ลูกเรียนรู้ช้า อ่านหนังสือไม่ออก ซน ไม่อยู่นิ่ง สัญญาณ LD ร่วมกับ ADHD

หากลูกมีปัญหาในการ เรียนรู้ช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน อ่านหนังสือไม่ออกแม้จะพยายามหลายครั้ง และมีพฤติกรรมซน ไม่สามารถอยู่นิ่งได้เป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงโรค LD (Learning Disabilities) หรือความบกพร่องทางการเรียนรู้ และ ADHD (Attention Deficit Hyperactivity Disorder) หรือสมาธิสั้น ทั้งสองโรคนี้สามารถเกิดร่วมกันได้ ซึ่งส่งผลให้เด็กมีปัญหาทั้งด้านการเรียนรู้และการควบคุมพฤติกรรม หากคุณสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับคำแนะนำและการวินิจฉัยที่เหมาะสม

ความแตกต่างของเด็กสมาธิสั้น กับ เด็กแอลดี

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) และมีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วย ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้านในการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งในเรื่องการเรียน การเข้าสังคม และการจัดการอารมณ์ เนื่องจากการบกพร่องในทักษะทางสมองที่สำคัญ เช่น ความจำ การจดจ่อ และการประมวลผลข้อมูล ทำให้เด็กเหล่านี้มักมีปัญหาในการทำงานที่ต้องใช้ความคิดอย่างต่อเนื่องและการทำงานตามลำดับขั้นตอน ยิ่งไปกว่านั้น อาการสมาธิสั้นยังทำให้เด็กมีความยากลำบากในการควบคุมพฤติกรรม การอยู่ในกฎเกณฑ์ และการโต้ตอบกับผู้อื่น ทำให้การเรียนรู้และการเข้าสังคมกลายเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและท้าทายมากขึ้น หากไม่ได้รับการสนับสนุนและการดูแลที่เหมาะสม เด็กเหล่านี้อาจรู้สึกท้อแท้ ขาดความมั่นใจ และมีปัญหาในการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นทั้งสองมีความแตกต่างกันดังนี้

อาการเด็ก LD

โรคความบกพร่องทางการเรียนรู้

(LD – Learning Disabilities)

เด็กแอลดี เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนรู้ที่จำเพาะเจาะจง เช่น การอ่าน (Dyslexia), การเขียน (Dysgraphia), การคำนวณ (Dyscalculia) ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปัญหาในการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานบางอย่าง ถึงแม้ว่าจะมีการเรียนรู้หรือการรับสอนในลักษณะเดียวกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน โดยสาเหตุของ LD อาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการประมวลผลข้อมูลในสมองและพันธุกรรม

คลิก! อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคสมาธิสั้น

(ADHD – Attention Deficit Hyperactivity Disorder)

เด็กสมาธิสั้น เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสมาธิ มีลักษณะสำคัญ 3 อย่าง คือ ขาดสมาธิ (inattention), ซุกซนมากเกินไป (hyperactivity), และควบคุมตนเองไม่ได้ (impulsivity) เด็กที่เป็นสมาธิสั้นมักจะมีปัญหาในการนั่งนิ่งนาน ๆ ทำกิจกรรมตามลำดับ หรือมีสมาธิจดจ่อกับงานบางอย่าง สาเหตุเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง โดยเฉพาะบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการกระทำและการจดจ่อ

คลิก! อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

อาการเด็กสมาธิสั้น

โดย เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย ในหนังสือTaking Charge of ADHD: The Complete Authoritative Guide for Parents ดร.รัสเซลล์ บาร์คลีย์ นักจิตวิทยาประสาทและผู้เชี่ยวชาญด้านสมาธิสั้น กล่าวว่าเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีแนวโน้มที่จะมีความบกพร่องในการเรียนรู้มากกว่าเด็กที่ไม่ได้เป็นสมาธิสั้น

