ฝึกสมอง! กุญแจสู่การพัฒนาสมอง สมองดี ชีวิตดี
สมองดี เปรียบเสมือนรากฐานสำคัญที่ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า ซึ่งหากเรามีกระบวนการทำงานสมองที่ดีจะทำให้มีการประมวลผลผ่านการรับข้อมูลและตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งหากทักษะด้านในด้านหนึ่งทำงานบกพร่อง สมองจะทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ส่งผลต่อพฤติกรรม การอ่านเขียน การคิดวิเคราะห์ ความจำ และการเข้าสังคม เป็นต้น
กระบวนการทำงานของสมอง
1. รับข้อมูลทางสัมผัส
สมองรับข้อมูลจากภายนอกและสภาพแวดล้อมภายในร่างกายผ่านอวัยวะทางสัมผัส เช่น ข้อมูลทางสายตาจากตา ข้อมูลเสียงจากหู และระบบสัมผัสจากผิวหนัง
2. การประมวลผล
สมองประมวลข้อมูลทางสัมผัสโดยวิเคราะห์และตีความข้อมูล นิยามรูปแบบ สร้างความสัมพันธ์ และแยกข้อมูลโดยประเมินผ่านระบบสัมผัสต่างๆ
3. การรวมข้อมูล
สมองรวมข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว โดยประเมินจากความรู้และความจำที่เก็บไว้เพื่อให้การมองเห็นรวมและเป็นระบบ สมองรวมข้อมูลทางสายตากับประสบการณ์และความรู้ที่มีเพื่อสร้างสัมผัสที่มีความสอดคล้องเกี่ยวโยงกัน
4. การตัดสินใจ
จากการรวบรวมข้อมูลแล้ว สมองตัดสินใจและสร้างความคิด อารมณ์ และความตั้งใจ กระบวนการทางสมองเหล่านี้รวมถึงการคำนวณทางเอกสารชาววิชา
5. ผลลัพธ์การทำงาน
สมองส่งสัญญาณไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อสร้างการกระทำ เป็นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ การพูด และการกระทำอื่น ๆ
6. วงจรความรู้สึกและการตอบสนอง
สมองรับข้อมูลคำตอบจากร่างกายและสภาพแวดล้อมภายนอกอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลนี้ใช้ในกระบวนการประมวลผลและตัดสินใจเพื่อปรับการตอบสนองในแต่ละสถานการณ์ พื้นฐานของการคิดและพฤติกรรมของมนุษย์ สมองและระบบโครงสร้างซับซ้อนของเซลล์ประสาทและเส้นทางประสาทเป็นสิ่งที่รับผิดชอบในกระบวนการที่ซับซ้อนนี้ ที่ทำให้เราสามารถทำงานและปรับปรุงตนเองตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในชีวิตของเรา
7 Cognitive Skill ทักษะการคิดที่สำคัญกับสมอง
ทักษะทางความคิดหรือ Cognitive Skills คือทักษะที่สมองใช้ในการรับรู้ ประมวลผล และจัดการข้อมูล ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน ทักษะเหล่านี้มีทั้งหมด 7 ด้านที่สำคัญ ดังนี้
1. Processing Speed
ทักษะด้านความเร็วในการประมวลผล
ความสามารถในการทำงานด้านการรับรู้อย่างรวดเร็วเข้าใจและตอบสนองต่อข้อมูลที่ได้รับ
ทำหน้าที่เสมือน “เครื่องยนต์” ที่มีหลักการทำงานและระบบรับและตอบสนองอย่างรวดเร็ว
2. Working Memory
ทักษะด้านความจำขณะทำงาน
ความสามารถในการเก็บข้อมูลระยะสั้น เพื่อนำข้อมูลมมาแปลผล และปฏิบัติการต่อ
ทำหน้าที่เสมือน “สมุดจดบันทึก” จำข้อมูลระยะสั้น นำข้อมูลออกมาใช้งานได้อัตโนมัติ เรียกข้อมูลกลับมาเพื่อใช้อย่างถูกที่ ถูกเวลา
3. Long-Term Memory
ทักษะด้านความจำระยะยาว
ความสามารถในการจดจำข้อมูล เหตุการณ์และประสบการณ์ต่าง ๆ เป็นระยะเวลานาน
ทำหน้าที่เสมือน “คลังเก็บข้อมูล” ที่เก็บถาวรระยะยาว อาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิต
4. Visual Processing
ทักษะด้านการรับรู้ทางภาพ
ความสามารถในการประมวลผล วิเคราะห์ และเข้าใจข้อมูลที่ได้รับจากการมองเห็น
ทำหน้าที่เสมือน “กล้องถ่ายรูป” ถ่ายภาพสิ่งที่เรามองเห็น และประมวลผลเพื่อแปลความหมาย
5. Logic and Reasoning
ทักษะด้านตรรกะและเหตุผล
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ ประเมินข้อมูล และหาข้อสรุปอย่างมีเหตุผล
ทำหน้าที่เหมือน “เครื่องชั่งน้ำหนัก” ชั่งน้ำหนักข้อมูลต่างๆ เพื่อหาข้อสรุปที่ถูกต้อง
6. Auditory Processing
ทักษะด้านการรับรู้ทางเสียง
ความสามารถในการรับรู้ ประมวลผล และเข้าใจข้อมูลที่ได้รับจากการได้ยิน
ทำหน้าที่เสมือน “เครื่องขยายเสียง” รับเสียงที่ได้ยิน และประมวลผลข้อมูลเพื่อแปลความหมาย
7. Word Attack
ทักษะด้านการแแยกแยะคำ ผสมเสียง
ความสามารถในการวิเคราะห์โครงสร้างของคำ แยกแยะส่วนประกอบของคำ และผสมเสียงให้เป็นคำที่มีความหมาย
ทำหน้าที่เสมือน “กุญแจ” ช่วยให้เราเรียนรู้ภาษา ทักษะการอ่าน การเขียน การสะกดคำ และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
การมีสมองที่ดี ช่วยให้เรามีทักษะการคิดที่เร็วขึ้น
ประมวลผลได้ดีทั้งภาพ
เสียง ภาษา เรียนรู้ จดจำได้ดี
มีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตได้มากกว่า
ทำไมการพัฒนาสมอง จึงสำคัญ?
