนการบ้าน ควรจัดการกับอารมณ์เพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกการทำการบ้านรู้สึกกดดันเกินไป
- ใจลูกใจเรา เลือกใช้คำที่ผ่อนคลายไม่ให้ลูก รู้สึกเครียด เช่น “ข้อนี้เหมือนมันจะยากจริง ๆ นะ ลองทำดูก่อน ผิดไม่เป็นไรลูก เดี๋ยวเรามาช่วยกันตรวจดู”
- ทำการบ้านของคุณไปด้วย เพื่อให้ลูกเรียนรู้และซึมซับและรู้สึกถึงการเป็นแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่
- ร่วมมือกับคุณครู ระหว่างการสอนลูกทำการบ้านก็สามารถจดโน้ตไว้ เพื่อแจ้งให้ครูทราบรายละเอียด เพื่อจะได้ขอความช่วยเหลือจากคุณครูเพิ่มเติมในเรื่องนั้น ๆ
สรุปสอนการบ้านลูกเองทำไมถึงยากหรือว่าลูกเรียนรู้ช้า?
สอนการบ้านลูกไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าเข้าใจปัญหา การสอนการบ้านลูกอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยเฉพาะเมื่อเด็กมีปัญหาด้านการเรียนรู้ เช่น LD ดิสเล็กเซีย หรือสมาธิสั้น แต่ด้วยการปรับวิธีการสอนที่เหมาะสม และการสนับสนุนที่ถูกต้องจากครอบครัว เด็กสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้เป็นปกติได้
Brain and Life Center พร้อมช่วยพัฒนาศักยภาพของลูกคุณด้วยโปรแกรมที่ออกแบบมาเฉพาะ ให้ลูกของคุณสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข