ทักษะด้านการมองเห็น

ทักษะด้านการมองเห็น

Visual Processing

ทักษะด้านการมองเห็น (Visual Processing) คืออะไร

เป็นความสามารถในการจดจำและจัดการกับข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ การวิเคราะห์ หรือการประมวลผลข้อมูลในรูปแบบภาพหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ สมองของคนเราสามารถรับรู้ข้อมูลที่เป็นรูปภาพได้ดีกว่าข้อมูลตัวอักษร เพราะสมองมีการประมวลผลข้อมูลที่เป็นรูปภาพ (Image Processing) ได้ดีกว่าข้อมูลชนิดอื่น ๆ ถึง 60,000 เท่า และข้อมูลกว่า 90% ที่เข้าสู่สมองคือข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือที่ได้จากการมองเห็น ดังนั้น ทักษะกระบวนการมองเห็นหรือ Visual Processing จึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้และจดจำข้อมูล

ความผิดปกติของการประมวลผลภาพในเด็ก (Visual processing disorders)

ความผิดปกติของการประมวลผลภาพเกิดขึ้นเมื่อสมองมีปัญหาในการรับรู้ภาพที่ได้รับ ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวแตกต่างจากความบกพร่องทางสายตา ในทีนี้ไม่ใช่การตาบอดหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของดวงตา เด็กอาจผ่านการทดสอบการมองเห็นและการทดสอบตาบอดสี แต่ก็ยังไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างวัตถุสองชิ้นหรือเข้าใจสัญลักษณ์ได้ ความยากลำบากด้านความผิดปกติของการประมวลผลสามารถแสดงให้เห็นได้หลายวิธี และเด็กแต่ละคนจะมีความผิดปกติที่แตกต่างกัน บางคนอาจมีปัญหาในการคำนวณระยะทาง ในขณะบางคนมีปัญหาในด้านการแยกสี ขนาด มีความสับสนเกี่ยวกับรูปร่างและสัญลักษณ์ มีปัญหาเกี่ยวกับทิศทาง การคำนวณระยะทาง ทำให้เด็กสับสนทิศและหลงทางบ่อยครั้ง และในบางคนอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการประสานงาน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ตัวอย่างเช่น เด็กอาจมุ่งเน้นไปที่ตัวอักษรแต่ละตัวที่ประกอบขึ้นเป็นคำหรือเลือกดูเฉพาะคำใดคำหนึ่ง เด็กอาจพบว่าตนเองอ่านประโยคเดียวกันซ้ำหลายครั้ง หรืออ่านวนอยู่หน้าเดิม อย่างไรก็ตามความผิดปกติในการอ่านนี้แตกต่างจาก dyslexia ความผิดปกตินี้ไม่จัดว่าเป็นความยากลำบากในการเรียนรู้ เด็กที่มีความผิดปกติของการประมวลผลภาพอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็น dyspraxia, dysgraphia, ADHD และ dyslexia แต่ความผิดปกติดังกล่าวสามารถเกิดร่วมกับ specific learning difficulties (SpLD) และอาจส่งผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง ความมั่นใจ การปฏิบัติตัวของเด็ก และอาจส่งผลต่อทักษะในด้านการใช้ชีวิต เช่น การจดจำเบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น

ความผิดปกติของการประมวลผลภาพ

ความผิดปกติของการประมวลผลภาพแต่ละประเภทมีลักษณะของอาการที่เฉพาะตัว บุคคลหนึ่งคนสามารถมีความผิดปกติของการประมวลผลภาพ ได้มากกว่าหนึ่งอย่าง ดังนี้

1. Visual Discrimination เป็นความสามารถในการตรวจจับความแตกต่างในภาพ การแยกแยะความเหมือน หรือความต่างของวัตถุตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปได้ โดยวิเคราะห์จากสี ขนาด รูปร่าง เป็นต้น  Visual Discrimination เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับการอ่าน การเขียนคณิตศาสตร์ และการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม  หากเด็กมีปัญหาเรื่องการรับรู้ความแตกต่างด้วยสายตา อาจนำไปสู่ความสับสนระหว่างตัวอักษรและคำ เช่น

คำที่ใช้ตัวอักษรเดียวกันแต่สลับตำแหน่ง คือ “was” และ “saw”

คำที่เขียนเหมือนกัน แต่สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ ตากลม อ่านว่า “ตา-  กลม” และ “ตาก-ลม”

และคำว่า รอบอก สามารถอ่านได้ 2 แบบ “รอ-บอก” และ “รอบ-อก”

2. Visual Figure-Ground เป็นความพยายามในการแยกรูปร่างของวัตถุออกจากพื้นหลัง ช่วยในทักษะด้านการอ่าน หากเด็กมีปัญหาในด้านนี้จะทำให้เด็กมีความยากลำบากในการอ่านหนังสือ ไม่สามารถ แยกภาพหรือคำได้

3. Visual Closure ความสามารถในการรู้ว่ารูปภาพ หรือวัตถุคืออะไรเมื่อส่วนหนึ่งของรูปภาพหรือวัตถุนั้นหายไป  นอกจากนี้ยังเป็นความสามารถในการรับรู้ความแตกต่างของคำที่คล้ายกันอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถอ่านได้อย่างคล่องแคล่ว เด็กที่มีความผิดปกติทางด้านนี้อาจทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของ หรือไม่สามารถแยกคำที่คล้ายกันได้

4. Visual Memory/Visualization ความสามารถในการจำข้อมูลภาพในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อให้สามารถจำลำดับของรูปร่างหรือวัตถุตามลำดับที่ถูกต้องได้ ทักษะเหล่านี้มีความสำคัญต่อการสะกดคำและการเขียน เด็กที่มีความผิดปกติทางด้านนี้จะมีการสะกดคำที่ไม่ดี การเรียกคืนข้อมูลที่ไม่ดี มีปัญหาด้านการจดบันทึกข้อมูลลงในกระดาษ และมีปัญหาทางด้านการจดจำลำดับของทิศทาง

