เทคนิคการจำ! ทำยังไงให้จำได้นาน ๆ
หลายคนคงเคยประสบปัญหา ลืมง่าย นึกเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ออก จนกลายเป็นคน ขี้หลง ขี้ลืม ทั้งในเรื่องงาน การเรียน การใช้ชีวิตประจำวัน อาการแบบนี้อาจเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความเครียด การทำงานของสมอง อายุที่มากขึ้น หรือแม้แต่อาหารที่ทานในแต่ละวัน
บทความนี้จะมาแนะนำ เทคนิคการจำ ที่นำไปใช้ได้จริง ช่วยให้คุณ จดจำ ได้นานขึ้นและลืมยากขึ้น พร้อมทั้งวิธีดูแล และ ฝึกสมอง อย่างต่อเนื่องให้คงประสิทธิภาพได้อย่างยาวนาน
สารบัญ
- ทำไมเราถึง จดจำ ข้อมูลไม่ได้นาน
- ทำไมถึงลืมง่าย
- อะไรบ้างที่ช่วยให้จดจำได้นานขึ้น
- หมดปัญหา ขี้ลืม ด้วยการ ฝึกสมอง
- สรุป
ทำไมเราถึง จดจำ ไม่ได้นาน
การลืมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อเรารับข้อมูลใหม่ ๆ สิ่งหนึ่งที่พบกันทั่วไปคือ การลืมรายละเอียด ของข้อมูลที่เพิ่งได้รับมาค่อนข้างเร็ว เพราะข้อมูลที่เข้าสู่สมองถูกจัดเก็บไว้ใน ความจำระยะสั้น และถ้าไม่ได้ทบทวน ข้อมูลจะไม่ได้ถูกจัดเก็บใน ความจำระยะยาว การจดจำ ข้อมูลและนำกลับมาใช้จะเป็นเรื่องยากขึ้น เนื่องจากข้อมูลจะค่อย ๆ ถูกลืมอย่างช้า ๆ และลืมทั้งหมดในที่สุด
งานวิจัย Hermann Ebbinghaus,1885 พบว่า ผู้คนมักจะลืมข้อมูลไปกว่า 60% ภายในระยะเวลา 20 นาที ภายใน 1 ชั่วโมง จะสูญเสียข้อมูลจากความทรงจำไปกว่าครึ่ง และหลังจาก 8 ชั่วโมงข้อมูลที่ได้รับจะค่อย ๆ หายไป ถ้าไม่ได้รับการทบทวนเพิ่ม ข้อมูลจะถูกลืมไปมากขึ้นตามเวลา
ทำไมถึงลืมง่าย
การลืมเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ถ้ารู้สึกว่าลืมบ่อย ลืมง่าย จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน อาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น
- การทบทวน
หากไม่ได้มีการทบทวน สมองจะจัดเก็บข้อมูลในความจำระยะสั้น และเมื่อเวลาผ่านไป ความจำจะค่อย ๆ หายไป - การเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
การเชื่อมโยงข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่าจะช่วยให้สมองจัดระเบียบและจดจำได้ง่ายขึ้น หากเราไม่วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา สมองจะมีแนวโน้มที่จะลืมข้อมูลเร็วขึ้น - ความเครียดและความกังวล
ความเครียดมีผลต่อความสามารถใน การจำ การเรียนรู้ สมองของคนที่อยู่ในภาวะเครียดมักจะทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ จดจำ สิ่งต่าง ๆ ได้ยากและ ลืมง่าย ขึ้น - นอนหลับไม่เพียงพอ
สมองต้องพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูและจัดเก็บข้อมูล การนอนไม่พอจะทำให้การประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลของสมองลดลง ส่งผลให้ลืมได้ง่าย - สมาธิขณะรับข้อมูล
หากไม่ได้โฟกัสในการรับข้อมูล สมองจะไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลืมข้อมูลที่เพิ่งได้รับมาอย่างรวดเร็ว
อะไรบ้างที่ช่วยให้จดจำได้นานขึ้น
การใช้ เทคนิคการจำ
- การทำซ้ำหรือทบทวน (Repetition) การทำซ้ำหรือทบทวนซ้ำ ๆ เป็น เทคนิคการจำ ที่จะช่วยให้ข้อมูลถูกฝังลงในสมองได้ดีขึ้น การทำซ้ำบ่อย ๆ จะช่วยให้ข้อมูลถูกจัดเก็บไว้ในหน่วย ความจำระยะยาว ทำให้จำได้นานขึ้น
- การสร้าง Mind Map หรือแผนผังความคิด เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจำได้ดี เป็นการจัดระเบียบข้อมูลที่อยู่ในความจำออกมาอย่างเป็นระบบ การเชื่อมโยงข้อมูลใหม่และข้อมูลที่มี ทำให้มองเห็นภาพรวมได้ง่ายกว่าการท่องจำเนื้อหายาว ๆ
- ใช้เทคนิคการจำผ่านภาพ การสร้างเรื่องราวหรือภาพเคลื่อนไหวในหัว การดึงก็จะดึงภาพนั้นออกมาเหมือนโรงหนัง จะช่วยให้สมองจดจำข้อมูลได้ชัดเจนและยาวนาน
- แบ่งข้อมูลเป็นส่วนเล็ก ๆ (Chunking) การนำข้อมูลมาจัดเป็นส่วนเล็ก ๆ หรือแบ่งออกเป็นกลุ่ม จะช่วยให้สมองง่ายต่อการจดจำและทบทวน