สมองเป็นศูนย์กลางในการควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ หรือการจดจำ ดังนั้น การพัฒนาสมองจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถส่งผลต่อความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เหตุผลที่การพัฒนาสมองสำคัญ:
- เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้
การฝึกสมองช่วยพัฒนาทักษะทางความคิด ทำให้สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้นและมีความเข้าใจที่ดีขึ้น - เสริมสร้างทักษะในการแก้ปัญหา
การพัฒนาสมองทำให้เราสามารถคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้การตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ดีขึ้น - พัฒนาความจำและสมาธิ
การฝึกสมองช่วยเพิ่มความจำและทำให้สามารถจดจ่อกับงานหรือการเรียนได้นานขึ้น ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานและการเรียนรู้ - ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อม
การพัฒนาสมองช่วยให้สมองทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อมหรือภาวะอัลไซเมอร์เมื่ออายุมากขึ้น - เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตประจำวัน
การฝึกสมองช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดการงาน การสื่อสาร หรือการคิดวางแผน
BrainRX โปรแกรมพัฒนาสมอง
BrainRx เป็นโปรแกรมการฝึกสมองที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท LearningRx ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยพัฒนาทักษะการคิด การเรียนรู้ และการแก้ปัญหาของผู้ที่มีปัญหาทางด้านการเรียนรู้หรือการทำงานของสมองไม่เต็มประสิทธิภาพ โปรแกรมนี้เน้นไปที่การฝึกทักษะต่างๆ เช่น ความจำ การให้ความสนใจ การประมวลผลข้อมูล และความคิดวิเคราะห์ ผ่านกิจกรรมและเกมที่ถูกออกแบบมาเฉพาะ เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองให้ดีขึ้น
แนวคิดของ BrainRx มาจากหลักการของ neuroplasticity หรือความยืดหยุ่นของสมอง ซึ่งสมองสามารถปรับตัวและพัฒนาได้แม้ในวัยผู้ใหญ่ โดยการฝึกสมองอย่างสม่ำเสมอ
คอร์สพัฒนาสมอง BrainRX
AccelerateRx
คอร์สเรียนฝึกสมอง มุ่งเน้นพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ เช่น การคิด การอ่าน และการสื่อสาร เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ เช่น ดิสเล็กเซีย ออทิสติก หรือสมาธิสั้น
MathRx
คอร์สเรียนฝึกสมอง มุ่งเน้นพัฒนาทักษะด้านคณิตศาสตร์ ตรรกะ การแก้ปัญหา เหมาะกับ ผู้ที่มีปัญหาในการคำนวน คิดเลขไม่เก่ง และต้องการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ให้ดีขึ้น
ThinkRx
คอร์สเรียนฝึกสมอง มุ่งเน้นทักษะทางการคิดและความสามารถทางสมอง เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาด้านสมาธิ ความจำ หรือการประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้มีภาวะสมาธิสั้น มีปัญหาการเรียนรู้ หรือความจำ
StudyRx
คอร์สเรียนฝึกสมอง มุ่งเน้นพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยเน้นการฝึกความจำ การจัดระเบียบข้อมูล การบริหารเวลา และการคิดเชิงวิเคราะห์ เหมาะกับ ผู้ที่มีปัญหาในการจัดการเวลา จดจำข้อมูล หรือวางแผนการเรียน
Brain injury
ฟื้นฟูสมองที่ออกแบบมาเพื่อช่วยผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทางสมอง เช่น จากอุบัติเหตุ การเล่นกีฬา หรือความเสียหายจากหลอดเลือดในสมอง โปรแกรมนี้ช่วยพัฒนาการเชื่อมต่อในสมองใหม่ด้วยการฝึกทักษะอย่างเป็นระบบและซ้ำ ๆ
คอร์สพัฒนาสมอง BrainRX เหมาะกับใครบ้าง ?
– ผู้ที่ต้องการพัฒนาความจำ
– ผู้ที่ต้องการพัฒนาด้านการเรียน
– ผู้ที่มีสมาธิสั้น
– ผู้ที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้
– ผู้ที่สูญเสียความทรงจำ
– ผู้ที่มีปัญหาในการคำนวณ
– ผู้ที่มีปัญหาการอ่านและการเขียน
– ผู้ที่มีต้องการการแยกและผสมเสียง
– ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า
– ผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ
– ผู้ที่มีปัญหาการขับรถ
– ผู้ที่มีอาหารทางสมองหลังได้รับเคมีบำบัด
– ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บทางสมอง
– ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์/สมองเสื่อม
– ผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน
– ผู้ที่ต้องการฝึกทักษะตรรกะเหตุผล
– ผู้ที่ต้องการพัฒนาความจำฝึกสมอง