บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคสมาธิสั้น หรือ Attention Deficit Hyperactive Disorder หรือที่เรียกย่อๆว่า ADHD ซึ่งสามารถพบได้ในหลายรูปแบบ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย บางทีจริงๆแล้วคุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น ลูกอาจจะแค่ซุกซน อยู่ไม่นิ่ง ตามพัฒนาการของช่วงวัยนั้นๆ
พัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆเพราะอยู่ใกล้ชิดกับตัวเด็กโดยตรง และสิ่งแวดล้อมรอบตัวของเด็ก สังคมของเพื่อน เป็นปัจจัยรองลงมา ในปัจจุบันมีแนวโน้มพบเด็กสมาธิสั้นเพิ่มมากขึ้นจากเดิม โดยสาเหตุหลักคือการปล่อยให้ลูกอยู่กับสื่อออนไลน์มากเกินไป จะทำให้เกิดปัญหาในส่วนของสมองด้านความจำลดน้อยลง เด็กจะจดจ่อกับเรื่องที่ผ่านตารวดเร็วเกินไป จนทำให้เด็กไม่สนใจสิ่งต่างๆรอบข้าง และไม่ยอมละสายตาจากจอส่งผลให้เด็กสมาธิสั้น นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบไปถึงความสัมพันธ์ของครอบครัวลดน้อยลง การปรับพฤติกรรมของลูกเบื้องต้นจะต้องพยายามจำกัดเวลาการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของเด็กไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้เด็กมีเวลาอยู่กับครอบครัวและทำกิจกรรมร่วมกันเพิ่มมากขึ้น
1. สาเหตุโรคสมาธิสั้น
1.1 ปัจจัยทางพันธุกรรม
สาเหตุของโรคสมาธิสั้นนั้นร้อยละ 75 เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งพบว่ามีการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ผิดปกติโดยเฉพาะบริเวณที่ทำงานเกี่ยวกับการคิด การวางแผน และจากสถิติพบว่าผู้ที่มีอาการสมาธิสั้นมักจะมีประวัติคนในครอบครัวมีอาการเช่นเดียวกัน
1.2 ปัจจัยทางพัฒนาการและปัจจัยทางสังคม
อีกปัจจัยหลักที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้นหรือเป็นเด็กสมาธิสั้นประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยใหญ่ๆ ได้แก่
ปัจจัยทางพัฒนาการ ซึ่งเป็นปัญหาช่วงตั้งครรภ์ในคุณแม่บางรายอาจทำให้เป็นเด็กสมาธิสั้นได้ อาทิเช่น การคลอดก่อนกำหนด หรือคุณแม่ประสบอุบัติเหตุทางศรีษะเป็นต้น
ปัจจัยทางสังคม การถูกเลี้ยงดูอย่างไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดอาการสมาธิสั้นได้ เช่น การให้ลูกเล่นแต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เล่น Social media มากเกินไป การถูกทารุณกรรม เป็นต้น
2. อาการสมาธิสั้น
สมาธิสั้นอาการเป็นอย่างไรนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มอาการ ดังนี้
2.1 พฤติกรรมขาดสมาธิ
- ขี้ลืม
- ไม่เป็นระเบียบ
- ไม่ค่อยฟังและทำตามคำสั่ง
- เหม่อลอย
- จดจ่ออะไรนานๆไม่ได้
- ไม่ชอบงานที่จะต้องใช้สมาธิ
2.2 พฤติกรรมซุกซนไม่อยู่นิ่ง
- ไม่รู้จักการรอคอย
- ชอบวิ่ง ปีนป่ายตลอดเวลา
- ไม่มีความอดทน
- ทำพฤติกรรมกวนใจคนรอบข้างอยู่เสมอ
2.3 พฤติกรรมขาดความยับยั้งชั่งใจ
- หุนหันพลันแล่น
- รอคอยอะไรไม่ได้
- มีความอดทนต่ำ
- ใจร้อน วู่วาม
- อยากได้อะไรต้องได้ตอนนั้น
3. ความแตกต่างของเด็กสมาธิสั้นกับเด็กซน
จริงๆแล้วความซนเป็นเรื่องปกติของวัยเด็กที่กำลังจะโต แต่อาการซุกซนของลูกน้อยที่มากเกินไปอาจทำให้ลูกของเราเข้าข่ายเป็นเด็กสมาธิสั้นได้ ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่าลูกของเราเสี่ยงเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ วันนี้ Brain and life center มีแบบคัดกรองเด็กสมาธิสั้นเบื้องต้น มาให้ลองทำกันก่อนได้เลย ซึ่งเป็นแบบคัดกรองที่คุณพ่อคุณแม่ต้องประเมินลูกน้อยของตัวเอง หรือผู้ปกครองหรือผู้ดูแลที่อยู่อาศัยหรือดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 เดือน
แบบคัดกรองสมาธิสั้น
คำชี้แจง
1. สังเกตลักษณะพฤติกรรมหรือปัญหาการเรียนที่เด็กแสดงบ่อย ๆ และทำเครื่องหมายลงในช่อง “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” ที่ตรงกับพฤติกรรมหรือปัญหาของเด็ก
2. ผู้ที่ทำแบบคัดกรองนื้คือ ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลที่อยู่อาศัยหรือดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 เดือน
ข้อที่ | ลักษณะ/พฤติกรรม | ใช่ (1 คะแนน) | ไม่ใช่ (0 คะแนน) |
1 | ซนมาก อยู่ไม่นิ่ง ยุกยิดตลอดเวลา | ||
2 | พูดมาก | ||
3 | ชอบลุกจากที่นั่งเวลาอยู่ในห้องเรียน | ||
4 | เหม่อบ่อย ๆ ใจลอย ต้องคอยเรียก | ||
5 | ขี้ลืม ของใช้ส่วนตัวหายบ่อย ๆ | ||
6 | ทำงานไม่เรียบร้อย ไม่รอบคอบ | ||
7 | ไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือทำได้เพียงช่วงสั้น ๆ | ||
8 | ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จ แต่ถ้ามีคนประกบก็จะทำได้เร็วขึ้น | ||
9 | รอคอยไม่ได้ | ||
10 | ใจร้อน ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ |
4. วิธีการรักษาเด็กสมาธิสั้น
การรักษาเด็กสมาธิสั้นต้องใช้ความร่วมมือกับคนรอบข้างหลากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น เพื่อน หรือครอบครัว ซึ่งเบื้องต้นสามารถรักษาอาการสมาธิสั้นได้โดย
4.1 ค่อยๆปรับพฤติกรรมของเด็กให้เริ่มรู้จักกับการอดทน รอคอย
4.2 ฝึกวินัยให้กับเด็ก กำหนดวิธีการเป็นขั้นเป็นตอน
4.3 การเล่นและการออกกำลังกาย หาเวลาทำกิจกรรมกับลูกอยู่เสมอไม่ควรปล่อยลูกอยู่หน้าจอเพียงลำพัง
4.4 ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อแก้อาการสมาธิสั้น
5. สรุป
เด็กสมาธิสั้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้าง รวมถึงรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งจะต้องคอยสังเกตลูกของเราอยู่เสมอเพื่อพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัยของลูกน้อย เพื่อการรักษาที่ตรงจุดจะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือศูนย์พัฒนาสมองที่น่าเชื่อถือ เพื่อประสิทธิภาพที่ตรงมากยิ่งขึ้น