ทักษะกระบวนการคิดที่ทุกคนต้องมีติดตัว

ทักษะกระบวนการคิด ที่ทุกคนต้องมีติดตัว

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ทุก ๆ การกระทำในแต่ละวันตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงนอนหลับ ล้วนต้องใช้ความคิดทั้งนั้น แต่การใช้ความคิดนั้นมันก็มีหลายรูปแบบ หรือเรียกอีกอย่างว่า ทักษะกระบวนการคิด ซึ่งจะมีอยู่ 2 ทักษะ คือ การคิดขั้นพื้นฐาน และ การคิดขั้นสูง แล้วแต่ละทักษะคืออะไร สำคัญยังไง มาอ่านแล้วทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า

มี ทักษะกระบวนการคิด ใช้ชีวิตง่ายขึ้น

ต้องยอมรับว่าทักษะกระบวนการคิดเป็นสิ่งที่สำคัญในหลาย ๆ ด้านของชีวิต เช่น การทำงาน การเรียนการสอน และการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามาในแต่ละวัน นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างทักษะอื่น ๆ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผน การตัดสินใจ และเพิ่มพูนการเรียนรู้อีกด้วย

การพัฒนาทักษะนี้สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และชีวิตประจำวันของเราด้วยการเรียนรู้วิธ๊การแก้ไขปัญหาได้อย่างมีระเบียบ ทำให้เราจัดการกับปัญหาที่ซับซ้อนได้ดีมากขึ้น พร้อมกับการวางแผนและแก้ไขสถานการณ์ที่ต้องใช้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะนี้ยังช่วยให้เราปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย

แล้วทักษะที่เป็นพื้นฐาน และ ขั้นสูง ต่างกันยังไงล่ะ ?

ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน คือ การคิดที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบที่ง่ายและเบื้องต้น ซึ่งเป็นการคิดที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาทักษะและกระบวนการคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

  • การรับรู้: เป็นกระบวนการที่เราใช้ในการรับข้อมูลและสิ่งต่าง ๆ ในสิ่งที่เราเห็น หรือใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ได้ และส่งข้อมูลนั้นไปที่สมองของเรา
  • การวิเคราะห์: ตอนที่มีข้อมูลส่งเข้ามาที่สมอง เราก็จะเริ่มทำการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจ และตีความข้อมูลนั้น ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์และสำคัญ
  • การสร้างความเข้าใจ: เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลเสร็จแล้ว เราจะเริ่มทำความเข้าใจเบื้องต้นกับข้อมูลนั้น ๆ ที่ได้รับมา โดยการเชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์ที่เรามีอยู่

ทักษะการคิดขั้นสูง คือ การคิดที่มีความซับซ้อนและเชี่ยวชาญมากขึ้นกว่าขั้นพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อน เช่นการเชื่อมโยงแนวคิดที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เริ่มมีการเรียนรู้ในการนำความรู้ที่มีมาใช้แก้ไขปัญหา และสร้างสรรค์ในการคิดและแก้ไขปัญหา ซึ่งการคิดขั้นสูงมีหลากหลายด้าน ดังนี้

  1. Analysis Thinking หรือ กระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ คือ การคิดขั้นสูงที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด และตีความเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องและมีความหมาย สามารถสรุปและทำความเข้าใจให้เชื่อมโยงกับความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. Synthesis Thinking หรือ การคิดสังเคราะห์ เป็นการคิดที่สามารถรวมสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ที่แตกต่างจากเดิม
  3. Problem Solving Thinking หรือ การแก้ปัญหา คือ การคิดที่เน้นไปในด้านการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน โดยใช้วิธีการที่สอดคล้องกับสภาวะปัญหา เช่นการแก้โจทย์คณิตศาสตร์
  4. Creative Thinking หรือ กระบวนการคิดสร้างสรรค์ เป็นการคิดที่ใช้ ความคิดสร้างสรรค์ โดยเริ่มจากการคิดออกแบบที่ไม่ธรรมดา เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมา หรือสิ่งที่แตกต่างจากเดิมไปในทางที่ดีและพัฒนามากขึ้น
  5. Critical thinking หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือ การคิดที่ผ่านกระบวนการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ มีเหตุผล โดยอาศัยความรู้ ความคิด และประสบการณ์ของเรา รวมไปถึงข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อนำไปตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล เช่น จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ทำหรือไม่ทำ เลือกหรือไม่เลือก

