โปรแกรมการฟื้นฟู ผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง

โปรแกรมการฟื้นฟู ผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง

หัวข้อย่อย

ผู้ป่วยที่สมองบาดเจ็บจะต้องได้รับการรักษาและดูแลอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการบาดเจ็บสมองนั้นมีผลกระทบต่อสุขภาพและความสามารถในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยได้โดยตรง การรักษาอาการบาดเจ็บทางสมองอาจเป็นไปตามความรุนแรงของบาดเจ็บและสถานะของผู้ป่วยเอง

โดยโปรแกรมการฟื้นฟูผู้ป่วยบาดเจ็บสมองสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งอาจจะรวมถึงการให้ยาสำหรับรักษาอาการบาดเจ็บให้ดีขึ้น หรือในบางกรณีอาจมีการฝังเข็มเพื่อลดอาการปวด หรือการผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บที่ได้รับ และอาจจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูการทำงานของสมองผ่านการทำกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดอื่น ๆ ตามอาการหรือความรุนแรงที่ผู้ป่วยในรายนั้นได้รับ ในบางกรณีผู้ป่วยบาดเจ็บสมองอาจต้องการการดูแลที่ใกล้ชิด และบางครั้งอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตรวมของครอบครัวผู้ป่วยด้วย เนื่องจากต้องมีคนมาดูแลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บตลอดเวลา ดังนั้นการรักษาและดูแลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บจำเป็นต้องให้ความสำคัญและพิถีพิถันอย่างยิ่ง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาสู่สภาพที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้โดยรวดเร็วและปลอดภัยที่สุด จากบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับสมองของพวกเขา

สาเหตุการบาดเจ็บที่ศีรษะ head injury

สาเหตุการบาดเจ็บที่ศีรษะ head injury

การบาดเจ็บที่ศีรษะ (Head injury) สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีได้รับการบาดเจ็บทั้งทางตรงและทางอ้อม สาเหตุสำคัญที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ ได้แก่

  1. การบาดเจ็บที่ศรีษะจากอุบัติเหตุ เช่น การชนกระแทก การที่หัวได้รับการชนกระแทกกับวัตถุแข็งโดยตรง อาจจะเป็นการวิ่งชนกระจก หรือมีของแข็งร่วงหล่นมาใส่หัว จะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ head injury โดยตรงได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรืออุบัติเหตุอื่น ๆ ที่หัวได้รับการกระแทกกับของแข็งโดยตรงอีกด้วย
  2. การบาดเจ็บที่ศรีษะจากระบบสมอง เช่น การเจ็บป่วยเรื้อรังไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคพาร์กินสัน หรือโรคอื่น ๆ ที่ทำให้สมองและระบบประสาทอ่อนแรงลง
  3. การบาดเจ็บที่ศรีษะจากกีฬา กิจกรรมกีฬาที่ต้องใช้แรงหรือมีความเสี่ยงสูงสามารถเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บทางสมองได้ เช่น การต่อสู้ ไม่ว่าจะเป็นเทควันโด มวย หรือกีฬาที่ต้องเล่นเป็นทีมแล้วมีการปะทะกัน เช่น เบสบอล ฟุตบอล บาสเกตบอล ซึ่งกีฬาเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่นักกีฬาจะโดนของแข็งที่ศรีษะหรือได้อุบัติเหตุในระหว่างการแข่งขัน
  4. การบาดเจ็บที่ศรีษะจากสภาพแวดล้อม เช่น การได้รับสารเคมีหรือสารพิษในสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่หรือได้รับจากที่ทำงาน การระเบิดของวัตถุหรือได้รับมลพิษทางอากาศเป็นประจำก็อาจทำให้สมองได้รับผลกระทบจากสิ่งเหล่านั้นได้
  5. การบาดเจ็บที่ศรีษะจากการทำงาน เช่น วิศวะหรือคนงานไซต์ก่อสร้างที่ต้องทำงานอยู่กับสิ่งก่อสร้างอยู่เป็นประจำ

การรับบาดเจ็บที่ศรีษะหรือสมองเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องระมัดระวัง เนื่องจากมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตหรือสมองได้รับผลกระทบจนไม่สามารถทำงานได้ ในผู้ป่วยบางรายเมื่อสมองได้รับการบาดเจ็บอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ไปตลอดชีวิต

การป้องกันโดยการสวมหมวกกันน็อคหรืออุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมในกิจกรรมที่เสี่ยง เป็นวิธีที่สำคัญในการลดความเสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บที่ศรีษะและสมองในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตามการที่มีการรักษาและการดูแลจัดการที่เหมาะสม หลังจากเกิดการบาดเจ็บที่สมองก็เป็นสิ่งสำคัญในการลดผลกระทบที่ร้ายแรงที่อาจเกิดในระยะยาวกับผู้ป่วยได้

