ปัญหาด้านการอ่าน ส่งผลต่อ “การเรียนรู้”
การอ่านเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญต่อการเรียนรู้ในทุกวิชาและทุกช่วงวัย หากพบว่าลูกมี ปัญหาด้านการอ่าน เช่น อ่านไม่ออกหรือเขียนไม่ได้ อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของลูก เสี่ยงเป็น โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ LD (Learning Disorder) ทางการอ่านและเขียน บทความนี้จะอธิบายสาเหตุปัญหาการอ่าน วิธีการวินิจฉัย และแนวทางการแก้ไขเพื่อช่วยให้ลูกพัฒนาทักษะการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สารบัญ
- ปัญหาการอ่านเกิดจากอะไร
- สาเหตุของปัญหาการอ่าน
- ดิสเล็กเซีย (Dyslexia) คืออะไร
- ผลกระทบของปัญหาการอ่าน
- การวินิจฉัยปัญหาการอ่าน
- การพัฒนาการอ่าน
- สรุปปัญหาด้านการอ่านและการแก้ไข
ปัญหาการอ่าน เกิดจากอะไร ?
ปัญหาด้านการอ่าน เกิดได้หลากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งคือการได้รับวิธีการสอนอ่านที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความยากในการเรียนรู้ทาง ทักษะการอ่าน ไม่ว่าจะเป็นการอ่านคำ การทำความเข้าใจข้อความ หรือการจดจำคำศัพท์ ส่งผลให้เด็ก อ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ เพราะขาดความเข้าใจในการอ่านที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยของเด็ก ซึ่งมีความเสี่ยงเป็น โรคบกพร่องทางการอ่าน (Dyslexia)
เด็กที่ประสบปัญหานี้มักมีอาการ
- อ่านผิดบ่อยครั้ง หรืออ่านสะดุด
- สับสนระหว่างตัวอักษรหรือตัวเลขที่คล้ายกัน
- ใช้เวลานานกว่าปกติในการทำความเข้าใจข้อความที่อ่าน
สาเหตุของปัญหาการอ่าน
สาเหตุของปัญหาด้านการอ่าน เกิดขึ้นได้หลายปัจจัย ซึ่งอาจมาจากความบกพร่องทางร่างกาย สมอง จิตใจ เช่น
- ปัญหาทางสมองและระบบประมวลผลข้อมูล เช่น ความบกพร่องในการทำงานร่วมกันของสมอง เช่น การเชื่อมโยงระหว่างเสียงและตัวอักษร หรือการทำความเข้าใจเนื้อหาที่ซับซ้อน และ โรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) เป็นสาเหตุหลักของปัญหาการอ่านในเด็ก ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถทำความเข้าใจข้อความที่อ่านได้
- สิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดู การขาดโอกาสในการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนไม่เหมาะสม เช่น ขาดการสนับสนุนจากครอบครัว หรือไม่มีการเรียนการสอนการอ่านหนังสือ
- ปัญหาด้านสุขภาพ เช่น การได้ยินหรือการมองเห็นที่ไม่สมบูรณ์ หรือ ปัญหาด้านการมองเห็น ส่งผลให้เด็กเรียนรู้การอ่านได้ช้ากว่าปกติ
- ปัจจัยด้านพัฒนาการ เด็กที่มีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้ามักเจอกับความยากลำบากในการเรียนรู้คำศัพท์และการอ่าน
ดิสเล็กเซีย (Dyslexia) คืออะไร ?
โรคดิสเล็กเซีย หรือ Dyslexia คือ ภาวะผิดปกติทางด้านการอ่าน และการเรียนรู้ภาษาบกพร่อง จัดเป็นความผิดปกติด้านการเรียนรู้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า LD (Learning Disorder) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของปัญหาการเรียนในเด็ก เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองที่ส่งผลต่อความสามารถในการอ่าน เขียน และสะกดคำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเชื่อมโยงเสียงกับตัวอักษร
- อ่าน อาจอ่านช้า สะกดคำผิด หรือสับสนตัวอักษร
- เขียน เขียนตัวอักษรไม่ชัดเจน สะกดคำผิด หรือเขียนประโยคสลับกริยาและประธานได้
- พูด อาจมีปัญหาในการออกเสียงคำ หรือพูดติดอ่าง
ผลกระทบของปัญหาการอ่าน
ปัญหาการอ่านเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูกน้อย ผลกระทบนี้ไม่่เพียงแค่การเรียนในโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อชีวิตประจำวันและโอกาสในอนาคตของลูก
