Brain BG
Speech Disorders
บกพร่องด้านการพูดและภาษา

บกพร่องด้านการพูดและภาษา

บกพร่องด้านการอ่าน
Speech Disorders
Speech Disorders
บกพร่องด้านการพูดและภาษา
บกพร่องด้านการพูดและภาษา

ความผิดปกติทางการพูดและภาษา สาเหตุที่ทำให้ลูกพูดช้า พูดติดอ้าง

ความผิดปกติทางการพูดและภาษา หรือ Speech Disorder เป็นภาวะที่ทำให้เด็กมีปัญหาในการพูดสื่อสารได้ตามปกติ ซึ่งรวมถึงการ พูดช้า พูดไม่ชัด หรือ พูดติดอ่าง (Stuttering) โดยปัญหานี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การเข้าใจถึงสาเหตุและการหาวิธีช่วยเหลือที่เหมาะสมจะช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาทักษะการพูดได้อย่างเต็มศักยภาพ

สาเหตุที่ทำให้ลูกพูดช้า และพูดติดอ้าง

  1. ปัญหาด้านการได้ยิน: การสูญเสียการได้ยินบางส่วนหรือทั้งหมดอาจทำให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้และจำเสียงต่าง ๆ ได้ดี ส่งผลให้พัฒนาการด้านการพูดล่าช้า
  2. พัฒนาการช้าทางร่างกาย: เด็กบางคนอาจมีพัฒนาการทางด้านร่างกายหรือกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการพูดช้ากว่าเด็กทั่วไป เช่น กล้ามเนื้อลิ้นหรือปากที่ยังไม่แข็งแรงเพียงพอในการออกเสียง
  3. ความผิดปกติทางสมอง: ภาวะทางสมองบางอย่าง เช่น Autism Spectrum Disorder (ASD) หรือความผิดปกติทางการสื่อสารอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้การพัฒนาทักษะการพูดล่าช้า
  4. ความล่าช้าทางพัฒนาการ (Developmental Delay): เด็กบางคนอาจมีพัฒนาการช้าในหลาย ๆ ด้านรวมถึงการพูด ซึ่งไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายนอก แต่เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการธรรมชาติของพวกเขา

อาการที่บ่งบอกว่าพัฒนาการด้านพูดและภาษาไม่สมวัย

พัฒนาการด้านพูดและภาษา

สำหรับเด็กที่อายุ 6 ปีขึ้นไป หากพัฒนาการด้านพูดและภาษาไม่เป็นไปตามเกณฑ์ปกติ จะถือว่าเป็น พัฒนาการด้านพูดและภาษาไม่สมวัย อาการหรือสัญญาณที่บ่งบอกว่าเด็กอาจมีปัญหาในด้านนี้ มีดังนี้

1.  พูดไม่ชัดเจน

หากเด็กยังมีปัญหาในการออกเสียงพยัญชนะบางตัว เช่น พูดเสียง “ร” หรือ “ล” ไม่ชัดเจน หรือพูดคำที่มีหลายพยางค์ผิด อาจเป็นสัญญาณว่าพัฒนาการการพูดไม่สมวัย

2. ไม่สามารถสร้างประโยคที่ซับซ้อนได้

หากเด็กยังพูดประโยคที่ไม่สมบูรณ์ หรือใช้ไวยากรณ์ผิด เช่น การเรียงคำไม่ถูกต้อง ใช้คำกริยาหรือคำนามไม่ตรงกับความหมาย หรือไม่สามารถเชื่อมประโยคได้ดี อาจเป็นสัญญาณของปัญหาด้านภาษา

3. ไม่สามารถเล่าเรื่องหรืออธิบายเหตุการณ์ได้

หากเด็กไม่สามารถเล่าเรื่องได้ หรือพูดเพียงคำสั้น ๆ โดยไม่มีเนื้อหาที่ชัดเจน อาจเป็นสัญญาณของพัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้า

4.ใช้คำศัพท์ไม่หลากหลาย

เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปควรมีคลังคำศัพท์ที่กว้างขวาง และสามารถใช้คำศัพท์ที่หลากหลายในการพูด หากเด็กยังคงใช้คำศัพท์ที่จำกัด หรือไม่สามารถเรียนรู้คำใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว อาจเป็นสัญญาณของการพัฒนาภาษาที่ไม่สมวัย

