ความทรงจำ
ความทรงจำ (Memory) เกิดขึ้นได้ด้วยกระบวนการทางสมองที่ซับซ้อน ซึ่งรวมถึงการรับรู้ข้อมูล, การจัดเก็บข้อมูล, และการคืนข้อมูลมาใช้ในภายหลัง ความทรงจำถือเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในการดำเนินชีวิต ถ้าหากไม่มีกลไกที่ทำให้เราจำสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เราก็จะไม่สามารถเรียนรู้อะไรได้เลย
ทักษะด้านความจำนั้นถูกควบคุมโดยสมองหลายส่วน ซึ่งแต่ละส่วนก็ทำหน้าที่จัดการกับความจำแต่ละประเภทแตกต่างกันไป ความจำมี 2 ประเภทหลักๆคือ ความจำระยะสั้น (Short-Term Memory) และความจำระยะยาว (Long-Term Memory) โดยเรามีโอกาสที่จะสูญเสียความจำได้ทั้งสองชนิด แต่เราจะมุ่งประเด็นไปที่การสูญเสียความจำระยะยาว
ทักษะความจำระยะสั้น
Short-Term Memory
ความจำระยะสั้น (Short-Term Memory) คืออะไร
ความจำระยะสั้น (Short-Term Memory หรือ STM) คือ หน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำกัด ภายในระยะเวลาสั้นๆ ความจำชนิดนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่ายและสามารถถูกลืมได้ภายในไม่กี่วินาที เราใช้ความจำระยะสั้นในการจำชั่วคราว เพื่อใช้ในการทำงาน เช่น การพยายามจดจำหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อได้ฟังหรือเห็นหมายเลข ข้อมูลนั้นก็จะเข้าไปในอยู่ความจำระยะสั้นของเราเพื่อจะจดลงไป ในชั่วเวลาเพียงไม่กี่วินาทีเราอาจจำไม่ได้อีกเลยว่าหมายเลขที่เพิ่งจดไปนั้นคืออะไร หากต้องการจะจดใหม่ เราอาจต้องทวนหมายเลขอีกครั้ง ปัจจัยที่ทำให้เราสามารถจดจําได้นานขึ้นนั้นคือ การจดบันทึก (Recording) และการทบทวน (Rehearsal)
เราสามารถพัฒนาทักษะ Short-Term Memory (ความจำระยะสั้น) ได้อย่างไร?
เราสามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านนี้ให้ดีได้ด้วยโปรแกรมฝึกสมอง ซึ่ง Brain and Life Center สามารถช่วยให้คุณเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และทักษะที่ดีขึ้นในทุกๆด้าน
ทักษะความจำระยะยาว
Long-Term Memory
ความจำระยะยาว ( Long-Term Memory ) คืออะไร
ความจำระยะยาว (Long-Term Memory) เป็นหน่วยความจำที่เปรียบเสมือนคลังข้อมูล สามารถเก็บข้อมูลได้ไม่จำกัด เป็นระยะเวลานาน ความจำชนิดนี้สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกคือ ความจำที่สามารถเรียกคืนกลับโดยอัตโนมัติ (Non-Declarative / Implicit Memory) ซึ่งได้มาจากการฝึกทำซ้ำๆ เช่น การปั่นจักรยาน, การขับรถ เป็นต้น ความจำอีกชนิดคือ ความจำที่เรียกคืนโดยใช้ความคิดระดับสูง (Declarative / Explicit Memory) ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และความเข้าใจของบุคคลนั้นๆ เช่น การจดจำชื่อคนในครอบครัว, การหาของที่หาย, ความรู้รอบตัว, การจดจำอดีตหรือสิ่งที่เคยทำ ได้เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี เป็นต้น การที่เราจะสามารถจำข้อมูลต่างๆได้นั้นเราต้องเลือกสนใจ ใช้การจดจ่อกับข้อมูลนั้นก่อนและต้องมีการนึกหรือทำซ้ำๆ ข้อมูลนี้จึงจะเก็บอยู่ในความจำระยะยาว
หากทักษะด้านความจำระยะยาว (Long-Term Memory) อ่อนหรือบกพร่อง จะทำให้
- นึกข้อมูลหรือคำศัพท์ไม่ค่อยออก
- ต้องอาศัยการทำซ้ำหรือพูดซ้ำๆจึงจะจำได้
- มักจะนึกคำศัพท์ที่เฉพาะไม่ค่อยออก ต้องใช้การอธิบาย มักมีอาการ คำพูดติดอยู่ที่ปลายลิ้น
เราสามารถพัฒนาทักษะ Long-Term Memory (ความจำระยะยาว) ได้อย่างไร?
