ความจำสั้นในเด็ก ไม่ใช่เรื่องเล็ก อย่ามองข้าม
หัวข้อย่อย
- ความจำสั้น คืออะไร
- สาเหตุที่ทำให้เด็กความจำสั้น
- เด็กความจำสั้นวิธีแก้ที่พ่อแม่ต้องรู้
- ความจำสั้นในเด็ก หากปล่อยไว้อาจกลายเป็นสมาธิสั้นได้
ปัญหาเรื่องการหลงลืม จำไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการลืมเรื่องที่ทำในกิจวัตรประจำวัน หรือเรื่องการทำงาน เช่น การลืมว่าตอนนี้เรากำลังจะทำอะไร ลืมขั้นตอนของงานว่าต้องทำอะไรบ้าง หรือแม้กระทั่งลืมว่าตัวเองวางโทรศัพท์ไว้ตรงไหน ทั้ง ๆ ที่เพิ่งจะถืออยู่เมื่อกี๊เอง หากมีอาการเหล่านี้บ่อย ๆ อาจเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความจำสั้นวิธีแก้นั้นก็มีอยู่หลายวิธีที่ที่จะช่วยให้เราสามารถฝึกสมองให้ความจำดีขึ้น ปัญหาในเรื่องขี้หลงขี้ลืมก็จะหายไป
ในวันนี้เราจะมาพูดถึงเด็กความจำสั้นกันค่ะ ซึ่งโดยปกติแล้วหากเป็นวัยอื่น ๆ ที่โตพอแล้ว เราจะสามารถสังเกตุและรับรู้เองได้เลยว่าเราขี้ลืมมากกว่าเดิม หรือมีปัญหาเกี่ยวกับความจำสั้น แต่ในวัยเด็กนั้นเขาจะยังไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาเป็นอยู่ถือว่าคืออาการเด็กความจำสั้น
หากพ่อแม่อยากรู้ว่าที่ลูกเราเป็นอยู่ถือว่าเป็นเด็กความจำสั้นหรือไม่ หรืออยากทราบว่าถ้าลูกความจำสั้นทำไงดี บทความต่อไปนี้จะทำให้พ่อแม่ที่กังวลว่าลูกน้อยของเรามีปัญหาความจำสั้นอยู่ ได้รู้จักกับอาการความจำสั้น รวมถึงวิธีฝึกสมองให้ความจำดีให้ลูกน้อยของเรากันค่ะ
ความจำสั้น คืออะไร
ความจำสั้น (Short-Term Memory หรือ STM) คือ หน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างจำกัด จะมีอยู่ภายในระยะเวลาที่สั้นๆ ความจำชนิดนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่ายและสามารถถูกลืมได้ภายในระยะเวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้น เราใช้ความจำระยะสั้นในการจำเพียงชั่วคราว เพื่อใช้ในการทำงานในช่วงเวลานั้น ๆ
สาเหตุที่ทำให้เด็กความจำสั้น
สาเหตุที่ทำให้เด็กความจำสั้นนั้นเป็นเพราะว่าสมองของเด็กยังอยู่ในวัยที่พัฒนายังไม่สมบูรณ์ เราจะสังเกตุเห็นได้ว่า เด็กในวัย 3-6 ขวบ จะจำได้แค่ในช่วงเวลาที่สั้น ๆ หรือมีอาการขี้ลืมบ่อย ๆ เพราะเด็กในวัยนี้อยู่ในวัยที่เริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง คิดถึงเรื่องของตัวเองเป็นหลัก หรือจะจำเฉพาะแค่เรื่องเกี่ยวกับตัวเองเพียงเท่านั้น
หากพ่อแม่พบว่าลูกที่กำลังอยู่ในช่วงวัยนี้ แล้วมีปัญหาขี้ลืมบ่อย ๆ อาจเป็นเพราะลูกยังไม่ถึงขั้นที่สมองพัฒนาได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าเด็กความจำสั้นจนถึงวัยที่สมองพัฒนาสมบูรณ์แล้ว สาเหตุของความจำสั้นนั้นอาจจะมาจากเรื่องอื่น ๆ เช่น การได้รับอุบัติเหตุที่อาจส่งผลถึงสมอง หากลูกเราโตเกินวัย 3-6 ขวบแล้ว แต่ยังมีอาการความจำสั้นวิธีแก้คือสิ่งที่พ่อแม่ต้องศึกษาไว้ เพราะถ้าปล่อยไปอาจจะเป็นปัญหาให้ลูกเราในอนาคตได้ค่ะ
อ่านเพิ่มเติม : เด็กขี้ลืม ความจำสั้น รับมืออย่างไร มีวิธีไหนช่วยให้ลูกความจำดีขึ้นบ้าง?
