โรคสมาธิสั้น หรือ ADHD คืออะไร
สมาธิสั้น หรือ Attention Deficit Hyperactive Disorder หรือที่เรียกย่อๆ ว่า ADHD คือ โรคทางสมองประเภทหนึ่งที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยสามารถพบได้ในหลายรูปแบบ อาการของเด็กสมาธิสั้นมักจะควบคุมพฤติกรรมตนเองไม่ค่อยได้ ไม่มีสมาธิ, อยู่ไม่นิ่ง, ซุกซน สาเหตุนั้นเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนที่ควบคุมทักษะนั้น ๆ มีปัญหา ซึ่งทำให้การประมวลผลข้อมูลผิดปกติ ส่งผลให้ไม่มีสมาธิ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หุนหันพลันแล่น เป็นต้น
เนื้อหา
สาเหตุสมาธิสั้น หรือ ADHD คืออะไร
อาการของเด็กสมาธิสั้น และ อาการสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
โรคที่สามารถเกิดร่วมกับโรคสมาธิสั้น
เทคนิคและวิธีแก้สมาธิสั้นพัฒนาสมอง
สาเหตุของอาการสมาธิสั้น หรือ ADHD คืออะไร?
1. พันธุกรรม
จากสถิติพบว่า สมาธิสั้นอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมถึงร้อยละ 75 เนื่องจาก ผู้ที่มีอาการสมาธิสั้นมักมีประวัติคนในครอบครัวมีอาการเช่นเดียวกัน
2. ปัจจัยทางสารเคมี
สารสื่อประสาทหลักที่เกี่ยวข้องกับโรคสมาธิสั้นคือ สารโดปามีน (dopamine) โดยเฉพาะบริเวณสมองส่วนหน้า (prefrontal cortex) ซึ่งควบคุมเกี่ยวกับสมาธิและการยับยั้งตัวเอง
3. ปัจจัยทางประสาทสรีรวิทยา
จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีอาการสมาธิสั้นมักมีคลื่นความถี่เธต้า (Theta activity) ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณสมองส่วนหน้า (Frontal area) และอาจพบ periodic spikes and sharp wave ร่วมด้วย
4. ปัจจัยทางประสาทกายวิภาคศาสตร์
พบการลดลงของขนาดและการทำงานของสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) เปลือกสมองส่วนหน้า (Anterior cingulate cortex) เซลล์ประสาทที่อยู่ใต้คอร์เท็กซ์ (Globus pallidus, caudate) สมองส่วนทาลามัส (thalamus) และสมองส่วนซีรีเบลลัม (Cerebellum)
5. ปัจจัยทางพัฒนาการ
ปัญหาช่วงตั้งครรภ์ในคุณแม่บางรายอาจทำให้เด็กมีอาการของโรคสมาธิสั้นได้ เช่น การคลอดก่อนกำหนด การติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง การประสบอุบัติเหตุทางศีรษะ เป็นต้น
6. ปัจจัยทางจิตสังคม
การถูกเลี้ยงดูอย่างไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดอาการสมาธิสั้นได้ เช่น การถูกทารุณกรรม การถูกทอดทิ้ง เป็นต้น
อาการของเด็กสมาธิสั้น และ อาการสมาธิสั้นในผู้ใหญ่
แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อย่างไรบ้าง?
