
ลูกอ่านไม่ออก อาจเพราะเป็น LD และ Dyslexia ตรวจที่ไหน
เมื่อคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกมีปัญหาในการอ่าน อาจสงสัยว่าลูกมีภาวะ LD (Learning Disabilities) หรือ Dyslexia ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กมีความยากลำบากในการอ่าน อ่าน ไม่ ออก เขียน ไม่ ได้ และสะกดคำ หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางการเรียนรู้ในระยะยาวได้้ และถ้าหากสงสัยว่า ภาวะ LD หรือ Dyslexia ตรวจที่ไหน บทความนี้มีคำตอบค่ะ
สารบัญ
- LD (Learning Disabilities) คืออะไร
- Dyslexia คือ อะไร
- LD Dyslexia ต่างกันอย่างไร
- สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกอาจมีอาการเหล่านี้
- สาเหตุของ LD และ Dyslexia คือ
- ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการเรียนรู้และการพัฒนาของเด็ก
- การช่วยเหลือ และ การรักษา ภาวะการเรียนรู้บกพร่อง
- สรุป

LD (Learning Disabilities) คืออะไร
โรค LD หรือ โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning disorder) เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง ซึ่งทำให้เด็กมีความยากลำบากในการเรียนรู้ ทั่วโลกค้นพบ เด็ก LD ร้อยละ 5 และ พบในไทยถึงร้อยละ 6-7 โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษา เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้ ฝึกอ่าน เขียน ในโรงเรียนมากขึ้น แบ่งออกได้เป็น
1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder หรือ Dyslexia)
2. ด้านการเขียน (Written expression disorder หรือ Dysgraphia)
3. ด้านการคำนวณ (Mathematic disorder หรือ Dyscalculia)
Dyslexia คือ อะไร
Dyslexia คือ ภาวะที่เกิดขึ้นจากการทำงานของสมองผิดปกติ จัดเป็นความผิดปกติด้านการเรียนรู้ (Learning Disorder) ประเภทหนึ่ง ส่งผลต่่อ ความสามารถในการอ่าน เขียน และสะกดคำขณะอ่านจะมีปัญหาเกี่ยวกับการมองตัวหนังสือ มองเห็นตัวอักษรสลับตำแหน่ง ทำให้ไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่อ่านหรือเรียนรู้ได้ ทำให้ อ่าน ไม่ ออก เขียน ไม่ ได้ สามารถเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สติปัญญา ความสามารถในการเรียนรู้ และการมองเห็นเหมือนคนทั่วไป
โรค LD กับ Dyslexia ต่างกันอย่างไร
โรคทั้งสองเป็นอาการของความผิดปกติทางการเรียนรู้เหมือนกันแต่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย คือ
LD หรือ Learning Disorder ความผิดปกติในการเรียนรู้ เป็นคำที่ใช้เพื่ออธิบายกลุ่มของความผิดปกติที่มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ในลักษณะทั่วไป แบ่งออกเป็นความผิดปกติทางการเรียนรู้ได้ 3 ด้าน ครอบคลุมมากกว่า
Dyslexia คือ ความผิดปกติทางการเรียนรู้เฉพาะที่ส่งผลต่อการอ่านและการประมวลผลภาษา ส่งผลให้ อ่าน ไม่ ออก เขียน ไม่ ได้ เป็นประเภทหนึ่งของ Learning Disorder
สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกอาจมีอาการเหล่านี้
- ลูกพูดช้า กว่าเด็กในวัยเดียวกัน
- ออกเสียงคำที่มีหลายพยางค์ไม่ได้
- มีปัญหาเกี่ยวกับการจำตัวอักษร
- สะกดคำไม่ได้
สาเหตุของ LD และ Dyslexia คือ
สาเหตุของ LD (Learning Disabilities) และ Dyslexia คือ ความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ทั้งในแง่ของพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม
LD (ความบกพร่องทางการเรียนรู้)
- พันธุกรรม มีหลักฐานทางวิจัยที่ชี้ว่าความบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้ หากมีคนในครอบครัวมีปัญหาด้านการเรียนรู้ โอกาสที่ลูกจะเสี่ยงเป็น LD ก็จะสูงขึ้น
- ปัจจัยทางสมอง การเจริญเติบโตและการทำงานของสมองอาจผิดปกติ เช่น สมองส่วนที่เกี่ยวกับการอ่าน การเขียน หรือการคิดเลข ทำให้มีความล่าช้าหรือความยากลำบาก
- ปัจจัยสิ่งแวดล้อมก่อนคลอดและหลังคลอด การขาดออกซิเจนในขณะเกิด การสัมผัสกับสารพิษ เช่น สารตะกั่ว หรือการติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์ ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของสมองและการเรียนรู้ของเด็ก
- ปัญหาด้านพัฒนาการ เด็กที่เกิดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักตัวน้อยอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการพัฒนาความบกพร่องทางการเรียนรู้
สาเหตุของ Dyslexia (ภาวะบกพร่องในการอ่าน)
- พันธุกรรม เช่นเดียวกับ LD ถ้าพ่อแม่หรือญาติมีปัญหาเกี่ยวกับการอ่าน โอกาสที่เด็กจะมีปัญหาแบบเดียวกันจะสูงขึ้น
- สมอง สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลตัวอักษร เสียง ทำงานผิดปกติ ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการอ่านและการเรียนรู้ทางภาษา
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการเรียนรู้และการพัฒนาของเด็ก
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้และพัฒนาการช้าของเด็ก หากคนรอบตัวไม่รับรู้ถึงอาการของ เด็ก LD จะมองว่าเด็กนั้นขี้เกียจ พยายามกดดันหรือบังคับให้เรียนมากขึ้น เด็กที่ขาดความรู้และทักษะที่ควรได้รับตามวัย ยิ่งเปลี่ยนชั้นเรียนขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่ละวิชาจะมีเนื้อหาและข้อมูลที่ซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการเรียนรู้และพัฒนาของเด็กอาจแบ่งออกเป็นหลายด้าน
- ด้านสติปัญญา เด็กที่มีความบกพร่องด้านการอ่านและการเขียน อาจต้องใช้เวลานานในการทำความเข้าใจเนื้อหาหรืออาจสับสนกับข้อมูลที่เรียนรู้ ส่งผลให้การพัฒนาในการอ่าน เขียน หรือคิดช้ากว่าปกติ
- ด้านจิตใจ: เด็กอาจรู้สึกท้อแท้ เบื่อหน่าย ที่ไม่สามารถทำงานง่าย ๆ ได้ ส่งผลให้อารมณ์ไม่มั่นคง สูญเสียความมั่นใจ เกิดความเครียดและกดดันตัวเอง
- ด้านสังคม: การที่เด็กไม่สามารถทำได้ดีในเรื่องที่เพื่อนๆ ทำได้ง่าย เช่น การอ่านออก เขียนได้หรือ คำนวณ อาจทำให้เด็กรู้สึกไม่เข้าพวก ไม่อยากมีคุยกับเพื่อนเพราะตามไม่ทัน ไม่เข้าใจ และเกิดปัญหาด้านการเข้าสังคมตามมา
- ด้านพฤติกรรม: เด็กที่ประสบกับปัญหาในการเรียนรู้อาจแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เช่น การต่อต้าน การเบื่อหน่ายในห้องเรียน หรือแสดงพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตร เนื่องจากความเครียดหรือความผิดหวังจากการไม่สามารถทำได้ตามที่คาดหวัง