6. ขาดความมั่นใจในการสื่อสาร

เด็กที่มีปัญหาด้านการพูดและภาษาอาจขาดความมั่นใจในการพูดหรือสื่อสารกับผู้อื่น อาจหลีกเลี่ยงการพูดหน้าชั้นเรียน ไม่อยากมีส่วนร่วมในการสนทนา พูดติดอ้าง หรือมีการพูดคำบางคำซ้ำๆ

ความผิดปกติทางสมอง มีผลกระทบต่อการพูดอย่างไร

สาเหตุที่ทำให้เด็กพูดช้า มีหลายสาเหตุอย่างที่เราได้บอกข้างต้น ซึ่งหากลูกของคุณ มีอายุมากกว่า 6 ปี แต่พัฒนาการยังไม่สมวัย อาจสันนิษฐานว่ามี ความผิดปกติทางสมอง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาทักษะการสื่อสารของเด็ก ทำให้เกิดปัญหาในการพูด เช่น การพูดช้า หรือการพูดติดอ่าง เนื่องจากสมองเป็นศูนย์กลางในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด รวมถึงการประมวลผลข้อมูลด้านภาษาและการสื่อสาร ซึ่งความผิดปกติทางสมองเป็นไปได้หลายส่วนดังนี้

  1. ปัญหาด้านการประมวลผลทางภาษา (Language Processing)

เด็กที่มีความผิดปกติทางสมอง เช่น ภาวะออทิสติก (Autism Spectrum Disorder – ASD) หรือ การบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities) อาจมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลด้านภาษาได้ช้ากว่าเด็กทั่วไป ทำให้มีปัญหาในการสร้างประโยคหรือการพูดที่ไม่สามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน เช่น พูดตะกุกตะกัก ไม่สามารถจัดเรียงคำหรือประโยคได้ตามที่ต้องการ

  1. ความบกพร่องในการประมวลผลเสียงและคำพูด (Auditory Processing Disorders)

หากสมองไม่สามารถประมวลผลเสียงและคำพูดได้อย่างรวดเร็ว การตอบสนองต่อการสื่อสารของเด็กก็จะช้าลง ทำให้เกิดปัญหาการพูดติดอ่าง เนื่องจากสมองไม่สามารถสั่งการให้พูดได้อย่างราบรื่น เด็กอาจรู้สึกว่าตนเองต้องใช้ความพยายามมากเกินไปในการออกเสียงหรือการเรียบเรียงคำ ทำให้เกิดการพูดซ้ำ พูดติดอ่าง หรือติดขัด

  1. การทำงานของสมองที่ไม่สมดุล (Neural Imbalance)

เด็กที่พูดติดอ่างอาจมีความผิดปกติในการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการเคลื่อนไหว การควบคุมเสียง และการประมวลผลด้านการสื่อสาร สมองไม่สามารถสั่งงานให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูดทำงานร่วมกันอย่างสมดุล ทำให้เกิดการพูดซ้ำ การพูดติดขัด หรือการพูดติดอ่างอย่างต่อเนื่อง

การเข้าใจถึงผลกระทบของความผิดปกติทางสมองต่อการพูดนี้จะช่วยให้เราสามารถหาแนวทางช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาได้อย่างถูกต้อง และส่งเสริมพัฒนาการทางการสื่อสารให้พวกเขาได้อย่างเต็มที่

วิเคราะห์ปัญหาความผิดปกติทางสมอง ด้วย Gibson Test

ทดสอบด้วย Gibson Test

Gibson Test คือการทดสอบที่ช่วยวัดทักษะทางสมองที่สำคัญ ทั้ง 7 ด้าน  

  1. Processing Speed ทักษะด้านความเร็วในการประมวลผล 
  2. Working Memory ทักษะด้านความจำขณะทำงาน 
  3. Long-Term Memory ทักษะด้านความจำระยะยาว 
  4. Visual Processing ทักษะด้านการรับรู้ทางภาพ 
  5. Logic and Reasoning ทักษะด้านตรรกะและเหตุผล 
  6. Auditory Processing ทักษะด้านการรับรู้ทางเสียง 
  7.  Word Attack ทักษะด้านการแแยกแยะคำ ผสมเสียง 

ซึ่งทักษะ ความจำ สมาธิ การประมวลผลข้อมูล และการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญในการอ่านและเขียน ผลการทดสอบนี้จะช่วยให้เราสามารถระบุจุดอ่อนที่ทำให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้ และออกแบบโปรแกรมฝึกสมองที่ตอบโจทย์เฉพาะของเด็กแต่ละคน