โรคสมาธิสั้นพบได้ร้อยละ 6.8% ของประชากร โดยสามารถแบ่งตามลักษณะและกลุ่มอาการได้ ดังนี้
1. กลุ่มอาการที่สัมพันธ์กับการใช้สมาธิ(Inattention)
- มีปัญหาด้านการใช้สมาธิ:
เนื่องจากการพัฒนาของระบบประสาทไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ไม่สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างถูกต้อง และส่งผลต่อกลไกการทำงานของระบบประสาทที่จำเป็นต่อการควบคุมพฤติกรรม จึงอาจส่งผลให้มีอาการสมาธิสั้นได้
- พฤติกรรมที่ไม่ได้รับการปรับเปลี่ยน:
ไม่สามารถทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ได้หรือทำงานช้า มีปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ วอกแวกและถูกรบกวนได้ง่าย
- มักทำของหายหรือลืมของบ่อยๆ
- ไม่ค่อยฟังและทำตามคำสั่ง
2. กลุ่มอาการที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น (Impulsivity)
- ไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองได้
มักจะพูดหรือทำด้วยความหุนหันพลันแล่น ไม่ค่อยคิดก่อนที่จะทำสิ่งต่างๆ พฤติกรรมเหล่านี้เกิดจากการที่สมองไม่สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆได้ จึงทำให้มักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมา
- ประสิทธิภาพด้านการเรียนไม่ดีเท่าที่ควร
เนื่องจากพฤติกรรมต่างๆที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมตนเองและทำงานตามขั้นตอนได้ ส่งผลให้ไม่มีแรงจูงใจในการเรียนหรือการทำงาน
- มีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือคนรอบข้าง
เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักจะไม่ค่อยเอาใจใส่กับสิ่งต่างๆ ทำให้ไม่ค่อยเข้าใจอารมณ์หรือการแสดงออกทางสีหน้า เช่น การยิ้มหรือการขมวดคิ้ว จึงดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยสนใจเพื่อนหรือคนรอบข้างรวมถึงพฤติกรรมต่างๆที่ทำให้ผู้อื่นไม่อยากคุยด้วย
- มักไม่รู้แพ้รู้ชนะในการเล่นเกมส์หรือเล่นกีฬา
มักชอบที่จะเอาชนะและไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ เป็นเพราะสมองไม่สามารถวิเคราะห์และคาดการณ์สถานการณ์ต่างๆได้ดีเท่าที่ควร
- ขาดการวางแผนในการทำงาน
3. กลุ่มอาการที่สัมพันธ์กับการอยู่ไม่นิ่ง(Hyperactivity)
- ไม่มีความอดทนและไม่สามารถทำงานที่ต้องใช้สมาธิหรืออยู่นิ่งๆได้
เนื่องจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ไม่สามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและร่างกายไม่ดีเท่าที่ควร
- มีการเคลื่อนไหวหรือขยับร่างกายตลอดเวลา
- มักทำพฤติกรรมที่จงใจรบกวนผู้อื่น
4. กลุ่มอาการที่สัมพันธ์กับด้านอารมณ์
- อารมณ์แปรปรวนง่าย
- วิตกกังวลและไม่มีความมั่นใจในตนเอง
ภาวะแทรกซ้อนของโรคสมาธิสั้น หรือ ADHD คือ
หากไม่ได้รับการรักษา โรคนี้อาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ (honestdocs, 2560: ออนไลน์ ) เช่น
- ล้มเหลวทางการศึกษา
- ไม่มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
- มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
- เกิดอุบัติเหตุ และได้รับบาดเจ็บบ่อยครั้ง
- ติดแอลกอฮอล์ หรือยาเสพติด
- ทำพฤติกรรมที่ผิดกฏหมาย
- มีปัญหาในการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน
- เพื่อนน้อย หรือแทบไม่มีสังคม
โรคที่สามารถเกิดร่วมกับโรคสมาธิสั้นได้ เช่น
- ล้มเหลวทางการศึกษา
- โรควิตกกังวล
- ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้
- โรคซึมเศร้า
- โรคอารมณ์สองขั้ว หรือไบโพลาร์
- ต่อต้านสังคม
- ปัญหาทางการนอนหลับ
- ปัสสาวะรดที่นอน
เทคนิคและวิธีแก้สมาธิสั้นเบื้องต้น มีดังต่อไปนี้
เทคนิคที่ 1 คือ ลดสิ่งเร้าเพราะสิ่งเร้า เช่น ในสิ่งแวดล้อมที่เสียงดัง สีสันที่ฉูดฉาด เป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้สมาธิของลูกน้อยลง
เทคนิคที่ 2 เฝ้ากระตุ้นผู้ปกครอง และครูต้องร่วมกันอย่างใกล้ชิด คอยติดตามและตักเตือน เนื่องจากเด็กเล็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
เทคนิคที่ 3 หนุนจิตใจชื่นชมเด็กเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี หรือมีความสำเร็จเล็ก ๆ ควรเปิดโอกาสให้เด็กคิด ช่วยเด็กหาวิธีแก้ไขจุดอ่อน ไม่พูดคำว่า “อย่าทำ” “อย่าไป” “หยุดเดี๋ยวนี้” เพราะเมื่อได้รับแต่คำตำหนิติเตียน เด็กจะหมดความมั่นใจและไม่เคารพตัวเอง ไม่กล้าคิด และจะรอฟังคำสั่งและทำตามที่ถูกสั่งเท่านั้น
เทคนิคที่ 4 ให้รางวัลเด็กที่สมาธิบกพร่อง มักจะเบื่อ และขาดความอดทน แต่หากมีรางวัลตามมา เด็กจะรู้สึกท้าทาย และมีแรงจูงใจในการทางานมากขึ้น และควรเปลี่ยนรางวัลบ่อยๆ เพื่อให้เด็กได้สนุก และสนใจ
เทคนิคที่ 5 ระวังพูดจาไม่พูดมากหรือบ่น ไม่เหน็บแนม ประชดประชัน ไม่ติเตียนกล่าวโทษ บอกกับเด็กสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่าต้องการให้ทำอะไร หากเด็กไม่ทำตามคำสั่ง พ่อแม่ควรใช้วิธีเดินเข้าไปหา จับมือ แขน หรือบ่า สบตาเด็ก พูดสั้น ๆ จากนั้นให้เด็กพูดทวน หากเด็กไม่ทำก็พาไปทำด้วยกัน
เทคนิคที่ 6 หาสิ่งดี ผู้ปกครองและครู ควรเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า เด็กไม่ได้ตั้งใจทำตัวให้มีปัญหา แต่เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง ทำให้ควบคุมตัวลำบาก หยุดตัวเองได้ยาก และไม่มีใครอยากเป็นแบบนี้ คิดถึงความน่ารัก และความดีในตัวเด็กและตัวเราเอง
เทคนิคที่ 7 มีขอบเขตโดยมีตารางเวลาหรือรายการสิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้เด็กรับรู้ขีดจำกัด และช่วยควบคุมให้เด็กทำตามง่ายขึ้น ไม่ปล่อยปละละเลย หรือตามใจมากเกินไป เพื่อไม่ให้เด็กสับสนและผัดผ่อนต่อรองบ่อย ๆ อย่าปล่อยให้เด็กวางเงื่อนไขเรา เราต้องวางเงื่อนไขเด็ก (Suvetwethin Donnaya, 2561: ออนไลน์)
โปรแกรมพัฒนาสมองของ Brain and Life ช่วยรักษาสมาธิสั้นได้อย่างไร
โปรแกรมฝึกสมองจะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดอาการและพฤติกรรมต่างๆ โดยการฝึกจะช่วยพัฒนาสมองส่วน Prefrontal cortex ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมทักษะในการบริหารจัดการ (การใช้สมาธิ, การวางแผน, การควบคุมตนเอง, การจดจำและการลำดับความสำคัญ), ช่วยให้ผู้ที่มีอาการสมาธิสั้นได้เรียนรู้และปรับพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม จดจ่อและมีสมาธิมากขึ้น ทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นให้สมองได้ใช้งานอย่างสม่ำเสมอจะทำให้สมองเสื่อมถอยน้อยลง มีความจำที่ดี และลดโอกาสในการเป็นอัลไซเมอร์