อาการของ เด็กแอลดี กับ เด็กสมาธิสั้น ต่างกันอย่างไร

เด็กสมาธิสั้น กับ เด็กแอลดี ต่างกันอย่างไร

แม้ว่า LD และสมาธิสั้นจะเป็นภาวะที่แตกต่างกัน แต่การที่ทั้งสองภาวะเกิดร่วมกันนั้นพบได้เป็นจำนวนมาก เด็กที่มี LD จะมีปัญหาในการเรียนรู้เฉพาะด้าน เช่น การอ่าน การเขียน หรือการคำนวณ ซึ่งเมื่อต้องเผชิญกับความยากลำบากเหล่านี้ อาจทำให้เกิดพฤติกรรมขาดสมาธิ หรือทำให้ดูเหมือนมีสมาธิสั้นขึ้นมาได้

ทำความเข้าใจ เด็กแอลดี ร่วมกับ สมาธิสั้น

เด็กที่มีภาวะทั้งสมาธิสั้นและ LD จะมีปัญหาในหลายด้านพร้อมกัน เช่น มีปัญหาในการจดจ่อและมีปัญหาการเรียนรู้เฉพาะทางในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทำให้การเรียนรู้ในห้องเรียนเป็นเรื่องยาก ความซับซ้อนของทั้งสองภาวะนี้ทำให้เด็กมักจะไม่สามารถทำกิจกรรมหรือการบ้านตามที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ เพราะขาดความสามารถในการจดจ่อและมีความยากลำบากในการเข้าใจหรือจดจำข้อมูล

อาการเด็กแอลดี ร่วมกับ สมาธิสั้น

อาการเด็กแอลดี ร่วมกับ สมาสั้น
  • ความยากในการเรียนรู้และจดจำ เด็กที่มีทั้งสมาธิสั้นและ LD จะมีปัญหาในการเรียนรู้เนื้อหาใหม่ ๆ รู้สึกสับสนและไม่สามารถจดจำข้อมูลที่เรียนได้ง่าย
  • ขาดการจัดการเวลา เด็กจะลำบากในการจัดการเวลาและงานที่ต้องทำ มักทำงานไม่เสร็จ หรือทำช้ากว่าที่ควร
  • หลงลืมบ่อย เด็กที่มีสมาธิสั้นร่วมกับ LD มักจะหลงลืมสิ่งต่าง ๆ ง่าย ๆ เช่น ลืมหนังสือเรียน ลืมทำการบ้าน หรือไม่รู้ว่ามีการบ้านต้องส่ง

เด็กเหล่านี้อาจมีการพัฒนาในด้านการเรียนรู้ช้ากว่าเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน ทำให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ ไม่มั่นใจในตนเอง หรือรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น และนอกจากนี้ การที่มีพฤติกรรมสมาธิสั้นทำให้เด็กไม่สามารถโฟกัสกับบทเรียนได้อย่างต่อเนื่อง พฤติกรรมที่ไม่สามารถนั่งนิ่งนาน ๆ ได้ก็อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนและครูในห้องเรียน

LD เทียม คืออะไร

หลายคนเข้าใจว่า เด็ก LD ที่มี ADHD (สมาธิสั้น) ร่วมด้วย เรียกว่า LD เทียม แต่จริง ๆ แล้วไม่ถือว่าเป็น LD เทียม เพราะเด็กที่มีทั้ง LD และ ADHD จะมีความบกพร่องในทักษะการเรียนรู้และการควบคุมสมาธิจริง ๆ ทั้งสองโรคมีลักษณะเฉพาะตัวและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในด้านต่าง ๆ แตกต่างกันไป

ส่วนLD เทียม คือ ภาวะที่เด็กแสดงอาการคล้ายกับโรค LD (Learning Disabilities) แต่ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องทางสมองหรือทักษะการเรียนรู้ที่แท้จริง อาการเหล่านี้มักเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น การขาดโอกาสในการเรียนรู้ที่เพียงพอ ปัญหาทางครอบครัว ความเครียด หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ ส่งผลให้เด็กมีความยากลำบากในการเรียน แต่เมื่อแก้ไขปัจจัยเหล่านั้น เด็กจะสามารถพัฒนาและเรียนรู้ได้ดีขึ้น