1. ผลกระทบต่อการเรียน เด็กที่อ่านไม่ออกหรือบกพร่องทางการอ่านจะมีความยากลำบากในการทำความเข้าใจเนื้อหาในวิชาต่าง ๆ เช่น การอ่านโจทย์คณิตศาสตร์หรือการวิเคราะห์เนื้อหาในวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษา ส่งผลกระทบต่อด้านอื่นในการเรียน เช่น
- เขียนไม่ได้ หรือเขียนไม่คล่อง ที่พัฒนาควบคู่กับการอ่าน เด็กที่อ่านไม่คล่องมักมีปัญหาในการเขียน เช่น เขียนคำผิด สะกดคำไม่ถูกต้อง หรือเขียนประโยคที่ไม่สมบูรณ์
- การตามไม่ทันเพื่อน เด็กที่มีปัญหาการอ่านมักต้องใช้เวลามากกว่าเพื่อนในชั้นเรียนในการทำความเข้าใจบทเรียนหรือทำแบบฝึกหัด
- ผลการเรียนตก เมื่อเด็กไม่สามารถอ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาได้อย่างเหมาะสม คะแนนสอบหรือผลการประเมินในโรงเรียนก็อาจต่ำกว่ามาตรฐาน
2. ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ปัญหาการอ่านไม่ได้ส่งผลเฉพาะในห้องเรียน แต่ยังมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น
- การสื่อสาร เด็กที่อ่านไม่คล่องมักประสบปัญหาในการทำความเข้าใจข้อมูล เช่น การอ่านข้อความในโซเชียลมีเดีย การอ่านป้ายหรือเอกสารต่าง ๆ
- ขาดความมั่นใจในตนเอง การตามไม่ทันเพื่อนหรือการถูกล้อเลียนเกี่ยวกับการอ่านอาจทำให้เด็กสูญเสียความมั่นใจ ไม่กล้าแสดงความสามารถ และหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม
- การใช้เวลามากขึ้นในการทำงานประจำวัน เช่น การทำการบ้านหรือการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน ซึ่งทำให้เด็กเสียโอกาสในการทำกิจกรรมอื่น ๆ
3. ผลกระทบต่ออนาคต หากปัญหาการอ่านไม่ได้รับการแก้ไข อาจส่งผลกระทบในระยะยาวต่อโอกาสในอนาคต เช่น
- ความสามารถในการศึกษาต่อ เด็กที่มีปัญหาการอ่านมักประสบความยากลำบากในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น เช่น การทำวิจัย การอ่านเอกสารวิชาการ หรือการเขียนรายงาน
- การประกอบอาชีพ ทักษะการอ่านและเขียนเป็นสิ่งสำคัญในเกือบทุกสายอาชีพ ปัญหาการอ่านอาจจำกัดโอกาสการทำงานหรือการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ
- ความสามารถในการแก้ปัญหา การอ่านเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหา หากเด็กไม่มีทักษะการอ่านที่ดี อาจประสบปัญหาในการวิเคราะห์หรือทำความเข้าใจสถานการณ์ที่ซับซ้อน
- การเข้าสังคมและการพัฒนาตนเอง ปัญหาการอ่านอาจทำให้บุคคลรู้สึกแยกตัวออกจากสังคม ขาดโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ เช่น การเรียนออนไลน์ การฝึกอาชีพ หรือการพัฒนาทักษะส่วนตัว
การวินิจฉัยปัญหาการอ่าน
การวินิจฉัยปัญหาการอ่าน เป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อการแก้ไขที่ตรงจุด ที่ช่วยระบุสาเหตุของความยากลำบากในการอ่าน และเป็นจุดเริ่มต้นของการวางแผนการแก้ไขที่เหมาะสม การวินิจฉัยนี้ไม่ได้เพียงช่วยให้เข้าใจปัญหาที่เด็กกำลังเผชิญ แต่ยังช่วยให้คุณพ่อคุณแม่และครูสามารถให้การสนับสนุนที่เหมาะสมได้
ขั้นตอนการวินิจฉัยปัญหาการอ่าน
- การประเมินเบื้องต้นโดยผู้ปกครองและครู สังเกตพฤติกรรมการอ่าน เช่น การอ่านผิดบ่อยครั้ง สะดุด ข้ามคำ หรือ เด็กสามารถจับใจความของข้อความที่อ่านได้หรือไม่ และบันทึกปัญหา ความถี่และสถานการณ์ที่ปัญหาเกิดขึ้น เพื่อนำไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ
- การทดสอบการอ่าน ใช้เพื่อวิเคราะห์ว่าผู้เรียนสามารถออกเสียงคำได้ถูกต้องและคล่องแคล่วหรือไม่ การทดสอบการทำความเข้าใจเนื้อหาที่อ่าน เช่น การตอบคำถามเกี่ยวกับ
- การทดสอบด้านการเขียนและสะกดคำ ตรวจสอบความสามารถในการเขียนคำและประโยคที่ถูกต้อง เพื่อระบุว่ามีปัญหาในการจดจำรูปแบบคำหรือไม่
- การประเมินด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ใช้การทดสอบที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อวิเคราะห์ความบกพร่องทางการอ่าน และการวิเคราะห์การประมวลผลของสมอง ทดสอบความจำ เพื่อดูว่าสมองสามารถเชื่อมโยงเสียงและตัวอักษรได้ ความจำระยะสั้นหรือความจำระยะยาวมีผลต่อการอ่านหรือไม่
- การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยาเด็ก หรือ นักบำบัด จะช่วยวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมหรืออารมณ์ และช่วยวางแผนการบำบัดและการสอนที่เหมาะสม
Brain and Life Center เข้าใจปัญหาการอ่านส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กในระยะยาว ทางสถาบันมีการประเมินปัญหาอย่างละเอียด โดยใช้แบบทดสอบทักษะสมองทั้ง 7 ด้าน หรือ Gibson Test ช่วยระบุทักษะที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อการอ่านของลูกน้อย และโปรแกรมที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการอ่านโดยใช้แนวทาง โดยผู้เชี่ยวชาญ
การพัฒนาการอ่านและการแก้ไขปัญหา
การพัฒนาการอ่านและการแก้ไขปัญหาด้านการอ่านเป็นกระบวนการที่สำคัญในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็ก จำเป็นต้องใช้เทคนิคที่หลากหลายเพื่อช่วยให้เด็กสามารถอ่านได้คล่องขึ้น เข้าใจข้อความ และนำไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
การพัฒนาการอ่านและเทคนิค
1. การฝึกทักษะการอ่านแบบโฟนิกส์ (Phonics) ช่วยให้เด็กเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษรและเสียง โดยใช้วิธีการสอนที่เป็นขั้นตอน เช่น การออกเสียงตัวอักษรทีละตัว การสะกดคำและรวมคำ การอ่านคำศัพท์ที่ง่ายและค่อย ๆ เพิ่มความซับซ้อน
2. การอ่านออกเสียง ช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะการออกเสียง การจับจังหวะ และความมั่นใจในการอ่าน
3. การสอนแบบจับใจความ (Reading Comprehension) การฝึกอ่านแบบจับใจความช่วยให้เด็กเข้าใจเนื้อหาที่อ่านได้ดีขึ้น โดยใช้เทคนิคดังนี้
- การตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อหา
- การสรุปเนื้อเรื่อง
- การวาดภาพประกอบข้อความ
4. การใช้สื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม เช่น หนังสือภาพหรือการ์ตูนเพื่อกระตุ้นความสนใจ หรือเกมที่ช่วยพัฒนาการอ่าน
การแก้ไขปัญหาการอ่าน
หากพบว่าลูกมีปัญหาด้านการอ่านแล้ว ควรทำอย่างไร
1. การบำบัดการอ่านเฉพาะบุคคล (Individualized Reading Therapy) การบำบัดแบบตัวต่อตัวช่วยให้เด็กได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม โดยผู้เชี่ยวชาญจะออกแบบวิธีการสอนตามความต้องการของเด็ก
2. การฝึกความจำและการจดจ่อ เด็กที่มีปัญหาการอ่านมักประสบปัญหาด้านความจำและการจดจ่อ การฝึกฝนด้วยกิจกรรม เช่น เกมจับคู่คำศัพท์ หรือการอ่านบทสั้น ๆ ซ้ำหลายครั้ง จะช่วยเสริมสร้างทักษะเหล่านี้ได้
3. การแก้ไขปัญหาการอ่านแบบกลุ่ม การเข้ากลุ่มเรียนพิเศษที่เน้นการฝึกอ่านแบบเป็นทีม การพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อน จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาด้านการสื่อสารได้มากขึ้น
4. การสนับสนุนจากครอบครัว ครอบครัวควรมีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาทักษะการอ่าน เช่น การอ่านหนังสือร่วมกับลูก หรือการสร้างกิจวัตรประจำวันที่เกี่ยวข้องกับการอ่านเพื่อพัฒนาลูกอย่างใกล้ชิด
สรุปปัญหาด้านการอ่านและการแก้ไข
การอ่านเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญต่อการเรียนรู้ในทุกวิชาและทุกช่วงวัย ปัญหาการอ่านส่งผลกระทบในวงกว้าง ตั้งแต่การเรียนรู้ในห้องเรียน การใช้ชีวิตประจำวัน ไปจนถึงโอกาสในอนาคต การแก้ไขปัญหานี้อย่างทันท่วงทีด้วยวิธีการสนับสนุนที่เหมาะสม เช่น การวินิจฉัยโดยผู้เชี่ยวชาญ การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่สมวัยและเติบโตได้ดีในอนาคต
Brain and Life พร้อมช่วยเด็กที่มีปัญหาด้านการอ่านด้วยโปรแกรมพัฒนาสมองที่ออกแบบเฉพาะสำหรับเด็กแต่ละคน มีผู้เชี่ยวชาญประเมินปัญหาอย่างละเอียดและดูแลอย่างใกล้ชิด และใช้วิธีการฝึกฝนที่เน้นทักษะที่เป็นปัญหา เช่น การอ่าน การจับใจความ และการพัฒนาความจำ โดยโปรแกรมนี้ไม่เพียงช่วยแก้ไขปัญหาการอ่าน แต่ยังส่งเสริมทักษะชีวิตที่สำคัญแก่เด็กเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวันในทุกด้าน