กิจกรรมบำบัดสมอง

กิจกรรมบำบัดสมอง

กิจกรรมบำบัดสมอง เป็นกิจกรรมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยในการฟื้นฟูสมองหลังจากการบาดเจ็บหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับสมอง กิจกรรมเหล่านี้อาจช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาทางสมองกลับมาทำกิจกรรมประจำวันได้ดีขึ้น และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยได้เช่นกัน โดยสามารถทำกิจกรรมบำบัดสมองได้หลายวิธี ดังนี้

  1. การฝึกสมาธิ ช่วยให้สมองผ่อนคลายและลดความเครียด ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มให้สมองมีสมาธิเพิ่มขึ้น สามารถจดจ่อและมีระบบความคิดที่ดี นอกจากนี้การฝึกสมาธิยังช่วยปรับสมดุลทางอารมณ์ได้
  2. การฝึกสมรรถภาพทางกาย การออกกำลังกายที่เหมาะสมช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและเพิ่มพลังงาน ซึ่งส่งผลในการเสริมสร้างเซลล์สมองและการเสริมสร้างการเชื่อมต่อทางประสาทในสมองได้ด้วย
  3. การฝึกความจำ การฝึกความจำช่วยเพิ่มความสามารถในการจดจำและการเรียนรู้ ซึ่งสามารถทำได้ผ่านการแก้ปัญหา การเรียนรู้ภาษาใหม่ รวมถึงการเล่นเกมที่ต้องใช้ความจำก็สามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองได้
  4. การฝึกการคิดเชิงบวก ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาทางสมองมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในการฟื้นฟูสมองของตนเองได้
  5. การเล่นเกม การเล่นเกมและปริศนาช่วยให้สมองฝึกการคิด เรียนรู้และเพลิดเพลินได้เช่นกัน
  6. การฝึกการพูด การฝึกพูดและใช้ภาษาช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาทางสมองสามารถพูดและเข้าใจภาษาได้ดีขึ้น
  7. การทำกายภาพบำบัด การทำกายภาพบำบัด ไม่ว่าจะเป็นการฝึกการเดินช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาทางสมองเรียนรู้การควบคุมการเคลื่อนไหวและความสมดุลในการเดินได้ หรือการฝึกบริหารมือ ช่วยให้สมองฝึกการควบคุมการเคลื่อนไหวและการปรับปรุงทักษะการใช้มือ เพราะมือทำงานสัมพันธ์กับสมองโดยตรง เมื่อฝึกการใช้มือบ่อย ๆ สมองก็จะถูกกระตุ้นและทำงานไปด้วย
  8. การเล่นดนตรีการเล่นดนตรีช่วยกระตุ้นสมองและส่งผลในการลดความเครียดและเพิ่มความผ่อนคลายให้กับสมองได้

การบำบัดสมองมักจะเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างต่อเนื่อง และควรทำร่วมกับนักกายภาพบำบัดหรือแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านสมอง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและผู้ป่วยจะได้รับความปลอดภัยในการฟื้นฟูสมองอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม 10 เคล็ด(ไม่)ลับ พัฒนาสมองให้เราสามารถมีสมองให้ฉลาดล้ำได้ในทุกช่วงวัย และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

โปรแกรม การฟื้นฟูผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง

ที่ Brain and Life Center เรามีโปรแกรมการฟื้นฟูผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง ที่ออกแบบมาเพื่อฝึกสมองผู้ป่วยบาดเจ็บสมองให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ง่ายเหมือนเดิมโดยเฉพาะ โดยโปรแกรมนี้มีชื่อเรียกว่า Brain Injury Training ซึ่งโปรแกรมนี้จะช่วยฝึกอบรมในเรื่องของคนที่ได้รับบาดเจ็บทางสมอง การฝึกสมองในคอร์สเรียนนี้จะเน้นไปที่การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษาและการดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บสมอง โดยคอร์สเรียนของเรามุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบาดเจ็บสมอง และวิธีการช่วยเหลือผู้ป่วยหลังจากฟื้นตัวเมื่อได้รับการรักษาทางสมอง

นอกจากนี้โปรแกรมของเรายังเป็นการฝึกสมองกับครูฝึกแบบตัวต่อตัว ซึ่งครูฝึกของเราเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองโดยตรง เมื่อได้ฝึกสมองกับเราแล้วจะช่วยเพิ่มทักษะทางสมองต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยทีละขั้นตอน จนสมองสามารถทำงานได้เต็มศักยภาพเหมือนเดิม หากสนใจสามารถทักปรึกษาที่ Brain ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

อ่านเพิ่มเติม Brain Injury Training คืออะไร?

GibsonTest_CTAmotion-gif

This will close in 0 seconds