เด็กความจำสั้นวิธีแก้ที่พ่อแม่ต้องรู้
เมื่อพ่อแม่ทราบว่าอาการเด็กความจำสั้นในวัย 3-6 ขวบ เป็นเรื่องของพัฒนาการของสมองที่ยังไม่สมบูรณ์ แต่ก็ยังกังวลว่าหากลูกความจำสั้นทำไงดี หากลูกมีปัญหาความจำสั้นวิธีแก้ที่ต้องทำคืออะไร ควรให้ลูกได้เรียนเสริมพัฒนาการเลยดีไหม หรือมีวิธีฝึกสมองให้ความจำดี วิธีการแบบไหนที่ควรทำ หากพ่อแม่กำลังหาคำตอบนั้นอยู่ เรามีวิธีมาแนะนำ ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่สามารถฝึกให้ลูกได้เองที่บ้านค่ะ
- ให้ลูกพักผ่อนอย่างเพียงพอ
การนอนหลับถือว่าเป็นการให้ร่างกายและสมองของเราได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และในวัยเด็กการนอนหลับยังเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ทำให้ Growth Hormone หลั่ง หากเด็กไม่ได้รับการพักผ่อนที่เต็มที่ อาจทำให้พัฒนาการทั้งด้านร่างกายและสมองช้ากว่าเด็กคนอื่นที่อยู่ในวัยเดียวกันได้
- ดูแลเรื่องอาหาร ให้ลูกได้ทานอาหารที่มีประโยชน์
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะนอกจากจะช่วยพัฒนาสมองแล้ว ยังช่วยพัฒนาทางด้านร่างกาย และการรับประทานอาหารที่อร่อยยังทำให้ลูกมีความสุข ช่วยในเรื่องพัฒนาการด้านอารมณ์อีกด้วย เด็กในวัยนี้ควรได้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม
- ให้ลูกได้ออกกำลังกายหรือหากิจกรรมที่สนใจให้ลูกทำ
การออกกำลังกายหรือให้เขาได้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่เขาสนใจ อาจจะเป็นการวิ่งไล่จับ การเล่นซ่อนหา เมื่อร่างกายมีการออกกำลังจะทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดขึ้นไปเลี้ยงสมอง ทำให้สมองทำงานได้ดีมากขึ้น และสมองจะเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
- ไม่ให้ลูกทำกิจกรรมหลายอย่างพร้อมกัน
การที่ให้ลูกทำกิจกรรมหลายอย่างพร้อมกัน จะทำให้ลูกสับสนและไม่รู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง ควรจะเรียงลำดับความสำคัญก่อนและหลังสิ่งที่ต้องให้ลูกทำ ลูกจะได้โฟกัสกับสิ่งที่ทำได้ตรงจุด และมีสมาธิอยู่กับงานนั้น ๆ ได้มากขึ้น
- สร้างกิจวัตรให้ลูก
การสร้างกิจวัตรให้ลูกจะทำให้รู้ว่าในแต่ละวันเขาจะต้องทำอะไร จะต้องเตรียมตัวหรือเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง จะเป็นการฝึกให้ลูกมีวินัย ให้ลูกได้รู้ว่าเมื่อถึงเวลานี้แล้วเขาจะต้องทำอะไรบ้าง เช่น การกำหนดเวลาตื่นนอน เข้านอน การกำหนดเวลาอาบน้ำ การกำหนดเวลาที่ต้องทำการบ้าน การกำหนดกิจวัตรจะทำให้ลูกจดจำขั้นตอนกิจวัตรประจำวันได้ และไม่ลืมง่าย
- หาตัวช่วยในการจำ
อาจจะเป็นการเพิ่มโน๊ตหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไว้ในบ้าน ให้ลูกได้รู้ว่าในแต่ละวันลูกจะต้องทำอะไร เช่น การใช้กล่องข้าวเป็นรูปการ์ตูนที่เขาชอบ และอาจจะมีการติดสติ๊กเกอร์รูปแก้วน้ำลงบนกล่องข้าว เมื่อลูกทานข้าวเสร็จเขาจะได้จำได้ว่าต้องดื่มน้ำเปล่าต่อ
- อ่านนิทานหรือร้องเพลงกับลูก