- เทคนิคการสอนผู้อื่น การสอนผู้อื่นถือเป็นวิธีการทบทวนที่ดี การสอนจะทำให้เราต้องจัดระเบียบความคิดและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้สมองจดจำได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เราเห็นข้อบกพร่องของการจำหรือการทำความเข้าใจของตัวเอง และปรับปรุงได้ทันท่วงที
เกมฝึกสมอง สร้างความจำ
การใช้ เกมฝึกสมอง มีประโยชน์ในการเสริมสร้างและพัฒนาความจำ การใช้เกมประเภทต่าง ๆ เช่น เกมจับคู่ เกมปริศนา เกมจะกระตุ้นสมองให้เกิดการคิด วางแผน วิเคราะห์ ทำให้สมองทำงานได้อย่างเต็มที่ ช่วยเพิ่มความจำและลดความเสี่ยงของอาการขี้ลืม ตัวอย่างเช่น
- เกมจับคู่
ช่วยฝึกความจำระยะสั้น กระตุ้นสมองจากการได้เห็นภาพและจดจำ มีส่วนช่วยในการเพิ่มความจำระยะยาว - เกมปริศนา (Puzzle Games)
เกมต่อจิ๊กซอว์หรือเกมปริศนา การเล่นเกมเหล่านี้กระตุ้นการทำงานของสมองในด้านการคิด กลยุทธ์ การวางแผน และการมองเห็นภาพรวม ช่วยให้สมองสามารถจัดการกับข้อมูล การวางแผน ได้ดีขึ้นและเพิ่มความสามารถในการจำ - เกมคณิตศาสตร์หรือตัวเลข
ช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคำนวณ
อาหารบำรุงสมอง เพื่อความจำที่ดี
อาหารบำรุงสมอง มีบทบาทสำคัญในการบำรุงสมอง อาหารที่ดี มีประโยชน์ จะช่วยให้สมองทำงานอย่างเต็มที่และเสริมสร้างความจำ ยกตัวอย่างอาหารที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป เช่น
- ปลา ที่มีไขมันสูงจะช่วยเสริมสร้างความจำ
- ถั่วและเมล็ดธัญพืช ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่เซลล์ปลายประสาท บำรุงสมองและป้องกันความจำเสื่อม
- ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ช่วยป้องกันการสูญเสีย ความจำระยะสั้น และช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ประสาทในส่วนของฮิปโปแคมปัสที่ช่วยในเรื่องของความจำได้
- ชาเขียวและดาร์กช็อกโกแลต ช่วยเพิ่มความจำ บำรุงสมอง และยังลดภาวะความเครียดและวิตกกังวลได้
- ไข่ ในไข่ไก่มีสาร “โคลิน” จะทำหน้าที่สำคัญต่อการพัฒนาการ ระบบการทำงานของสมอง และความจำ
- ผักใบเขียวทุกชนิด มีสารอาหารที่สำคัญต่อระบบการทำงานของสมอง อุดมไปด้วยวิตามินอีและโฟเลท ที่สำคัญต่อพัฒนาการของสมองและระบบประสาท
ฝึกสมอง หมดปัญหา ขี้ลืม
ขี้ลืม ดูเหมือนเป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่ออายุมากขึ้น แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่สิ่งที่แก้ไขไม่ได้ โดยการ ฝึกสมอง ให้เหมาะสมกับทักษะ พัฒนาอย่างเป็นระบบ จะสามารถเพิ่มพื้นที่ความจำ เสริมสร้างความสามารถในการทำงานของสมองได้ดีกว่า
Brain and Life Center เรามีโปรแกรมฝึกสมองช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และทักษะให้ดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน โดยโปรแกรมฝึก BrainRx ใช้แบบฝึกหัดทางจิตวิทยา และเกมฝึกบำบัดสมอง เพื่อไม่ให้ผู้เรียนกังวลและเครียดเกินไป ช่วยป้องกันและชะลอการดำเนินของโรคสมองฝ่อ และปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามอายุ
การฝึกสมองจะเป็นกระบวนการที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง เซลล์ในสมองทำงานกันสัมพันธ์กันมากขึ้น ทำให้สมองสามารถจัดเก็บและดึงข้อมูลออกมาใช้ได้ง่าย นอกจากนี้ การฝึกสมองยังช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และป้องกันอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม ภาวะสูญเสียความทรงจำ Memory Loss
สรุป
การฝึกสมองและการใช้เทคนิคการจำ เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดปัญหาขี้ลืม จัดการกับความจำและการสร้างนิสัยที่ดีกับตัวเอง เช่น การทบทวนข้อมูล การดูแลสมองด้วยอาหารที่ดี สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถจดจำข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งใน ทันที ระยะสั้น ระยะยาว ไม่ว่าจะในเรื่องเรียน เรื่องงาน หรือชีวิตประจำวัน เพียงแค่เริ่มฝึกและปรับใช้เทคนิคง่าย ๆ เหล่านี้ คุณจะพบว่าความจำของคุณดีขึ้นและปัญหาเกี่ยวกับความจำหรือสมองจะค่อย ๆ เบาลง