ลูกเป็น ld รักษาที่ไหน
โรค LD (Learning Disabilities) หรือโรคความบกพร่องด้านการเรียนรู้ เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และพัฒนาการทางการศึกษา โดยผู้ที่มีภาวะนี้อาจมีปัญหาในการอ่าน เขียน คำนวณ หรือการเรียนรู้ทักษะต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดความยากลำบากในชีวิตประจำวันและการศึกษาต่อเนื่อง การรักษาโรค LD มีหลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะและระดับความรุนแรงของอาการของแต่ละบุคคล และการตอบสนองต่อการบำบัดและการรักษา การได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อลดผลกระทบจากภาวะนี้ได้
เปรียบเทียบทางเลือก โรค ld รักษาที่ไหนดี
การรักษาโรค LD มีหลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะและระดับความรุนแรงของอาการ รวมถึงการตอบสนองต่อการบำบัดของผู้ป่วยแต่ละคน คำถามที่พบบ่อยคือ “โรค LD ควรรักษาที่โรงพยาบาลหรือศูนย์ฝึก?” “ลูกเป็น ld รักษาที่ไหน” “เด็กอ่านไม่ออกรักษาที่ไหน”
ทางเลือกในการรักษาโรค LD
การรักษาโรค LD มีหลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะและระดับความรุนแรงของอาการ รวมถึงการตอบสนองต่อการบำบัดของผู้ป่วยแต่ละคน คำถามที่พบบ่อยคือ “โรค LD ควรรักษาที่โรงพยาบาลหรือศูนย์ฝึก?” ซึ่งมีทางเลือกหลักๆ ดังนี้
- โรงพยาบาล:
โรงพยาบาลที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์สามารถช่วยวินิจฉัยและรักษาผู้ที่มีโรค LD โดยใช้วิธีการรักษาที่หลากหลาย อาจรวมถึงการใช้ยาหรือการรักษาทางการแพทย์เพื่อช่วยปรับสมดุลด้านต่างๆ การวินิจฉัยที่โรงพยาบาลจะช่วยให้เข้าใจถึงสาเหตุและให้การดูแลรักษาที่ตรงจุดที่สุด - ศูนย์ฝึกและบำบัดพฤติกรรม:
สำหรับผู้ที่ต้องการการพัฒนาและปรับทักษะการเรียนรู้ ศูนย์ฝึกหรือศูนย์บำบัดพฤติกรรมจะมุ่งเน้นการฝึกสมาธิ การจัดการอารมณ์ และการฝึกทักษะการเรียนรู้เฉพาะด้าน เช่น การฝึกอ่าน การเขียน หรือทักษะด้านการคิดและแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ยาและสามารถเห็นผลในระยะยาว
ที่ศูนย์ Brain and Life การรักษาโรค LD มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะเฉพาะด้านของเด็กด้วยวิธีการที่ไม่ต้องพึ่งยา โดยทีมผู้เชี่ยวชาญจะออกแบบโปรแกรมเฉพาะบุคคล เพื่อช่วยปรับปรุงและเสริมสร้างศักยภาพของเด็กในด้านที่บกพร่อง เช่น
- การบำบัดด้านสมอง (Cognitive Training) เพื่อพัฒนาความสามารถในการจดจำและประมวลผลข้อมูล
- การบำบัดพฤติกรรม (Behavioral Therapy) เพื่อปรับปรุงการทำงานร่วมกับผู้อื่นและการจัดการอารมณ์
- การเสริมทักษะด้านการเรียน เช่น การอ่าน การเขียน และการคำนวณ
ศูนย์ Brain and Life ยังให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ปกครอง ครู และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลที่ครอบคลุมและต่อเนื่อง ช่วยให้เด็กที่มีภาวะ LD สามารถพัฒนาทักษะต่าง ๆ และปรับตัวเข้าสู่การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว
หากคุณกำลังมองหาศูนย์รักษาโรค LD ที่เน้นวิธีการบำบัดแบบองค์รวม Brain and Life อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการดูแลลูกของคุณ
การเลือกรักษาโรค LD ขึ้นอยู่กับลักษณะของอาการและความเหมาะสมของแต่ละบุคคล การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและประเมินอาการอย่างละเอียดจะช่วยให้ได้วิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ได้ดีขึ้นในระยะยาว
ขั้นตอนการ รักษาเด็ก ld ที่ไหน โดยไม่ใช้ยา ที่ Brain and Life
แบบประเมินความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) เบื้องต้น
หากสงสัยว่าลูกของคุณมีปัญหาทางด้าน LD หรือไม่ ลองทำ แบบประเมินความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยคัดกรองและระบุปัญหาด้านการเรียนรู้ที่เด็กบางคนอาจเผชิญ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อการพัฒนาทางการศึกษาและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีนัยสำคัญ แบบประเมินนี้ครอบคลุม 4 ด้านหลัก ได้แก่
- ด้านการอ่าน – ประเมินความสามารถในการอ่านออกเสียง การทำความเข้าใจ และการประมวลผลคำศัพท์
- ด้านการเขียน – เน้นปัญหาด้านการสะกดคำ การเขียนเรียงลำดับ และการเขียนตัวอักษรหรือตัวเลขที่ถูกต้อง