การอ่านนิทานหรือการร้องเพลงจะเป็นการฝึกสมองให้ความจำดีขึ้น และยังช่วยเสริมสร้างจินตนาการให้ลูกน้อยได้อีกด้วย
- ฝึกให้ลูกได้ทบทวนบ่อย ๆ
เมื่อลูกกลับมาจากโรงเรียน ให้ลูกได้เล่าถึงสิ่งที่เขาได้ทำที่โรงเรียนว่าในวัน ๆ นั้นเขาได้ทำอะไรบ้าง ให้เขาทำการบ้านและทบทวนสิ่งต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้มา การให้เขาได้เล่าถึงสิ่งที่ทำในแต่ละวัน จะเป็นการช่วยกระตุ้นสมองให้เขาได้นึกถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาในวันนั้น ๆ ทำให้ลูกจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
- ฝึกบันทึกในเด็กโต
การให้ลูกได้ฝึกบันทึก จะคล้าย ๆ กับการที่ให้เขาได้ทบทวนความจำบ่อย ๆ แต่การจดบันทึกจะเป็นการทำงานร่วมกันของมือและสมอง ทำให้เขาจดจำได้ดีมากกว่า อาจจะเป็นการฝึกให้เขาเขียนบันทึกไดอารี่ หรือการวาดภาพที่สื่อถึงสิ่งที่เขาพบเจอมาในแต่ละวันก็ได้เช่นกัน
ดังนั้นหากลูกมีอาการความจำสั้นวิธีแก้ที่ดีที่สุดนั้นเราอาจจะบอกไม่ได้ว่าเป็นวิธีไหน เพราะในเด็กแต่ละคนการเรียนรู้และพัฒนาการก็แตกต่างกันออกไป รวมทั้งการเลี้ยงดูลูกของแต่ละบ้านก็ไม่เหมือนกันอีกด้วย ทางที่ดีพ่อแม่ควรศึกษาและปรับหาวิธีข้างต้นที่จะเข้ากับลูกเราได้ดีที่สุดจะดีกว่านะคะ
ความจำสั้นในเด็ก หากปล่อยไว้อาจกลายเป็นสมาธิสั้นได้
หากลูกน้อยไม่รู้หรือจำไม่ได้ว่าตัวเองจะต้องทำอะไร จะทำให้เขาให้ความสนใจกับสิ่งนั้น ๆ น้อยลง ทำให้เขาไม่อยากทำกิจกรรมนั้น ๆ หรืออาจมีสมาธิที่จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ การทำกิจวัตรประจำวันของเขาก็จะกลายเป็นเรื่องที่ยาก ซึ่งการฝึกสมองให้ความจำดีนั้นย่อมดีกว่า
อาการเด็กความจำสั้นหากพ่อแม่ปล่อยไว้ และไม่ได้ให้ความสนใจ จากที่ลูกแค่มีอาการหลงลืม หรือมีปัญหาเกี่ยวกับความจำสั้นในช่วงแรก ๆ หากไม่ได้รับการรักษาหรือการกระตุ้นความจำอย่างที่ควร อาจทำให้ลูกมีภาวะสมาธิสั้น หรือเป็นโรคสมาธิสั้นได้ในอนาคต
แต่ถ้าพ่อแม่ลองฝึกลูกตามวิธีการข้างต้นดูแล้ว แต่อาการเด็กความจำสั้นยังไม่ได้ดีขึ้นจากเดิม หากเป็นอย่างนี้แนะนำให้พาลูกมาเรียนเสริมพัฒนาการที่ Brain and Life ได้นะ เพราะเรามีคอร์สพัฒนาสมองที่ช่วยพัฒนาสมองเฉพาะบุคคล สามารถแก้ไขปัญหาความจำสั้นได้อย่างตรงจุดแน่นอน
นอกจากนี้ ทาง Brain and Life สามารถรักษาและพัฒนาศักยภาพของสมอง เพิ่มทักษะพื้นฐาน พัฒนาความจำ รวมไปถึงการแก้ไขเด็กสมาธิสั้นได้อีกด้วย Brain ยินดีให้คำปรึกษาฟรี สามารถติดต่อสอบถามเพื่อรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่นี่เลย
โรค ADHD หรือ ภาวะ สมาธิสั้นคือ ภาวะที่พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่ง สมาธิสั้นอาการ เบื้องต้นคือจะมีการแสดงความผิดปกติในการควบคุมสมาธิ, ความจำ และมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การพูดมากเกินไป พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง