วิธีแก้เด็กสมาธิสั้น
สมาธิสั้นในเด็กเป็นภาวะของการทำงานที่ผิดปกติ ซึ่งถือเป็นเรื่องท้าทายสำหรับบุคคลรอบข้างที่ต้องใช้ชีวิตด้วย เช่น คุณครู หรือ พ่อแม่ผู้ปกครอง หากลูกของท่านมีภาวะสมาธิสั้น พวกเขาอาจเกิดความวิตกกังวลหรือเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้มากขึ้น เนื่องจากรู้สึกแย่กับสิ่งที่เป็น รวมถึงวิธีที่ผู้อื่นตอบสนองกับพวกเขาเมื่อต้องเข้าสังคม
สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกของคุณอาจมีอาการสมาธิสั้น มีดังต่อไปนี้
- พูดวกไปวนมา
- พูดโพล่งออกมา
- จดจ่อกับการเรียนไม่ได้
- มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น
- มักทะเลาะเบาะแว้งกับผู้อื่น
แนะนำอ่านเพิ่มเติม
| เช็คด่วน! ลูกคุณเข้าข่ายสมาธิสั้นหรือไม่?
การใช้โทรศัพท์ส่งผลให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น
ปัจจุบันสมาร์ทโฟนเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไป ผู้คนส่วนใหญ่มีสมาร์ทโฟนเป็นของตนเองและในผู้ปกครองบางคนใช้สมาร์ทโฟนเพื่อลดการรบกวนของลูก เนื่องจากต้องทำงานหรือมีสิ่งที่ต้องทำ ดังนั้นการลดการรบกวนของลูกที่ได้ผลดีมากที่สุดคือ การยื่นสมาร์ทโฟนให้ลูกเล่น
นักวิจัยเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างการใช้สมาร์ทโฟนกับโรคสมาธิสั้น มีเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นเพิ่มมากขึ้นทำให้นักวิจัยตั้งข้อสงสัยว่าเทคโนโลยีการใช้สมารืทโฟนที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลกระทบต่อระดับความสนใจและสมาธิของเด็กและวัยรุ่น ซึ่งการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กที่เล่นเกมส์บนโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนมีความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้นเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้ปกครองควรกำหนดเวลาการใช้โทรศัพท์มือถือให้แก่เด็กและคอยสอดส่องสิ่งที่เด็กเล่น เด็กจะไม่รู้สึกว่าถูกลงโทษหากมีกิจกรรมอื่นๆ ให้ทำ (Chaturongkul Chollapat, มปป.: ออนไลน์ )
วิธีแก้เด็กสมาธิสั้นมีวิธีไหนบ้าง?
วิธีแก้อาการสมาธิสั้นในเด็ก (ADHD หรือ ADD) มีหลายวิธีที่นิยมใช้ในการรักษา ซึ่งล้วนส่งเสริมความสามารถในการจดจ่อและควบคุมพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นของเด็กให้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
2. การรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
6. การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้สมาธิสั้น
การเสริมสร้างสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในวิธีแก้ไขเด็กสมาธิสั้น ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านการเข้าสังคมและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นของเด็กที่สมาธิสั้นรวมถึงช่วยลดความตึงเครียดและความยุ่งยากที่อาจะเกิดขึ้นกับทั้งตัวเด็กและครอบครัวของพวกเขาด้วย
การใช้ยาแก้สมาธิสั้น
ยากระตุ้นชนิดต่างๆ เช่น ยาริทาลิน (Ritalin) และ ยาแอดเดอรัล (Adderall) มักเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้เป็นวิธีแก้ไขเด็กสมาธิสั้น แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดและควรรักษาด้วยวิธีอื่นควบคู่ด้วย
ยาแก้สมาธิสั้นสำหรับรักษาเด็กที่มีอาการสมาธิสั้นอาจช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้นหรือนั่งนิ่งๆ ได้นานขึ้น แต่จนถึงปัจจุบัน วิธีแก้เด็กสมาธิสั้นวิธีนี้มีหลักฐานเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้นที่แสดงให้เห็นว่า ในระยะยาว พวกเขามีพัฒนาการที่ดีขึ้นในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเรียน ด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือแม้แต่ในระยะสั้น การรักษาด้วยยาก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือช่วยให้โรคสมาธิสั้นหายไปได้ทั้งหมด อาจกล่าวได้ว่า การรักษาด้วยยาควรเป็นการรักษาทางเลือกที่ใช้ควบคู่กับการรักษาหลัก โดยมีข้อควรพึงระวังดังต่อไปนี้