5. Visual Motor Integration การทำงานประสานกันระหว่างตาและมือ

6. Auditory-Visual Integration ความสามารถในการเชื่อมโยงเสียงที่ได้ยินกับภาพที่เห็นได้อย่างแม่นยำ หรือรวมสิ่งที่เราได้ยินกับสิ่งที่เราเห็น ทักษะนี้เกี่ยวข้องกับการเข้าใจการออกเสียงการอ่านดนตรีและการอ่านคล่องแคล่ว ทักษะนี้เกี่ยวข้องกับการเข้าใจการออกเสียง การอ่านดนตรี และความคล่องแคล่วในการอ่าน

7. Visual sequencing เด็กจะไม่เข้าใจว่า B และ C จะตามหลัง A เสมอ หรือ 4 จะตามหลัง 3 เสมอ เมื่อเด็กอ่านหนังสือเด็กอาจจะอ่านข้ามไปข้ามมาเนื่องจากไม่เข้าใจแนวคิดลำดับ “ถัดไป” เช่นเดียวกับ “บรรทัดถัดไป ” บางครั้งเด็กที่มีปัญหาการเรียงลำดับภาพตัวอักษรหรือคำ

8. Visual-spatia เด็กมีปัญหาในการทำความเข้าใจว่ามีสิ่งใดบ้างที่อยู่ในอวกาศ สิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อความเข้าใจของเขาว่าสิ่งของเหล่านี้อยู่ใกล้หรือไกลกัน/ใกล้หรือไกลจากสิ่งอื่นมากแค่ไหน มีปัญหาเกี่ยวกับมิติภาพทำให้เด็กยากที่จะตัดสินว่าเวลาผ่านไปนานแค่ไหน และทำให้เขามีปัญหาในการอ่านแผนที่และตำแหน่งว่ามีความเชื่อมโยงกัน

การรักษา

ความผิดปกติของการประมวลผลภาพเป็นอาการที่ไม่มียาสำหรับรักษา แต่จะใช้การรักษาแบบ Optometric vision therapy, Behavioral vision therapy, Educational therapy และการเล่นเกมที่ใช้การฝึกสายตา การมองภาพไปพร้อมๆ กับการใช้กระบวนการคิด เช่น Puzzle และ Memory Matching เป็นต้น

Brain and Life Center ศูนย์พัฒนาสมองและศักยภาพ ช่วยพัฒนา Cognitive skills พัฒนาทักษะทางกระบวนการคิดต่างๆ เพื่อที่จะทำให้สามารถใช้ศักยภาพของสมองได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ

Brain and Life Center คืออะไร?

“Brain and Life Center” เป็นศูนย์พัฒนาสมองและศักยภาพแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจาก BrainRx ซึ่งเป็นศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพสมองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเราพัฒนาทักษะทางกระบวนการคิดต่างๆ เช่น ทักษะการเรียนรู้, การอ่าน, ความจำและการใช้สมาธิเพื่อที่จะทำให้สามารถใช้ศักยภาพของสมองได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะใช้ในการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตในประจำวัน ให้กับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ซึ่งทาง Brain and life center มีโปรแกรมที่เรียกว่า Brain training ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยพัฒนาทักษะทางกระบวนการคิด ทั้ง 7 ด้าน ดังนี้

1. ทักษะด้านความจำระยะยาว (Long-term Memory)

2. ทักษะด้านความจำในการทำงาน (Working Memory)

3. ทักษะด้านกระบวนการมองภาพ (Visual Processing)

4. ทักษะด้านตรรกะและเหตุผล (Logic & Reasoning)

5. ความเร็วในการประมวลผล (Processing Speed)

6. ทักษะด้านกระบวนการได้ยินเสียง (Auditory Processing)

7. ทักษะด้านภาษา (English Word Attack)

Brain Training โปรแกรม

โปรแกรมการฝึกสมองจาก BrainRx จะช่วยพัฒนาศักยภาพทางการคิดให้ผู้เรียนอย่างสูงสุด ด้วยโปรแกรมการฝึก 2 รูปแบบ คือ one on one training และ digital training

1. One-On-One Training

เป็นการเทรนตัวต่อตัวกับผู้เชี่ยวชาญ ผู้เรียนจะได้ทำกิจกรรมที่ต้องใช้การคิด และทักษะด้านต่างๆ เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมอง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะคล้ายกับการเล่นเกมส์มากกว่าการเรียน ทำให้ผู้เรียนมีความสนุกสนาน

2. Digital training

เป็นการเทรนด้วยโปรแกรมผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะทางการคิดเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะการเรียนรู้ของสมอง โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำตลอดการเทรน

ผู้เรียนจะต้องเทรนทั้ง 2 รูปแบบควบคู่กันไป เพื่อให้สมองของผู้เรียนมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลจากการเทรนทั้ง 2 รูปแบบนั้นจะทำให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  1. ผู้เรียนมีความจำที่ดีขึ้น
  2. ผู้เรียนมีทักษะการใช้สายตาดีขึ้น
  3. ผู้เรียนมีการคิดเชิงตรรกะและเหตุผลมากขึ้น
  4. ผู้เรียนมีการประเมินผลที่เร็วขึ้น
  5. ผู้เรียนมีการรับรู้ทางการได้ยินและมองเห็นดีขึ้น
  6. ผู้เรียนมีสมาธิและความสามารถในการจดจ่อมากขึ้น

This will close in 0 seconds