โรคสมาธิสั้น วิธีสังเกตลูก สมาธิสั้นแท้ หรือ สมาธิสั้นเทียม
การสังเกตว่าลูกมีอาการ โรคสมาธิสั้น หรือเพียงแค่มีลักษณะสมาธิสั้นเทียม เป็นสิ่งสำคัญในการวางแผนดูแลและพัฒนาลูกในอนาคต อาการทั้งสองแบบมีความคล้ายคลึงกัน บทความนี้จะพาไปรู้จักกับโรคสมาธิสั้น ทั้ง 2 แบบและวิธีการสังเกตว่าลูกของคุณอยู่ในกลุ่มใด
สารบัญ
- โรคสมาธิสั้นแท้ สมาธิสั้นเทียม คืออะไร
- ความแตกต่างโรคสมาธิสั้นแท้และสมาธิสั้นเทียม
- วิธีสังเกต และแบบทดสอบสมาธิสั้น
- สาเหตุ โรคสมาธิสั้น
- การรักษาโรคสมาธิสั้น
- สรุปโรคสมาธิสั้นแท้ สมาธิสั้นเทียม
โรคสมาธิสั้นแท้ โรคสมาธิสั้นเทียม คืออะไร
โรคสมาธิสั้นแท้ หรือ โรคสมาธิสั้น (ADHD: Attention Deficit Hyperactivity Disorder) คือ ภาวะความบกพร่องทางพัฒนาการของสมองที่ส่งผลต่อการควบคุมสมาธิ อารมณ์ และพฤติกรรม โดยโรคนี้มักพบในช่วงอายุตั้งแต่อายุ 3-12 ปี เฉลี่ยที่พบมากที่สุดคือ 7 ปี และพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงในอัตราส่วน 3:1 และอาจส่งผลต่อชีวิตประจำวัน เช่น การเรียน การเข้าสังคม และการทำกิจกรรมอื่น ๆ
โรคสมาธิสั้น มีกลุ่ม 3 อาการหลัก ได้แก่
- ขาดสมาธิ (Inattention)
- อยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity)
- หุนหันพลันแล่น (Impulsivity)
โรคสมาธิสั้นเทียม (Pseudo-Attention deficit / Hyperactivity disorder) (Pseudo-ADHD) คือ พฤติกรรมหรืออาการที่มีลักษณะคล้ายกับ โรคสมาธิสั้น (ADHD) แต่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของสมองหรือระบบประสาทโดยตรง อาการสมาธิสั้นเทียม มักเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก เช่น สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู หรือพฤติกรรมที่เกิดจากวัยของเด็ก
ลักษณะของสมาธิสั้นเทียม
เด็กที่มีสมาธิสั้นเทียมมักแสดงพฤติกรรมดังนี้
- ขาดสมาธิในบางสถานการณ์ ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่ต้องใช้เวลา เช่น การทำการบ้าน แต่สามารถตั้งใจทำกิจกรรมที่สนุกสนาน เช่น การเล่นเกม ได้ดี
- เบื่อง่ายและขาดความอดทน มีพฤติกรรมที่เบื่อง่ายกับกิจกรรมที่น่าเบื่อหรือใช้เวลานาน เช่น การฟังครูสอน
- อาการเปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อม เช่น การเล่นกลางแจ้งหรือการลดเวลาอยู่หน้าจอ อาการสมาธิสั้นจะลดลง
- พฤติกรรมซนหรืออยู่ไม่นิ่งบางช่วงเวลา เด็กอาจมีพลังงานเหลือเฟือในช่วงหนึ่ง แต่สามารถสงบได้เมื่อมีกิจกรรมที่สนใจ
ความแตกต่างระหว่างโรคสมาธิสั้นแท้และสมาธิสั้นเทียม
สมาธิสั้นแท้ | สมาธิสั้นเทียม |
---|---|
1. เกิดจากความผิดปกติทางสมอง | 1. เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น การเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อม |
2. ลูกมีอาการตลอดเวลา ทั้งที่บ้านและโรงเรียน | 2. อาการมักจะแสดงแค่กับพ่อและแม่ |
3. รักษาด้วยยาหรือบำบัด | 3. ปรับพฤติกรรมการเลี้ยงดู |
4. ส่งกระทบต่อการเรียนรู้ และการทำงานของสมอง | 4. ส่งผลต่อการเข้าสังคม พฤติกรรม |
5. แสดงอาการตั้งแต่เด็ก | 5. แสดงอาการในช่วงอายุใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู |
วิธีสังเกตลูกเป็นสมาธิสั้นแท้หรือสมาธิสั้นเทียม
สังเกตพฤติกรรมของลูกตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจพบสัญญาณของโรคสมาธิสั้นได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และรีบทำการรักษา วิธีสังเกตมีดังนี้