เราสามารถพัฒนาทักษะด้านความจำระยะยาว (Long-Term Memory) ได้ด้วยโปรแกรมฝึกสมอง ซึ่ง Brain and Life Center มีโปรแกรมสำหรับการฝึกสมองที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะการเรียนรู้ของสมองอย่างครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน
การฝึกสมองสามารถช่วยปรับปรุงความจำได้
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยป้องกันและชะลอการดำเนินของโรคคือ การนอนหลับและพักผ่อนเพียงพอ, อาหารการกิน, การออกกำลังกาย, ชีวิตทางสังคมที่ดีและการออกกำลังสมองด้วยการฝึกทักษะต่างๆ สมองก็เปรียบเสมือนกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆในร่างกายที่ยิ่งออกกำลังกายมาก ก็จะยิ่งแข็งแรง อย่างไรก็ตามหากปัจจัยดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้สมองฝ่อและถูกทำลายไปในที่สุด ดังนั้นการฝึกสมองจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสมองของเราอย่างมาก โปรแกรมของ Brain and Life Center มีกิจกรรมและเกมส์ที่เสริมสร้างศักยภาพทุกด้านของสมอง ไม่ใช่แค่เพียงช่วยเพิ่มความแข็งแรงและเสริมสร้างทักษะเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มสมรรถนะทางปัญญาอีกด้วย
การสูญเสียความทรงจำคืออะไร และอาการที่บ่งบอกมีอะไรบ้าง ?
ถ้าหากคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้ เช่น ลืมชื่อคนหรือลืมว่าวันนี้ทำอะไรไปบ้าง นั่นยังไม่ใช่อาการของการสูญเสียความทรงจำ แต่เป็นการที่สมองไม่สามารถหาทางที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่ความจำนั้นๆได้ อาการของคนขี้ลืมมักจะเรียกว่า ภาวะหลงลืมหรือสมองเสื่อม (Amnesia) ส่วนอาการของการสูญเสียความทรงจำสามารถเป็นได้ดังนี้
- มักลืมของที่เป็นของส่วนตัว
- มีปัญหาในการนึกคำศัพท์หรือคำเฉพาะ
- มักถามคำถามซ้ำๆ หรือเล่าเรื่องเดิมๆหลายครั้ง
- มักลืมว่าได้ทำอะไรไปแล้ว เช่น ทานยาหรือทานข้าว เป็นต้น
- หลงลืมบ่อยหรือมักหลงทางแม้ในสถานที่ที่เคยไป
- ลืมวันและเวลา
- มักจำนัดหรือเหตุการณ์สำคัญต่างๆไม่ค่อยได้
- มีปัญหาในการทำตามคำสั่งหรือการตัดสินใจ
ประเภทของการสูญเสียความทรงจำ: แบบชั่วคราวและถาวร
(Temporary and Permanent Memory Loss)
การสูญเสียความทรงจำสามารถเป็นได้ทั้งแบบชั่วคราวและถาวร
การสูญเสียความทรงจำชั่วคราว (Temporary Memory Loss) เป็นการลืมข้อมูลเพียงแค่ชั่วคราว สามารถกลับไปเป็นปกติได้ ตัวอย่างเช่น ดูรายการทีวีตอนกลางวันและจำชื่อพิธีกรไม่ได้ แต่มานึกออกในตอนกลางคืน
การสูญเสียความทรงจำถาวร (Permanent Memory Loss) คือการสูญเสียความทรงจำโดยไม่สามารถรื้อฟื้นข้อมูลได้ เช่น จำไม่ได้ว่าวางกุญแจบ้านไว้ที่ไหน แม้ว่าจะมีคนบอกแล้วก็ตาม
สาเหตุของการสูญเสียความทรงจำ
การสูญเสียความทรงจำ สามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการสูญเสียความทรงจำนั้นมีหลายด้าน ได้แก่
ปัญหาสุขภาพ