จะเห็นได้ว่าทักษะด้านการคิดมีอยู่หลากหลายกระบวนการ แต่เราสามารถพัฒนาทักษะการคิดที่มีอยู่มากมายนี้ไปพร้อมกันได้ด้วยคอร์สฝึกสมองของ Brain and Life ที่ไม่ใช่การเรียนพิเศษเสริม แต่เป็นการเพิ่มความสามารถในการพัฒนาศักยภาพสมอง และทักษะความถนัดหลากหลายด้าน ได้อย่างครอบคลุมทุกวัย

ทักษะกระบวนการคิด

ซึ่ง การคิดขั้นสูง ต่าง ๆ นั้นสำคัญเหมือนกันหมด แต่สิ่งที่ทุกคนควรจะฝึกฝน และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอยู่เรื่อย ๆ คือ ทักษะ Critical Thinking

Critical Thinking คือ สิ่งที่ขาดไม่ได้

ในสังคมปัจจุบันทักษะนี้ถือเป็นสิ่งที่เราขาดไม่ได้เลย เนื่องจากมีข่าว Fake News อยู่มากมาย จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ว่า นี่คือข่าวจริงหรือเปล่านะ เชื่อถือได้ไหม แหล่งข่าวเป็นใคร มีหลักฐานหรือเปล่า ซึ่งที่พูดมาทั้งหมดนี้คือ การคิดหาเหตุผลหรือหลักฐานเพื่อเอามาประกอบการติดสินใจ โดยทักษะนี้ก็เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจทุก ๆ เรื่องของชีวิตเลยก็ว่าได้

เรามาทำความรู้จักกับ Critical Thinking ให้ลึกมาอีกหน่อยดีกว่า

critical thinking คือ ความตั้งใจในการคิดและตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้วิจารณญาณอย่างมีเหตุผล เพื่อที่จะสามารถจัดระเบียบข้อมูลที่ได้รับมา นำมาหาข้อเท็จจริง ซึ่งการคิดแบบ Critical thinking นั้นจะเน้นไปที่การพิจารณาข้อมูลอย่างรอบคอบ เชื่อมโยงประเด็นต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

Brain มี 6 เทคนิคในการเพิ่มทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ หรือ Critical Thinking ให้ทุกคนสามารถไปลองฝึก พัฒนาตัวเอง มีอะไรบ้างมาดูกัน

  1. สร้างคำถาม: เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการสร้างคำถามกับข้อมูลได้รับมา ซึ่งการสร้างคำถามนี่แหละจะช่วยจัดระเบียบให้เราสามารถประเมินข้อมูลได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้น และยังเพิ่มความเข้าใจในข้อมูลที่กำลังพิจารณามากขึ้นด้วย
  2. ตามหาแหล่งข้อมูล: หลังจากได้รับข้อมูลมาแล้วสิ่งที่ต้องทำต่อมาคือ การสำรวจว่าแหล่งข้อมูลคือที่ไหน เชื่อถือได้หรือไม่ ก่อนจะนำมาวิเคราะห์และสรุปผล
  3. ประเมินความเหมาะสม: สิ่งสำคัญอีกเรื่องคือการพิจารณาความสมเหตุสมผลของข้อมูลนั้น ๆ เพื่อหาข้อดีและข้อเสียของแต่ละเหตุผล ซึ่งควรจะพิจารณาจากหลาย ๆ มุมมองด้วย
  4. หาเหตุผลมาซัพพอร์ต: พยายามหาเหตุผลที่มีความเป็นไปได้ และต้องเป็นเหตุผลที่สมเหตุสมผลด้วย ซึ่งการใช้เหตุผลที่มีหลักฐานและข้อมูลมาสนับสนุน จะทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้น
  5. ห้ามมองข้ามเรื่องผลกระทบ: เพราะไม่ว่าเราจะคิดหรือตัดสินใจแบบไหนไป สุดท้ายแล้วก็จะมีผลกระทบที่ตามมาเสมอ ไม่ว่าจะระยะสั้นหรือระยะยาว จึงต้องห้ามมองข้ามเพื่อการตัดสินใจที่รอบคอบมากขึ้นกว่าเดิม

ทุกคนสามารถนำเทคนิคการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์เหล่านี้ไปเริ่มฝึกเพื่อ พัฒนาตัวเอง ได้ง่าย ๆ เลย แต่ถ้าหากอยากฝึกฝน ทักษะการคิดขั้นสูง ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์  หรือ กระบวนการคิดสร้างสรรค์ ที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน Brain ยินดีให้คำปรึกษาฟรี เพื่อการฝึกฝนทักษะ พัฒนาศักยภาพสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

GibsonTest_CTAmotion-gif

This will close in 0 seconds