การช่วยเหลือ และ การรักษา ภาวะการเรียนรู้บกพร่อง
แนวทางการช่วยเหลือ และ การรักษาภาวะการเรียนรู้บกพร่อง เด็ก LD หรือ Dyslexia เมื่อพบว่าเด็ก ๆ มีพฤติกรรมบกพร่องดังกล่าว ควรพาไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ รวมถึงการประเมินทักษะด้านพื้นฐาน
การช่วยเหลือด้านการศึกษา ได้แก่
- ฝึกฝนการอ่านหนังสือ เน้นการฝึกซ้อมทุกวัน โดยเริ่มจากระดับที่เด็กสามารถทำได้ เพื่อเสริมความมั่นใจและทักษะ
- ฝึกการสะกดทุกวันโดยเริ่มจากพื้นฐาน การเข้าใจตัวอักษร เสียง ตัวสะกดมาตราต่าง ๆ ที่เด็กสามารถทำได้
- ปรับบทเรียน ให้มีรายละเอียดและง่ายต่อการเข้าใจมากขึ้น
แนะนำสถานที่หรือศูนย์ที่สามารถตรวจวินิจฉัย เด็ก LD หรือ Dyslexia ตรวจที่ไหน ในประเทศไทย
สถานที่ตรวจวินิจฉัย ภาวะ LD (Learning Disabilities) หรือ Dyslexia ในประเทศไทยสามารถทำได้ที่สถานพยาบาลหลายแห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่มีแผนกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น รวมถึงคลินิกพัฒนาการเด็ก นี่คือสถานที่แนะนำที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจและประเมินภาวะ
เช็กสถานพยาบาล เด็ก LD หรือ Dyslexia ใกล้บ้าน

ตรวจทักษะสมอง LD หรือ Dyslexia ไม่ต้องรอคิวนาน
หากการจองคิวเพื่อตรวจวินิจฉัยภาวะ LD หรือ Dyslexia ที่โรงพยาบาลต้องใช้เวลานานหลายเดือน กังวลใจกว่าจะได้พาลูกไปตรวจ ที่ Brain and Life Center สถาบันฝึกพัฒนาทักษะสมอง ให้บริการทดสอบทางสมองและพัฒนาการเด็ก ใช้การทดสอบ Gibson Test เพื่อตรวจหาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ ทักษะที่ต้องพัฒนา และ คอร์สฝึกสมองที่ออกแบบโปรแกรมเฉพาะบุคคล แก้ปัญหาได้ถูกจุด จึงตอบโจทย์พ่อแม่ที่กำลังมองหาการเรียนเพื่อฝึกทักษะการเรียนรู้ให้สมวัย เพื่อเพิ่มศักยภาพสมองและทักษะให้ลูก
สรุป
หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกอาจมีภาวะ LD หรือ Dyslexia ควรรีบพาลูกไปตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลหรือศูนย์พัฒนาการเด็กที่มีผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถให้คำแนะนำและการช่วยเหลือที่ตรงจุด ทำให้เด็กมีโอกาสพัฒนาการอ่านและเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ การตรวจวินิจฉัยเร็วจะช่วยให้ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับการพัฒนาการเรียนรู้ของลูก อีกทางเลือกหนึ่งหากรอคิวตรวจนาน คุณพ่อคุณแม่กังวลใจ สามารถมาตรวจทักษะสมองการคิดและการเรียนรู้ที่ Brain and Life Center ก่อนได้ค่ะ