วิเคราะห์ปัญหาความผิดปกติทางสมอง ด้วย Gibson Test

แบบทดสอบสมอง

Gibson Test คือการทดสอบที่ช่วยวัดทักษะทางสมองที่สำคัญ ทั้ง 7 ด้าน 

  1. Processing Speed ทักษะด้านความเร็วในการประมวลผล 
  2. Working Memory ทักษะด้านความจำขณะทำงาน 
  3. Long-Term Memory ทักษะด้านความจำระยะยาว 
  4. Visual Processing ทักษะด้านการรับรู้ทางภาพ 
  5. Logic and Reasoning ทักษะด้านตรรกะและเหตุผล 
  6. Auditory Processing ทักษะด้านการรับรู้ทางเสียง 
  7.  Word Attack ทักษะด้านการแแยกแยะคำ ผสมเสียง 

เด็ก LD ที่มีสมาธิสั้นร่วมด้วยมักจะมีผลทดสอบที่แสดงถึงปัญหาทุกทักษะ โดยเฉพาะ Working Memory, Processing Speed, และ Auditory Processing ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเรียนรู้

ทักษะสมองไม่ดีส่งผลต่อเด็กอย่างไร

Gibson Test เป็นการทดสอบที่บอกถึงทักษะทางสมองแบบเฉพาะบุคคล โดยสำหรับเด็ก LD ที่มีสมาธิสั้นร่วมด้วย มักจะมีปัญหาในทุกทักษะของสมอง และจะแสดงออกมาในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้:

  1. Processing Speed (ทักษะด้านความเร็วในการประมวลผล) เด็กจะประมวลผลข้อมูลได้ช้ากว่าเพื่อน อาจใช้เวลานานในการทำกิจกรรมง่าย ๆ หรือไม่สามารถตอบสนองต่อคำถามหรือทำงานช้า ทำการบ้านไม่เสร็จ เป็นต้น
  2. Working Memory (ทักษะด้านความจำขณะทำงาน) เด็กจะลืมข้อมูลที่เพิ่งได้รับ เช่น คำแนะนำที่เพิ่งบอก หรือไม่สามารถจดจำขั้นตอนในการทำงานได้ ทำให้ทำงานผิดพลาดบ่อย
  3. Long-Term Memory (ทักษะด้านความจำระยะยาว) เด็กจะมีปัญหาในการจดจำสิ่งที่เรียนรู้ในระยะยาว เช่น ลืมเนื้อหาที่เคยเรียนมานานแล้ว หรือจำไม่ได้ว่าทำกิจกรรมอะไรในวันก่อน
  4. Visual Processing (ทักษะด้านการรับรู้ทางภาพ) เด็กอาจมีปัญหาในการแยกแยะตัวอักษรหรือรูปทรงที่คล้ายกัน เช่น สลับตัวอักษรขณะอ่านหรือเขียน หรือลำบากในการตีความภาพกราฟิก
  5. Logic and Reasoning (ทักษะด้านตรรกะและเหตุผล) เด็กจะมีปัญหาในการแก้ปัญหาที่ต้องใช้การคิดเชิงตรรกะ เช่น การวิเคราะห์โจทย์เลขหรือการวางแผนในการทำงาน
  6. Auditory Processing (ทักษะด้านการรับรู้ทางเสียง) เด็กอาจฟังแล้วไม่เข้าใจสิ่งที่ได้ยินทันที หรือลำบากในการแยกแยะเสียงที่คล้ายกัน ทำให้การเรียนรู้ผ่านการฟังเป็นเรื่องยาก
  7. Word Attack (ทักษะด้านการแยกแยะคำ ผสมเสียง) เด็กจะลำบากในการผสมเสียงคำหรือแยกแยะคำ ทำให้การอ่านหรือสะกดคำเป็นเรื่องยากลำบากและมักมีข้อผิดพลาดบ่อย

“ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงหลังได้รับการฝึกสมอง”

pre
Pre
post
Post

หลังจากการฝึกสมองด้วย BrainRX จะเห็นการเปลี่ยนแปลงในทักษะการอ่านและเขียนที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

