การหายใจคืออะไร

การหายใจ (breathing) คืออะไร

เป็นกระบวนการซึ่งนำอากาศเข้าหรือออกจากปอด สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องใช้ออกซิเจน ก็เพราะต้องการนำออกซิเจนไป เพื่อปลดปล่อยพลังงานผ่านการหายใจระดับเซลล์ในรูปเมแทบอลิซึม โมเลกุลพลังงานสูง เช่น กลูโคส การหายใจเป็นเพียงกระบวนการเดียว ซึ่งส่งออกซิเจนไปยังที่ที่ต้องการในร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก อีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเลือดโดยระบบไหลเวียน การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นในถุงลมปอด โดยการแพร่ของแก๊ส ระหว่างแก๊สในถุงลมและเลือดในหลอดเลือดฝอยปอด เมื่อแก๊สที่ละลายนี้อยู่ในเลือด หัวใจจะปั๊มเลือดให้ไหลไปทั่วร่างกาย

หายใจทางจมูก-หรือ-ปาก

กลไกการหายใจ

อากาศเมื่อผ่านเข้าสู่รูจมูกแล้วก็จะเข้าสู่โพรงจมูก ที่โพรงจมูกจะมีขนเส้นเล็ก ๆ และต่อมน้ำมัน ที่ช่วยในการกรองและจับฝุ่นละอองไม่ให้ผ่านลงสู่ปอด นอกจากนี้ที่โพรงจมูกยังมีเยื่อบุจมูกหนา ที่ช่วยให้อากาศที่เข้ามามีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น และเนื่องจากเส้นเลือดจำนวนมากที่อยู่ใต้เยื่อบุผิวของโพรงจมูก ปรับอุณหภูมิของอากาศให้เท่ากับอุณหภูมิของร่างกายก่อนผ่านเข้าปอด

ผลของการมีออกซิเจนในร่างกายต่ำ

หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ หรือภาวะที่ทำหายใจไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การหายใจทางปากเป็นเวลานานจะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนต่ำเมื่อออกซิเจนในเลือดต่ำ ร่างกายจะพยายามปรับสมดุลในตัวเองเพื่อรักษาระดับออกซิเจนไม่ให้ตกโดยการหายใจเร็วขึ้น แรงขึ้น หัวใจก็จะพยายามสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมากขึ้น

หากยังไม่สามารถรักษาระดับออกซิเจนในเลือดไว้ได้ก็จะส่งผลให้เซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายเริ่มทำงานผิดปกติ นำไปสู่ภาวะการเกิดของเสียในเซลล์มากขึ้น จนในที่สุดเซลล์จะสูญเสียหน้าที่การทำงานไป นั่นหมายถึงระบบต่าง ๆ ในร่างกายล้มเหลวนั่นเอง รวมทั้งยังมีผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ได้แก่

1. ทางด้านอารมณ์

  • ในผู้ใหญ่ ส่งผลให้เครียดบ่อย หงุดหงิดง่าย ความจำลดลง ไม่สดชื่น ซึมเศร้า
  • ในเด็ก จะทำให้อยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้น ความจำไม่ดี มีพฤติกรรมก้าวร้าว หรือซุกซนมากกว่าปกติ

2. ทางสมอง

  1. โรคสมองเสื่อม การที่เลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอ คุณภาพการนอนหลับจึงไม่ได้ประสิทธิภาพที่ดี หลังตื่นนอนจึงมักรู้สึกเหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม สมองตื้อ ขี้หลงขี้ลืม และหากสะสมภาวการณ์นอนกรนนี้ไปนาน ๆ จะส่งผลให้สมองเสื่อมเร็วขึ้น เสี่ยงต่อการเกิด “โรคอัลไซเมอร์” ในอนาคต
  2. ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ระดับออกซิเจนน้อยกว่าปกติสมองจะมีการสั่งงานได้ไม่ดี เนื่องจากเซลล์สมองจะใช้ปริมาณออกซิเจนมากกว่า 20% ของออกซิเจนทั้งหมดในการทำงาน ดังนั้นเมื่อร่างกายมีออกซิเจนอยู่ในระดับน้อยกว่าปกติจะทำให้เซลล์สมองทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้มีความจำลดลง ขาดสมาธิในการเรียนและการทำงาน เรียนรู้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ไม่ดี และทำให้ให้ระบบภายในร่างกายทำงานผิดปกติภายใต้การสั่งงานของสมองที่ขาดประสิทธิภาพ

3. ทางสุขภาพทั่วไป

มีอาการอ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยล้า ภูมิต้านทานลดลง ติดเชื้อโรคได้ง่าย เนื่องจากออกซิเจนที่อยู่ในรูปของน้ำ เมื่อเข้าร่างกายจะดูดซึมเข้าสู่ตับ เซลล์ของตับจะได้รับออกซิเจนที่อยู่ในน้ำโดยที่เซลล์ตับจะดึงออกซิเจนมาใช้ในกระบวนการเปลี่ยนสารอาหารที่ดูดซึมเข้ามาให้เป็นพลังงานส่งให้กับร่างกาย แต่ถ้าร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เซลล์ตับไม่แข็งแรง ไม่สามารถสร้างพลังงานเพียงพอในการใช้งานของร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงตามมา และตับไม่สามารถขับสารพิษออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการตกค้างของสารพิษที่เป็นอัตรายต่อร่างกาย​

GibsonTest_CTAmotion-gif

This will close in 0 seconds