สมาธิสั้นรักษาที่ไหนดี
สมาธิสั้น (ADHD) เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบทั้งด้านสมาธิ การควบคุมตนเอง และพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน โดยอาการสามารถสร้างความท้าทายทั้งกับผู้ที่มีภาวะนี้และคนรอบข้าง การรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงทีจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวและใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่
สำหรับการรักษา ADHD มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการและความเหมาะสมของแต่ละบุคคล โดยคำถามที่พบบ่อยคือ “สมาธิสั้นรักษาที่ไหนดี” “โรคสมาธิสั้นรักษาได้ที่ไหน” หรือ “ควรเลือกรักษาที่ โรงพยาบาลเด็กสมาธิสั้น หรือ ศูนย์พัฒนาเด็กสมาธิสั้น “ ซึ่งแต่ละทางเลือกมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน
เปรียบเทียบ รักษาโรคสมาธิสั้นที่ไหนดี?
- โรงพยาบาล : เหมาะสำหรับการวินิจฉัยและรักษาด้วยยา โดยเฉพาะในกรณีที่อาการส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างชัดเจน เช่น การเรียนหรือการทำงาน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยประเมินและปรับการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
- ศูนย์รักษาเด็กสมาธิสั้น : เน้นการบำบัดพฤติกรรม โปรแกรมพัฒนาเด็กสมาธิสั้น และพัฒนาทักษะสมอง เช่น การฝึกสมาธิและการจัดการอารมณ์ เป็นทางเลือกที่ รักษาสมาธิสั้นโดยไม่ใช้ยา ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลในระยะยาวและพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน
“Brain and Life” เป็น สถานที่รักษาโรคสมาธิสั้น ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ป่วย ADHD เนื่องจากมีการใช้เทคนิคการ ฝึกสมอง (Brain Training) ที่เน้นการพัฒนาและฟื้นฟูสมองเพื่อปรับปรุงสมาธิและพฤติกรรมโดยไม่พึ่งยา วิธีนี้ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับอาการได้อย่างยั่งยืนและเห็นผลในระยะยาว
ขั้นตอนการรักษา สมาธิสั้น โดยไม่ใช้ยา ที่ Brain and Life
แบบประเมิน สมาธิสั้น ADHD เบื้องต้น
การวินิจฉัยว่าเป็นสมาธิสั้น หรือ ADHD (Attention Deficit Hyperactivity Disorder) หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากเกณฑ์ที่กำหนดในคู่มือการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช (DSM-5) โดยทั่วไป ผู้ที่สงสัยว่าเป็น ADHD ต้องมีอาการดังนี้ ลองมาเช็คอาการเบื้องต้นกันดู
กลุ่มอาการไม่ตั้งใจ (Inattention) | กลุ่มอาการอยู่ไม่นิ่ง/หุนหันพลันแล่น (Hyperactivity/Impulsivity) |
---|---|
● ไม่ใส่ใจรายละเอียด ทำงานไม่รอบคอบ ● สนใจการเล่นหรือกิจกรรมในระยะเวลาสั้น ๆ ● ไม่มีสมาธิจดจ่อกับคู่สนทนา ไม่ฟังเวลาคนอื่นพูด ● ลืมทำการบ้านหรือไม่เสร็จเพราะล้มเหลวด้านความเข้าใจ ● ต่อต้าน ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ ● มีปัญหาในการจัดการกิจกรรมต่าง ๆ ● หลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความพยายาม ● ทำของใช้ที่จำเป็นหาย เช่น ดินสอ หนังสือ ● สิ่งเร้าทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน ● ลืมกิจวัตรประจำวัน | ● มือหรือเท้าอยู่ไม่สุข โดยเฉพาะเวลานั่งอยู่กับที่ ● ลุกจากที่นั่งในชั้นเรียนโดยไม่มีเหตุผล ● วิ่งหรือปีนป่ายมากเกินไป ● ไม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมที่ต้องอยู่เงียบ ๆ ได้ ● ดูลุกลี้ลุกลนเกินกว่าเหตุ ● เล่นแรง เล่นได้ไม่เหนื่อย ● พูดเก่ง พูดเร็ว พูดไม่หยุด ● ชอบพูดขัดจังหวะผู้อื่น ● ถามคำถามแล้วอยากรู้คำตอบทันที ไม่ชอบรอ ● รอคอยไม่ได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ● ฟังคำสั่งแล้วลืมหรือทำตามไม่ได้ ● ชอบพูดแทรกหรือขัดจังหวะผู้อื่น |
เกณฑ์วินิจฉัยอาการสมาธิสั้นเบื้องต้น
- สมาธิสั้น กลุ่มอาการไม่จดจ่อ/ไม่ตั้งใจ (Predominantly Inattentive Presentation)
- ต้องมีอาการอย่างน้อย 6 ข้อ (สำหรับเด็ก) หรืออย่างน้อย 5 ข้อ (สำหรับผู้ใหญ่) จากเช็คลิสต์ในหมวดกลุ่มอาการไม่ตั้งใจ
- อาการต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
- สมาธิสั้น กลุ่มอาการอยู่ไม่นิ่ง/หุนหันพลันแล่น (Predominantly Hyperactive-Impulsive Presentation)
- ต้องมีอาการอย่างน้อย 6 ข้อ (สำหรับเด็ก) หรืออย่างน้อย 5 ข้อ (สำหรับผู้ใหญ่) จากเช็คลิสต์ในหมวดกลุ่มอาการอยู่ไม่นิ่ง/หุนหันพลันแล่น
- อาการต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
- สมาธิสั้นแบบผสม (Combined Presentation)
- จะมีอาการทั้งหมวดกลุ่มอาการไม่ตั้งใจ และ กลุ่มอาการอยู่ไม่นิ่ง/หุนหันพลันแล่น อย่างน้อยหมวดละ 6 ข้อ (สำหรับเด็ก) หรืออย่างน้อย 5 ข้อ (สำหรับผู้ใหญ่)
- อาการต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
เงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับการวินิจฉัย
- อาการต้องแสดงออกใน 2 สภาพแวดล้อมขึ้นไป เช่น ที่บ้านและที่โรงเรียน หรือที่ทำงาน
- อาการต้องส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น การเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับผู้อื่น
- อาการต้องไม่เกิดจากโรคหรือภาวะอื่น เช่น ความเครียด โรคซึมเศร้า หรือปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ
หากเข้าข่ายในเกณฑ์ข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์ หมอสมาธิสั้นเฉพาะทาง หรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเพื่อประเมินเพิ่มเติมและวินิจฉัยอย่างถูกต้อง
อ่านเพิ่มเติม ลูกซน อยู่ไม่นิ่ง พาลูกไปตรวจสมาธิสั้นที่ไหนดี?
ผลสำรวจ เด็กไทยเป็น ADHD มากถึง 7%
เด็กไทยเป็น ADHD
พบมากช่วง 7 ขวบขึ้นไป ร้อยละ 5-7
ขณะที่ทั่วโลกอยู่ประมาณร้อยละ 3-5
ทั่วประเทศไทย ประมาณ
420,000 คน
จากผลสำรวจพบ เด็กผู้ชาย > เด็กหญิง 4-6 เท่า
ในเด็ก 40 คน มีเด็กเป็น “โรคสมาธิสั้น” อย่างน้อย 2-3 คน
ข้อมูลการรักษาเด็กที่มีภาวะ ADHD
โดยองค์การอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญกับปัญหานี้ เนื่องจากหากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เด็ก อาจส่งผลต่อการเรียนและพฤติกรรมในระยะยาว
Brain and Life แก้และรักษา “โรคสมาธิสั้น (ADHD)”
💡 ฝึกทักษะเพิ่มสมาธิ และการจดจ่อ
💡 พัฒนาสมองด้วยกิจกรรมบำบัดแก้ “สมาธิสั้น” ที่ต้นเหตุ