ทักษะสมองใดบ้าง ที่ส่งผลต่อการพูด

ซึ่งหากทักษะใดทักษะหนึ่งสูงหรือต่ำกว่าทักษะอื่น ๆ จนเกิดความไม่สมดุลกัน สมองจะทำงานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งอาจแสดงออกมาในรูปแบบของปัญหาการพูด เช่น การพูดติดอ่าง การพูดช้า การออกเสียงไม่ชัดเจน รวมไปถึงปัญหาการฟัง ที่ทำให้เด็กไม่สามารถจดจำสิ่งที่ได้ยินได้อย่างมีประสิทธิภาพ การประมวลผลข้อมูลเสียงที่ช้าหรือไม่ชัดเจนอาจส่งผลให้การสื่อสารไม่เป็นไปตามที่ต้องการ

ปรับทักษะทางสมองให้สมดุลด้วยการฝึกสมองกับโปรแกรม BrainRX

โปรแกรม BrainRX เป็นการฝึกสมองที่ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะทางสมองให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสมดุล โปรแกรมนี้มุ่งเน้นไปที่การฝึกทักษะทางการคิดทั้ง 7 ด้าน ไซึ่งหากทักษะทางสมองทำงานได้อย่างสมดุล เด็กจะสามารถพัฒนาการพูด การฟัง และการสื่อสารได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพูดชัดเจน รวดเร็ว และสามารถจดจำสิ่งที่ได้ยินได้อย่างแม่นยำ

pre
Pre
post
Post

ผลลัพธ์หลักจากการฝึกกับ BrainRX

  • การพูดชัดเจนและรวดเร็วขึ้น – เด็กจะสามารถพูดได้คล่องขึ้น ออกเสียงได้ชัดเจน และไม่ติดขัด
  • การฟังและจดจำได้ดีขึ้น – ทักษะการประมวลผลเสียงพัฒนา ทำให้เด็กสามารถฟังและจำสิ่งที่ได้ยินได้อย่างแม่นยำ
  • เพิ่มความเร็วในการประมวลผลข้อมูล – เด็กจะคิดและตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ความสามารถในการแก้ไขปัญหา – การฝึกตรรกะและเหตุผลช่วยให้เด็กวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
  • พัฒนาความจำระยะสั้นและระยะยาว – ช่วยให้เด็กจำข้อมูลที่สำคัญได้ดีขึ้น ทั้งในช่วงเวลาสั้น ๆ และระยะยาว

ผลลัพธ์เหล่านี้ทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้และการสื่อสารที่ดีขึ้น ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในชีวิตประจำวัน

ฝึกสมองโดยผู้เชี่ยวชาญและรูปแบบการเทรนเฉพาะของ Brain and Life

Learning

One-on-One Learning

การเรียนรู้แบบหนึ่งต่อหนึ่ง การฝึกสมองแบบตัวต่อตัวกับนักจิตวิทยา ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ จะคล้ายกับการเล่นเกม

Learning

Digital Training

ฝึกในระบบออนไลน์ด้วยตนเอง การฝึกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะทางการคิดด้านต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มสมรรถนะการเรียนรู้ของสมอง

ข้อดีของการฝึกสมองที่ Brain and Life

ข้อดี (Benefits)

  • ไม่ต้องพึ่งยา ปลอดภัยและเป็นธรรมชาติ
  • ออกแบบโปรแกรมฝึกสมองเฉพาะบุคคล
  • ได้รับการสนับสนุนจากทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์
  • ใช้เทคโนโลยีการวัดผลที่แม่นยำ และวิทยาศาสตร์ที่รองรับ

ขั้นตอนการเข้ารับบริการที่ Brain and Life

ลงทะเบียนและทำการทดสอบเบื้องต้น

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อรับการประเมินทักษะสมองด้วย Gibson Test โดยการทดสอบนี้จะช่วยให้คุณทราบถึงจุดที่ต้องการพัฒนาและจัดทำโปรแกรมที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล

ออกแบบโปรแกรมฝึกสมองเฉพาะบุคคล

หลังจากได้รับผลการทดสอบ ทีมผู้เชี่ยวชาญจะทำการออกแบบโปรแกรมฝึกสมองที่เหมาะสมกับทักษะที่ต้องการพัฒนา พร้อมทั้งวางแผนการฝึกและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

เริ่มโปรแกรมฝึกสมอง

เริ่มการฝึกสมองตามโปรแกรมที่ออกแบบไว้ ทั้งรูปแบบ One-on-One Learning และ Digital Training โดยผู้เรียนจะได้รับการดูแลและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญตลอดโปรแกรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มที่

Testimonials

Testimonials

คำถามที่พบบ่อย

This will close in 0 seconds