

โรคสมาธิสั้น หรือ ADHD คืออะไร
สมาธิสั้น หรือ Attention Deficit Hyperactive Disorder หรือที่เรียกย่อๆ ว่า ADHD คือ โรคทางสมองประเภทหนึ่งที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยสามารถพบได้ในหลายรูปแบบ อาการของเด็กสมาธิสั้นมักจะควบคุมพฤติกรรมตนเองไม่ค่อยได้ ไม่มีสมาธิ, อยู่ไม่นิ่ง, ซุกซน สาเหตุนั้นเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนที่ควบคุมทักษะนั้น ๆ มีปัญหา ซึ่งทำให้การประมวลผลข้อมูลผิดปกติ ส่งผลให้ไม่มีสมาธิ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หุนหันพลันแล่น เป็นต้น

สาเหตุของอาการสมาธิสั้น หรือ ADHD คืออะไร?

อาการของเด็กสมาธิสั้น และ อาการสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อย่างไรบ้าง?
โรคสมาธิสั้นพบได้ร้อยละ 6.8% ของประชากร โดยสามารถแบ่งตามลักษณะและกลุ่มอาการได้ ดังนี้
1. กลุ่มอาการที่สัมพันธ์กับการใช้สมาธิ(Inattention)
- มีปัญหาด้านการใช้สมาธิ:
เนื่องจากการพัฒนาของระบบประสาทไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ไม่สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างถูกต้อง และส่งผลต่อกลไกการทำงานของระบบประสาทที่จำเป็นต่อการควบคุมพฤติกรรม จึงอาจส่งผลให้มีอาการสมาธิสั้นได้
- พฤติกรรมที่ไม่ได้รับการปรับเปลี่ยน:
ไม่สามารถทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ได้หรือทำงานช้า มีปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ วอกแวกและถูกรบกวนได้ง่าย
- มักทำของหายหรือลืมของบ่อยๆ
- ไม่ค่อยฟังและทำตามคำสั่ง
2. กลุ่มอาการที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น (Impulsivity)
- ไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองได้
มักจะพูดหรือทำด้วยความหุนหันพลันแล่น ไม่ค่อยคิดก่อนที่จะทำสิ่งต่างๆ พฤติกรรมเหล่านี้เกิดจากการที่สมองไม่สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆได้ จึงทำให้มักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมา
- ประสิทธิภาพด้านการเรียนไม่ดีเท่าที่ควร
เนื่องจากพฤติกรรมต่างๆที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมตนเองและทำงานตามขั้นตอนได้ ส่งผลให้ไม่มีแรงจูงใจในการเรียนหรือการทำงาน
- มีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือคนรอบข้าง
เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักจะไม่ค่อยเอาใจใส่กับสิ่งต่างๆ ทำให้ไม่ค่อยเข้าใจอารมณ์หรือการแสดงออกทางสีหน้า เช่น การยิ้มหรือการขมวดคิ้ว จึงดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยสนใจเพื่อนหรือคนรอบข้างรวมถึงพฤติกรรมต่างๆที่ทำให้ผู้อื่นไม่อยากคุยด้วย
- มักไม่รู้แพ้รู้ชนะในการเล่นเกมส์หรือเล่นกีฬา
มักชอบที่จะเอาชนะและไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ เป็นเพราะสมองไม่สามารถวิเคราะห์และคาดการณ์สถานการณ์ต่างๆได้ดีเท่าที่ควร
- ขาดการวางแผนในการทำงาน
3. กลุ่มอาการที่สัมพันธ์กับการอยู่ไม่นิ่ง(Hyperactivity)
- ไม่มีความอดทนและไม่สามารถทำงานที่ต้องใช้สมาธิหรืออยู่นิ่งๆได้
เนื่องจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ไม่สามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและร่างกายไม่ดีเท่าที่ควร
- มีการเคลื่อนไหวหรือขยับร่างกายตลอดเวลา
- มักทำพฤติกรรมที่จงใจรบกวนผู้อื่น
4. กลุ่มอาการที่สัมพันธ์กับด้านอารมณ์
- อารมณ์แปรปรวนง่าย
- วิตกกังวลและไม่มีความมั่นใจในตนเอง
สมาธิสั้นในเด็กเป็นภาวะของการทำงานที่ผิดปกติ หากลูกของท่านมีภาวะสมาธิสั้น พวกเขาอาจเกิดความวิตกกังวลหรือเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้มากขึ้น
พัฒนาสมอง กับ Brain and Life Center
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสมอง, พัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน, เพิ่มสมาธิในการเรียนหรือการทำงาน, ประมวลผลและเรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น, มีพื้นฐานทักษะด้านภาษาและการออกเสียงที่ดี, เพิ่มความมั่นใจด้วยศักยภาพที่มากขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนของโรคสมาธิสั้น หรือ ADHD คือ