  • เพิ่มความสามารถในการจดจ่อ: ผู้ฝึกสามารถมีสมาธิและจดจ่อกับงานหรือบทเรียนได้นานขึ้น ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้น
  • การประมวลผลข้อมูลรวดเร็วขึ้น: การตอบสนองต่อสถานการณ์หรือข้อมูลใหม่ ๆ มีความรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น
  • การจำที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น: ไม่ว่าจะเป็นความจำระยะสั้นหรือระยะยาว ผู้ฝึกจะสามารถจำข้อมูลและนำมาใช้ได้อย่างแม่นยำ
  • การอ่านและการเขียนดีขึ้น: เด็กที่มีปัญหาด้านการอ่านหรือเขียนจะเห็นพัฒนาการในการแยกแยะคำและสะกดคำได้ดีขึ้น
  • ทักษะการฟังและแยกแยะเสียงดีขึ้น: ผู้ฝึกสามารถเข้าใจและแยกแยะเสียงที่ฟังได้ดีขึ้น เช่น การฟังคำสั่งหรือการสนทนา
  • การแก้ปัญหาอย่างมีตรรกะ: ผู้ฝึกสามารถคิดวิเคราะห์และใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ความมั่นใจในตนเองเพิ่มขึ้น: การที่สามารถทำงานหรือแก้ปัญหาได้ดีขึ้น ทำให้ผู้ฝึกมีความมั่นใจในความสามารถของตนเองมากขึ้น

ฝึกสมองโดยผู้เชี่ยวชาญและรูปแบบการเทรนเฉพาะของ Brain and Life

Learning

One-on-One Learning

การเรียนรู้แบบหนึ่งต่อหนึ่ง การฝึกสมองแบบตัวต่อตัวกับนักจิตวิทยา ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ จะคล้ายกับการเล่นเกม

Learning

Digital Training

ฝึกในระบบออนไลน์ด้วยตนเอง การฝึกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะทางการคิดด้านต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มสมรรถนะการเรียนรู้ของสมอง

ข้อดีของการฝึกสมองที่ Brain and Life

  • เทคนิคการฝึกสมองระดับสากล การฝึกและผลลัพธ์มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับจากอเมริกา ซึ่งทำให้มั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะสมอง
  • ฝึกด้วยกิจกรรม ไม่ใช้ยา ปลอดภัยสำหรับเด็กทุกวัย โดยไม่มีการใช้ยา เน้นการพัฒนาผ่านกิจกรรมที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
  • โปรแกรมออกแบบเฉพาะบุคคล ตามทักษะสมองที่แต่ละคนต้องการพัฒนา ได้รับการติดตามผลและคำแนะนำอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญ
  • ทดสอบทักษะสมองด้วย Gibson Test ทดสอบทักษะสมอง Cognitive Skill ทั้ง 7 ด้านทั้งก่อนและหลังการฝึก เพื่อประเมินและติดตามความก้าวหน้าอย่างชัดเจน
  • พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ช่วยให้การเรียนรู้เร็วขึ้น มีความจำที่ดีขึ้น และเข้าใจเนื้อหาในเชิงลึกมากขึ้น ทำให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปรับปรุงคุณภาพชีวิต สมองที่แข็งแรงจะส่งผลดีต่อการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตส่วนตัว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในทุกด้านของชีวิต
ข้อดี (Benefits)

โปรแกรม BrainRX ใช้เทคนิคการฝึกสมองที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และการทำงานของสมอง พัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการอ่าน การเขียน และการคำนวณ เช่น การรับรู้เสียง การจำแนกตัวอักษร และการประมวลผลข้อมูล ซึ่งเป็นทักษะที่มักมีปัญหาในผู้ที่มี LD

ขั้นตอนการเข้ารับบริการที่ Brain and Life

ลงทะเบียนและทำการทดสอบเบื้องต้น

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อรับการประเมินทักษะสมองด้วย Gibson Test โดยการทดสอบนี้จะช่วยให้คุณทราบถึงจุดที่ต้องการพัฒนาและจัดทำโปรแกรมที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล

ออกแบบโปรแกรมฝึกสมองเฉพาะบุคคล

หลังจากได้รับผลการทดสอบ ทีมผู้เชี่ยวชาญจะทำการออกแบบโปรแกรมฝึกสมองที่เหมาะสมกับทักษะที่ต้องการพัฒนา พร้อมทั้งวางแผนการฝึกและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

เริ่มโปรแกรมฝึกสมอง

เริ่มการฝึกสมองตามโปรแกรมที่ออกแบบไว้ ทั้งรูปแบบ One-on-One Learning และ Digital Training โดยผู้เรียนจะได้รับการดูแลและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญตลอดโปรแกรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มที่

Testimonials

Testimonials

คำถามที่พบบ่อย

This will close in 0 seconds