สังเกตอาการที่บ้าน สำหรับพ่อแม่
- ลูกการบ้านไม่เสร็จ จดจ่อไม่ได้
- ลูกลืมบ่อย เช่น อุปกรณ์การเรียน ลืมการบ้าน
- ลูกอยู่ไม่นิ่ง ขยับตัวตลอดเวลา
- ลูกทำอะไรไม่คิด เช่น แย่งพูด แย่งของ
- ลูกควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ เช่น โกรธง่าย โวยวาย หรือร้องไห้เมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการ
- ไม่สามารถรอคอยคิวในกิจกรรมหรือเกมได้
สังเกตอาการที่โรงเรียน สำหรับคุณครู
- เด็กจดจ่อกับการเรียนไม่ได้ ไม่สนใจการเรียน
- เด็กลืมทำการบ้านบ่อย หรือ ทำงานในห้องเรียนไม่ได้
- เด็กลุกเดินไปรอบห้องเรียน อยู่ไม่นิ่ง
- รบกวนการเรียนและแกล้งเพื่อน
- ชอบพูดแทรก หรือพูดโดยไม่รอคำถามจบ
- มีปัญหาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบในโรงเรียน
สาเหตุ โรคสมาธิสั้นแท้ และ สมาธิสั้นเทียม
สาเหตุโรคสมาธิสั้น เกิดจาก
โรคสมาธิสั้น มีสาเหตุ มาจากสารสื่อประสาทบริเวณสมองส่วนหน้าบางชนิด เช่น สารโดพามีน (Dopamine) หรือ นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) สารเหล่านี้ทำหน้าที่ในการควบคุมเรื่องสมาธิจดจ่อ การควบคุมตนเอง ซึ่งสารเหล่านี้หลั่งออกมาน้อยกว่าปกติ โดยมีปัจจัยหลัก ดังนี้
- ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ หากพ่อแม่มีประวัติโรคสมาธิสั้น ลูกมีโอกาสสูงที่จะเป็นได้ถึงร้อยละ 57
- ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา หรือการใช้สารเสพติด ขณะตั้งครรภ์ ทำให้ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงในการเป็นโรคสมาธิสั้นสูงขึ้น
- การคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กที่มีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่าปกติ ก็สามารถเป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคสมาธิสั้นสูงได้เช่นกัน โดยอาจพบภาวะบกพร่องในทักษะการเรียนรู้ของเด็กในวัยเรียน (Learning disorder) ร่วมด้วย
สาเหตุของสมาธิสั้นเทียม
สมาธิสั้นเทียม มักเกิดจากปัจจัยภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก โดยสาเหตุหลัก ๆ ได้แก่
1. สิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดู การให้เด็กใช้เวลาหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นเวลานาน อาจทำให้เด็กขาดสมาธิในกิจกรรมอื่น ๆ หรือ การเลี้ยงดูที่ขาดกฎระเบียบ ทำให้เด็กไม่เรียนรู้การจัดการตนเอง
2. ขาดกิจกรรมที่กระตุ้นสมองและร่างกาย การไม่ได้ทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือการออกกำลังกาย ส่งผลให้เด็กมีพลังงานส่วนเกินที่ไม่ได้รับการระบาย
3. พฤติกรรมเฉพาะวัย เด็กในวัยอนุบาลหรือประถม มักมีพฤติกรรมซนตามวัย ซึ่งอาจดูเหมือนสมาธิสั้น แต่เป็นเพียงลักษณะปกติของพัฒนาการ
4. การกระตุ้นหรือสิ่งรบกวนสมาธิ สภาพแวดล้อมที่มีสิ่งรบกวน เช่น เสียงดัง หรือการมีของเล่นมากเกินไปในพื้นที่เรียน ทำให้เด็กไม่สามารถจดจ่อได้
การรักษาโรคสมาธิสั้น
การ รักษาโรคสมาธิสั้น จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำและการดูแลจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นเกิดจากความผิดปกติจากสมอง อาจจะต้องรักษาด้วยยา การบำบัด หรือทานยาควบคู่กับการบำบัด
การรักษาด้วยยา ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อได้รับยารักษาที่ถูกชนิดและขนาดยาเหมาะสมกับอาการ และต้องรับคำแนะนำอย่างต่อเนื่อง เพราะอาจมีผลข้างเคียงจากยา
การบำบัด การรักษาโดยการบำบัดและปรับพฤติกรรม ควรทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สามารถควบคุมตนเองได้ และเรียนรู้ทักษะ
การรักษาด้วยยาและบำบัด เป็นกระบวนการที่ต้องปรับให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด การใช้ยาช่วยลดอาการ และ การบำบัดพฤติกรรมช่วยสร้างพื้นฐานในการพัฒนาทักษะ และการฝึกต้องอาศัยความสม่ำเสมอ
Brain and Life Center สถาบันฝึกพัฒนาทักษะสมอง อีกทางเลือกในการรักษา โรคสมาธิสั้น โดยไม่ต้องทานยา ให้บริการทดสอบทักษะทางสมองและพัฒนาการเด็ก ตรวจทักษะที่ขาดไปของ เด็ก ADHD พร้อมฝึกทักษะ พัฒนาศักยภาพสมอง แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ออกแบบโปรแกรมเฉพาะบุคคลให้เหมาะสมกับอาการ มีผู้เชี่ยวชาญดูแลอย่างใกล้ชิด แก้ปัญหาได้ถูกจุด ตอบโจทย์พ่อแม่ที่ไม่อยากให้ลูกทานยา
แบบทดสอบว่าลูกสมาธิสั้น หรือไม่
การใช้ แบบทดสอบสมาธิสั้น หรือ แบบประเมินโรคสมาธิสั้น เป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยคุณพ่อคุณแม่ประเมินพฤติกรรมของลูก และเข้าใจอาการของลูกได้เบื้องต้น หากสงสัยว่าลูกเป็น ADHD หรือไม่ ลองมาเช็ค 10 อาการเบื้องต้นกันดูค่ะ
ตัวอย่างแบบทดสอบ
แบบทดสอบสมาธิสั้น | ทำเครื่องหมายหากมีอาการ |
---|---|
1. ลูกอยู่ไม่นิ่ง จดจ่อไม่ได้ | ▭ |
2. ลูกเล่นแรง เล่นตลอดเวลา | ▭ |
3. ลูกชอบพูดขัดจังหวะผู้อื่น พูดแทรก | ▭ |
4. ลูกรอคอยไม่ได้ ไม่ทำตามคำสั่ง | ▭ |
5. ลูกอารมณ์เสียง่าย หงุดหงิด โวยวาย | ▭ |
6. ลูกไม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมที่ต้องอยู่เงียบ ๆ ได้ | ▭ |
7. ลูกไม่สามารถนั่งเรียนได้ มักจะเดินไปเดินมาทั่วห้อง | ▭ |
8. ลูกพูดเยอะ พูดเก่ง | ▭ |
9. ลูกนอนไม่หลับ | ▭ |
10. อาการเป็นต่อเนื่องติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน | ▭ |
หมายเหตุ แบบประเมินเหล่านี้ใช้เพื่อประเมินตัวเด็กเบื้องต้น ไม่ใช่การวินิจฉัยโรค
จากแบบทดสอบหากลูกมีอาการมากกว่า 6 ข้อขึ้นไป มีอาการเสี่ยงที่จะเป็น “โรคสมาธิสั้น” หรือ ADHD
สรุปโรคสมาธิสั้นแท้ สมาธิสั้นเทียม
เด็กที่มีอาการสมาธิสั้น (ADHD) มักแสดงพฤติกรรมขาดสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง และหุนหันพลันแล่นในทุกสถานการณ์ ซึ่งเป็นผลมาจากความผิดปกติของสมอง ในทางกลับกัน เด็กที่มีสมาธิสั้นเทียม มักแสดงพฤติกรรมคล้ายสมาธิสั้น แต่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น การเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อม หรือพฤติกรรมตามวัย อาการเหล่านี้สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยการปรับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อม
หากพ่อแม่สังเกตว่าลูกมีอาการที่ส่งผลกระทบต่อการเรียน การเข้าสังคม หรือชีวิตประจำวัน ควรพาลูกเข้ารับการวินิจฉัยโดยผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยาเด็กหรือจิตแพทย์เด็ก เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น หรือไม่ พร้อมรับคำแนะนำและการดูแลที่เหมาะสม
Brain and Life Center อีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยคุณพ่อคุณแม่ รักษาโรคสมาธิสั้น โดยไม่ใช้ยา และปรับพฤติกรรม ด้วยโปรแกรมพัฒนาทักษะสมองออกแบบมาเฉพาะบุคคลและอาการ ผ่านเกมกิจกรรมบำบัดที่ได้รับมาตรฐานจากอเมริกา เพื่อช่วยลูน้อยกปรับสมาธิและพฤติกรรมให้เหมาะสม