การสูญเสียความทรงจำที่เกิดจากปัจจัยนี้ ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ สาเหตุมักเกิดจากปัญหาด้านสุขภาพ เช่น การขาดวิตามิน B6, B9, และ B12 ซึ่งจำเป็นต่อสมอง, ติดแอลกอฮอล์, มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ไตและตับ, ผู้ที่มี Oxygen ไปเลี้ยงสมองน้อยเช่น โรควูบ (Stroke) หรือมีอาการบาดเจ็บทางสมอง, ผู้ที่ได้รับเคมีหรือรังสีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง, ผู้ที่มีเนื้องอกหรือมีการติดเชื้อในสมอง นอกจากนี้ ปัญหาทางด้านอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้าและวิตกกังวล (มักพบได้ในภาวะ Post Traumatic Stress Disorder) ก็เป็นอีกปัจจัยที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของการสูญเสียความทรงจำแบบชั่วคราว
ปัญหาด้านอารมณ์
ความเครียด, วิตกกังวล, อารมณ์รุนแรง โมโห เกรี้ยวกราด ก็สามารถที่จะทำให้เกิดการสูญเสียความทรงจำได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มักจะเกิดอาการเหงาหรือรู้สึกว่าไม่ได้รับความรักอาจนำไปสู่ภาวะโรคซึมเศร้า โดยผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะมีความจำลดลง ทำให้สับสนกับโรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อม ซึ่งจริงๆแล้วสามารถแยกแยะได้โดยผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะไม่มีอาการทางร่างกายใดๆ เพียงแต่ต้องได้รับการรักษาด้านอารมณ์หรือความรู้สึกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ด้านอายุ
การสูญเสียความทรงจำไม่เพียงเกิดขึ้นในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่สามารถเกิดได้ในวัยอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน เมื่อเวลาผ่านไป ความสามารถในการเรียนรู้และประสิทธิภาพของสมองและความทรงจำย่อมมีการเสื่อมถอย ซึ่งอาจไม่มีอาการใดๆที่บ่งบอกถึงความผิดปกติ อย่างไรก็ตาม เมื่อปัญหาเหล่านี้เริ่มเด่นชัดขึ้น อาจทำให้เกิดความผิดปกติเล็กน้อยของความสามารถของสมอง โดยเฉพาะด้านความจำ (Mild Cognitive Impairment: MCI) หรือในกรณีที่รุนแรงอาจทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ (Dementia)
- ความผิดปกติเล็กน้อยของทักษะการคิด (Mild Cognitive Impairment: MCI) ผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านความจำแต่ไม่ถึงกับส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวัน จากงานวิจัยพบว่า MCI อาจเป็นอาการแรกเริ่มซึ่งจะนำไปสู่โรคสมองเสื่อมอย่างเช่นอัลไซเมอร์ แต่ไม่ใช่ผู้ป่วย MCI ทุกรายที่จะกลายเป็นโรคอัลไซเมอร์
- ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่พบในผู้สูงอายุ มักมีอาการความจำเสื่อม, มีปัญหาในการสื่อสาร, และปัญหาด้านพฤติกรรม โรคสมองเสื่อมนั้นมีหลายประเภทแต่ที่เด่นชัดและพบมากที่สุดคือโรคอัลไซเมอร์
โปรแกรมฝึกอบรมสมอง BrainRx ผสมผสานระหว่างการฝึกสมองแบบตัวต่อตัว (การฝึกระหว่างเทรนเนอร์กับนักเรียน) และการฝึกสมองแบบดิจิตอล (การฝึกบนคอมพิวเตอร์) ฝึกทักษะลักของสมองที่ใช้ในการคิด การเรียนรู้ การอ่าน การมีเหตุมีผล ความจำ สมาธิและการจดจ่อทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของกระบวนการคิดที่พัฒนาดีขึ้นอย่างเห็นได้
เมื่อสมองยิ่งดี…ชีวิตก็ยิ่งง่ายขึ้น