ทักษะด้านการวางแผน
Planning
ทักษะด้านการวางแผน (Planning) คืออะไร?
เป็นทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบความคิด หรือความสามารถในการคิดวางแผนหรือคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย เช่น การจัดลำดับขั้นตอนความสำคัญ, การตัดสินใจที่ดี, การกำหนดหรือมอบหมายงานที่เหมาะสมกับทักษะ, การวางแผนการจัดการ เป็นต้น ซึ่งเป็นทักษะทางการคิดที่ทำให้สามารถทำงานสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แม้ว่าโดยปกติแล้วคนเราจะมีความสามารถในทักษะด้านการวางแผน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะทักษะด้านการวางแผน (Planning) ขึ้นอยู่กับการสร้างเซลล์ของสมองหรือที่เราเรียกว่า Brain Plasticity โดยสมองจะสร้างเส้นใยประสาทเมื่อมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ การที่จะใช้ทักษะด้านนี้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยการรับรู้ข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะวิเคราะห์ข้อมูลที่มีทั้งหมดได้อย่างเหมาะสม
ความบกพร่องในทักษะด้านการวางแผน (Planning) จะส่งผลให้การทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันยากขึ้น เช่น การจัดลำดับความสำคัญของงาน, การจัดระบบความคิด, การทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ หรือแม้แต่การจัดกระเป๋าหรือการซื้อของ เป็นต้น
ตัวอย่างลักษณะของผู้ที่อ่อนทักษะด้านการวางแผน (Planning)
ในคนที่อ่อนทักษะด้านนี้มักจะไม่รู้ว่าตนเองจะต้องเริ่มทำอะไรก่อน เมื่อต้องจัดระบบความคิดหรือต้องทำงานที่ซับซ้อน มักจะเกิดความรู้สึกที่ไม่อยากทำหรือไม่เข้าใจขั้นตอนที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย โดยจะมีลักษณะต่างๆ ดังนี้
- ตัดสินใจไม่ค่อยได้
- ไม่สามารถวางแผนล่วงหน้าหรือเรียงลำดับความสำคัญของงานได้
- ไม่สามารถที่จะกะเวลาในการทำงานได้
- ถูกรบกวนได้ง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิ ความจำไม่ดี
- ไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์
- ทำงานรวดเร็วแต่ไม่รอบคอบ หรือในบางกลุ่มอาจทำงานช้าแต่ไม่เสร็จสมบูรณ์
- ไม่สามารถคิดหรือทำงานมากกว่าหนึ่งอย่างไปพร้อมๆกันได้
- ไม่สามารถรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด
ความผิดปกติหรือพยาธิสภาพที่สัมพันธ์กับทักษะด้านการวางแผน
การที่มีความบกพร่องในทักษะด้านการวางแผน ( Planning ) มักเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า ( โดยเฉพาะในบริเวณ Prefrontal Dorsal Lateral ) ดังนั้น ผู้ที่มีความความผิดปกติจะไม่สามารถทำงานหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทักษะการวางแผนได้เลย เช่น การจัดระบบความคิด, การจัดลำดับข้อมูล, การจัดการเวลา และการคิดแบบยืดหยุ่น
ผู้ที่บกพร่องทางทักษะด้านนี้จะอยู่ในกลุ่มอาการของโรค “ Dysexecutive syndrome ” ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
- เนื้องอกในสมอง
- มีอาการบาดเจ็บทางสมอง
- โรคพาร์กินสัน
- โรคปลอกประสาทอักเสบ
- กลุ่มอาการทูเรตต์
- โรคจิตเภท
- โรคย้ำคิดย้ำทำ
- กลุ่มอาการ Autism (ASD)
- มีความบกพร่องทางการอ่าน
- มีความบกพร่องด้านการคำนวณ
- สมาธิสั้น (ADHD)
- กลุ่มอาการ Fetal Alcohol Syndrome (FAS)
เราสามารถพัฒนาทักษะ Planning (ทักษะด้านการวางแผน) ได้อย่างไร?
ทักษะด้านการวางแผน (Planning) สามารถที่จะฝึกฝนและพัฒนาได้ด้วยการกระตุ้นการใช้ทักษะและฝึกให้สมองเรียนรู้จากกิจกรรมที่เหมาะสม ที่ Brain and Life Center ศูนย์พัฒนาสมองและศักยภาพ มีตัวช่วยในการที่จะฝึกฝนและส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้ทักษะด้านการวางแผนให้ดียิ่งขึ้น