- ด้านการคำนวณ – ตรวจสอบการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ การนับเลข และการจัดการตัวเลขในชีวิตประจำวัน
- ด้านพฤติกรรมทั่วไป – วัดความสามารถในการจัดการงานประจำวัน ความจดจ่อ และการควบคุมพฤติกรรม
ด้านการอ่าน | ด้านการเขียน |
---|---|
● อ่านช้า หรืออ่านข้ามคำ ● จำคำศัพท์ที่เคยเห็นแล้วไม่ได้ ● อ่านผิดที่หรืออ่านคำซ้ำ ● สับสนระหว่างตัวอักษรหรือคำที่คล้ายกัน เช่น “บก” กับ “กบ” ● สับสนระหว่างพยัญชนะที่คล้ายกัน เช่น ก ก ถ, ฦ ฏ ฏ, ด ต ฅ ค ● จำคำศัพท์ใหม่ได้ยาก ● มีปัญหากับการผสมคำและการออกเสียง ● สับสนระหว่างคำที่คล้ายกัน เช่น “บาน” กับ “บ้าน” ● อ่านคำที่ไม่คุ้นเคยไม่ได้ ● อ่านคำที่อยู่ในระดับชั้นการเรียนรู้ของตนเองไม่ได้ | ● ไม่ชอบหรือหลีกเลี่ยงการเขียน ● เขียนไม่เรียบร้อย ตัวอักษรสกปรก ขีดทิ้ง ลบทิ้ง ● เขียนตัวอักษรที่คล้ายกันผิด เช่น เขียนตัวอักษรสลับกัน ● ลอกคำจากกระดานผิด เช่น ลอกไม่ครบ หรือตกหล่น ● เขียนไม่เว้นวรรคหรือเว้นช่องไฟไม่เหมาะสม ทำให้ยากต่อการอ่าน ● เขียนตัวอักษรหรือคำผิดตำแหน่ง เช่น การสลับพยัญชนะและสระ ● เขียนตัวอักษรหรือตัวเลขกลับด้าน ● เขียนตัวอักษรหรือเลขที่คล้ายกันสลับกัน เช่น b-d ● เรียงลำดับตัวอักษรผิด เช่น “สถิติ” เขียนเป็น “สติถิ” |
ด้านการคำนวณ | ด้านพฤติกรรมทั่วไป |
---|---|
● ไม่สามารถนับเลขหรือเรียงลำดับได้ ● มีความยากลำบากในการบวก ลบ ตัวเลข ● มีความยากในการนับเพิ่มทีละ 2, 5, 10, หรือจำนวนใหญ่ๆ ● มีความยากลำบากในการประมาณค่า ● มีปัญหากับการเปรียบเทียบจำนวน เช่น มากกว่า น้อยกว่า ● แก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ง่ายๆ ไม่ได้ ● สับสนเรื่องเวลาและทิศทาง ● ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เช่น +, -, >, < ● เปรียบเทียบขนาด รูปทรง ระยะทาง หรือตำแหน่งไม่ได้ ● เขียนตัวเลขกลับ เช่น 5 เป็น s หรือ 6 เป็น 9 | ● ไม่ทำตามคำสั่ง หรือทำงานไม่เสร็จ ● ยากลำบากในการจัดระบบงาน ● ทำของหายบ่อย เช่น ของเล่น ดินสอ หนังสือ อุปกรณ์การเรียน ● ลืมกิจกรรมที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน ● สับสนระหว่างซ้ายและขวา ● วางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ ● เสียสมาธิง่าย มักมองไปที่สิ่งที่เคลื่อนไหว ● มีความเครียดขณะอ่านหรือทำงาน ● ขาดสมาธิในการทำงาน มักจะมองสิ่งอื่นๆ ● หลีกเลี่ยงหรือลังเลที่จะทำงานที่ต้องใช้ความระมัดระวัง |
เกณฑ์การพิจารณา
- ด้านการอ่าน: ถ้าตอบว่า “ใช่” 7 ข้อขึ้นไป แสดงว่ามีแนวโน้มที่จะมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน
- ด้านการเขียน: ถ้าตอบว่า “ใช่” 7 ข้อขึ้นไป แสดงว่ามีแนวโน้มที่จะมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการเขียน
- ด้านการคำนวณ: ถ้าตอบว่า “ใช่” 6 ข้อขึ้นไป แสดงว่ามีแนวโน้มที่จะมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการคำนวณ
- ด้านพฤติกรรมทั่วไป: หากตอบว่า “ใช่” 5 ข้อขึ้นไปและพบว่ามีอาการเข้าเกณฑ์ใน 3 ด้านแรก (การอ่าน การเขียน การคำนวณ) ด้านใดด้านหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งด้าน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติมทันที เพราะอาจมีความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับความบกพร่องทางการเรียนรู้แบบผสม แต่หากทั้ง 3 ด้านข้างต้นไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด แต่พบความผิดปกติในด้านพฤติกรรมทั่วไปเพียงด้านเดียว อาจมีความเกี่ยวข้องกับโรคสมาธิสั้น (ADHD) ซึ่งต้องมีการประเมินอย่างละเอียดต่อไป คลิก! เพื่อทำแบบประเมิน สมาธิสั้น ADHD เบื้องต้น
อ่านเพิ่มเติม โรคการเรียนรู้บกพร่อง หรือ โรค LD รักษา ที่ไหน?
ผลวิจัยทั่วโลกพบ เด็กประถม 5% เป็น LD
อาการรุนแรง 1-2%
ส่วนที่เหลือ 3% เป็นแบบอาการไม่รุนแรง
สามารถช่วยตัวเองได้ยู่ในช่วง
เด็กไทยเป็น LD
ในไทยพบถึง 6-7 % ขอของชั้นประถม
อยู่ในช่วงอายุ 7-12 ปี
จากสถิติที่สำรวจโดยกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทยมี
“เด็ก LD” มากถึง 3 แสนกว่าคน
ใน 2 หมื่นกว่าโรงเรียน และคาดการณ์ว่าจะมีเด็ก LD เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
Brain and Life แก้และรักษา “โรคสมาธิสั้น (ADHD)”
💡 ฝึกสมองโดยผู้เชี่ยวชาญ
💡 รูปแบบการเทรนเฉพาะ
💡 มาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา