เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าอย่างอ่อน

tDCS (Transcranial Direct Current Stimulation)

tDCS หรือ Transcranial Direct Current Stimulation เป็นเทคนิคการกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนแบบ Non-invasive ด้วยการส่งกระแสไฟฟ้าเข้าสู่บริเวณสมองส่วนต่างๆ โดยการใช้ขั้วไฟฟ้าแอโนด (anodal tDCS stimulation) วางบริเวณส่วนที่ต้องการกระตุ้น และวางขั้วแคโทด (cathodal tDCS stimulation)  ไว้บริเวณที่ต้องการยับยั้ง เป็นเวลาประมาณ 20-30 นาที กระแสไฟฟ้าจะทำให้การทำงานของสมองส่วนนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงการ ทั้งสามารถทำให้เกิดการกระตุ้นส่วนของของสมองที่ทำงานน้อยเกินไป หรือยับยั้งส่วนของสมองที่ทำงานมากเกินไป

แม้ว่าการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้าอย่างอ่อน tDCS เป็นวิธีการที่ปลอดภัยและไม่เจ็บปวด ก็อาจพบผลข้างเคียงในบางราย เช่น เกิดความรู้สึกระคายเคืองผิวหนังเหมือนโดนหนามทิ่มหรือรู้สึกแสบร้อน ซึ่งอาการมักจะหายไปภายใน 30-60 วินาที

จากงานวิจัยพบว่า tDCS สามารถเพิ่มขีดความสามารถการเรียนรู้ของสมองในด้านต่างๆ เช่น ทักษะด้านภาษา, คณิตศาสตร์, ทักษะในการแก้ปัญหา ทั้งยังส่งเสริมประสิทธิภาพด้านความจำ ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มสมรรถนะการเรียนรู้และการทำงานของสมองให้มีประสิทธิภาพดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น

จากงานวิจัยพบว่า tDCS สามารถเพิ่มขีดความสามารถการเรียนรู้ของสมองในด้านต่างๆ เช่น

ยกระดับความสามารถในการเรียนรู้

การเรียนรู้แบบไม่รู้ตัว

  • ​tDCS ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหวโดยช่วยเพิ่มความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลของสมอง
  • tDCS ช่วยพัฒนาทักษะในการเรียนรู้แยกแยะความเป็นไปได้ต่างๆ
  • ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหว

การเรียนรู้แบบรู้ตัว

  • ​tDCS จะช่วยพัฒนากระบวนการจัดเก็บข้อมูลที่ได้ในแต่ละวัน หรือแม้แต่ขณะหลับ
  • tDCS ช่วยเพิ่มความสามารถในการจัดการคำศัพท์ที่ได้รับมาในแต่ละวัน เพื่อนำมาเก็บไว้ในคลังสมอง
  • tDCS ช่วยเพิ่มความสามารถในการจดจำตำแหน่งต่างๆของวัตถุ การคาดการณ์ระยะด้วยสายตา

ยกระดับความสามารถด้าน Working Memory

  • tDCS ช่วยเพิ่มความสามารถในการจัดการกับข้อมูลและการจัดเรียงลำดับเหตุการณ์ต่างๆ
  • tDCS จะช่วยเพิ่มความถี่ของคลื่น อัลฟา และ เตตระ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง

ยกระดับความสามารถด้านสมาธิ

  • ​​tDCS ช่วยเพิ่มการตอบสนองของสมองแม้ในขณะนั้นจะมีสิ่งเร้ารบกวน
  • ช่วยเพิ่มทักษะด้านการใช้สมาธิผ่านการมองเห็น

ยกระดับกระบวนการคิดทางสังคม

  • สามารถแยกแยะสถานการณ์หรืออารมณ์ของคนรอบข้างได้ดีขึ้น

​ยกระดับความสามารถด้านภาษา

  • ช่วยเพิ่มการเรียนรู้ด้านไวทยากรณ์
  • ช่วยเพิ่มการเรียนรู้ด้านคำศัพท์

ยกระดับกระบวนทางความคิดที่ซับซ้อน

  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของอารมณ์และมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ในเชิงบวก

** แหล่งอ้างอิง: David Fischer Berenson-Allen Center for Noninvasive Brain Stimulation, BIDMC Harvard Medical School

This will close in 0 seconds