หากไม่ได้รับการรักษา โรคนี้อาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ (honestdocs, 2560: ออนไลน์ ) เช่น
- ล้มเหลวทางการศึกษา
- ไม่มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
- มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
- เกิดอุบัติเหตุ และได้รับบาดเจ็บบ่อยครั้ง
- ติดแอลกอฮอล์ หรือยาเสพติด
- ทำพฤติกรรมที่ผิดกฏหมาย
- มีปัญหาในการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน
เพื่อนน้อย หรือแทบไม่มีสังคม
โรคที่สามารถเกิดร่วมกับโรคสมาธิสั้นได้ เช่น
- ล้มเหลวทางการศึกษา
- โรควิตกกังวล
- ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้
- โรคซึมเศร้า
- โรคอารมณ์สองขั้ว หรือไบโพลาร์
- ต่อต้านสังคม
- ปัญหาทางการนอนหลับ
- ปัสสาวะรดที่นอน
เทคนิคและวิธีแก้สมาธิสั้นเบื้องต้น มีดังต่อไปนี้
เทคนิคที่ 1 คือ ลดสิ่งเร้าเพราะสิ่งเร้า เช่น ในสิ่งแวดล้อมที่เสียงดัง สีสันที่ฉูดฉาด เป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้สมาธิของลูกน้อยลง
เทคนิคที่ 2 เฝ้ากระตุ้นผู้ปกครอง และครูต้องร่วมกันอย่างใกล้ชิด คอยติดตามและตักเตือน เนื่องจากเด็กเล็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
เทคนิคที่ 3 หนุนจิตใจชื่นชมเด็กเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี หรือมีความสำเร็จเล็ก ๆ ควรเปิดโอกาสให้เด็กคิด ช่วยเด็กหาวิธีแก้ไขจุดอ่อน ไม่พูดคำว่า “อย่าทำ” “อย่าไป” “หยุดเดี๋ยวนี้” เพราะเมื่อได้รับแต่คำตำหนิติเตียน เด็กจะหมดความมั่นใจและไม่เคารพตัวเอง ไม่กล้าคิด และจะรอฟังคำสั่งและทำตามที่ถูกสั่งเท่านั้น
เทคนิคที่ 4 ให้รางวัลเด็กที่สมาธิบกพร่อง มักจะเบื่อ และขาดความอดทน แต่หากมีรางวัลตามมา เด็กจะรู้สึกท้าทาย และมีแรงจูงใจในการทางานมากขึ้น และควรเปลี่ยนรางวัลบ่อยๆ เพื่อให้เด็กได้สนุก และสนใจ
เทคนิคที่ 5 ระวังพูดจาไม่พูดมากหรือบ่น ไม่เหน็บแนม ประชดประชัน ไม่ติเตียนกล่าวโทษ บอกกับเด็กสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่าต้องการให้ทำอะไร หากเด็กไม่ทำตามคำสั่ง พ่อแม่ควรใช้วิธีเดินเข้าไปหา จับมือ แขน หรือบ่า สบตาเด็ก พูดสั้น ๆ จากนั้นให้เด็กพูดทวน หากเด็กไม่ทำก็พาไปทำด้วยกัน
เทคนิคที่ 6 หาสิ่งดี ผู้ปกครองและครู ควรเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า เด็กไม่ได้ตั้งใจทำตัวให้มีปัญหา แต่เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง ทำให้ควบคุมตัวลำบาก หยุดตัวเองได้ยาก และไม่มีใครอยากเป็นแบบนี้ คิดถึงความน่ารัก และความดีในตัวเด็กและตัวเราเอง
เทคนิคที่ 7 มีขอบเขตโดยมีตารางเวลาหรือรายการสิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้เด็กรับรู้ขีดจำกัด และช่วยควบคุมให้เด็กทำตามง่ายขึ้น ไม่ปล่อยปละละเลย หรือตามใจมากเกินไป เพื่อไม่ให้เด็กสับสนและผัดผ่อนต่อรองบ่อย ๆ อย่าปล่อยให้เด็กวางเงื่อนไขเรา เราต้องวางเงื่อนไขเด็ก (Suvetwethin Donnaya, 2561: ออนไลน์)
สมาธิสั้นในเด็กเป็นภาวะของการทำงานที่ผิดปกติ หากลูกของท่านมีภาวะสมาธิสั้น พวกเขาอาจเกิดความวิตกกังวลหรือเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้มากขึ้น
โปรแกรมพัฒนาสมองของ Brain and Life ช่วยรักษาสมาธิสั้นได้อย่างไร
โปรแกรมฝึกสมองจะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดอาการและพฤติกรรมต่างๆ โดยการฝึกจะช่วยพัฒนาสมองส่วน Prefrontal cortex ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมทักษะในการบริหารจัดการ (การใช้สมาธิ, การวางแผน, การควบคุมตนเอง, การจดจำและการลำดับความสำคัญ), ช่วยให้ผู้ที่มีอาการสมาธิสั้นได้เรียนรู้และปรับพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม จดจ่อและมีสมาธิมากขึ้น ทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นให้สมองได้ใช้งานอย่างสม่ำเสมอจะทำให้สมองเสื่อมถอยน้อยลง มีความจำที่ดี และลดโอกาสในการเป็นอัลไซเมอร์