1. ผลข้างเคียงจากฤทธิ์ยาแก้สมาธิสั้น
อาจมีผลเสียต่อสมองที่กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาของเด็ก และผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น หงุดหงิด เบื่ออาหาร หรือแม้แต่นอนไม่หลับ
2. เด็กแต่ละคนมีการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างกัน
เด็กบางคนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างมากหลังทานยา ในขณะที่บางคนแทบไม่เห็นผลเลย ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นหลังการใช้ยาก็ยังมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งในบางรายอาจมีผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากทุกคนตอบสนองไม่เหมือนกัน การเลือกรักษาด้วยชนิดยาและขนาดยาที่เหมาะสมจึงจำเป็นต้องใช้เวลา
3. ยาสำหรับเด็กสมาธิสั้นจะได้ผลดียิ่งขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ
วิธีแก้ไขเด็กสมาธิสั้นด้วยการใช้ยาจะมีผลลัพธ์ไปในทิศทางที่ดีมากขึ้น หากมีการสอนทักษะการแก้ปัญหาต่างๆ ร่วมด้วย
4. ควรติดตามการใช้ยาแก้สมาธิสั้นอย่างใกล้ชิด
การรักษาด้วยยาสำหรับเด็กสมาธิสั้นนั้น ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อติดตามผลและปรับขนาดยาให้เหมาะสมตามอาการ เมื่อการใช้ยาไม่ได้อยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด อาจส่งผลให้ยามีประสิทธิภาพน้อยกว่าที่ควร และมีความเสี่ยงในการใช้ยามากยิ่งขึ้น
5. ไม่จำเป็นต้องใช้ยาไปตลอดชีวิต
เด็กสามารถหยุดใข้ยาได้ถ้าอาการไม่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หากท่านต้องการให้ลูกน้อยของท่านหยุดใช้ยา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเพื่อจะได้วางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
อาหารที่ดีช่วยรักษาอาการสมาธิสั้นในเด็ก
พ่อแม่มีส่วนสำคัญหลักในการช่วยทำให้อาการของลูกน้อยเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะสามารถเลือกอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและดีต่อสุขภาพให้ลูกน้อยเลือกรับประทานได้ จากผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กมีความเกี่ยวข้องกับโรคสมาธิสั้น ซึ่งอาจแก้ไขได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1. ไม่ปล่อยให้ลูกน้อยท้องว่างเกิน 3 ชั่วโมง
วิธีนี้จะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดของลูกน้อยคงที่ ช่วยลดความหงุดหงิดและเพิ่มสมาธิและการโฟกัสได้มากยิ่งขึ้น
2. เพิ่มโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในแต่ละมื้อ
อาหารเหล่านี้จะช่วยให้ลูกคุณรู้สึกตื่นตัวมากขึ้น และลดอาการสมาธิสั้นได้ในเวลาเดียวกัน
3. ตรวจวัดระดับสังกะสี ธาตุเหล็ก และแมกนีเซียม
เด็กหลายคนที่สมาธิสั้นมีแร่ธาตุเหล่านี้ในระดับที่ต่ำ การเพิ่มระดับของแร่ธาตุเหล่านี้อาจช่วยควบคุมอาการสมาธิสั้นได้ จากการศึกษาพบว่า การเสริมธาตุเหล็กช่วยให้อาการดีขึ้นเกือบเทียบเท่าการใช้ยารักษา
4. รับประทานกรดไขมันโอเมก้า 3
จากการศึกษาพบว่า โอเมก้า 3 ช่วยลดอาการสมาธิสั้นและความหุนหันพลันแล่น ทั้งนี้ กรดไขมันโอเมก้า 3 สามารถพบได้ในปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน และผลิตภัณฑ์จากนม อย่างไรก็ตาม วิธีที่ง่ายที่สุดในการได้รับสารอาหารประเภทกรดไขมันโอเมก้า 3 คือ การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปน้ำมันปลา
การออกกำลังกายรักษาโรคสมาธิสั้นได้อย่างไร?
การออกกำลังกายคือหนึ่งในวิธีแก้อาการสมาธิสั้นที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ สามารถรักษาอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้นได้ เนื่องจากช่วยเพิ่มระดับสารในร่างกายเรื่องการโฟกัสสิ่งต่างๆ และเพิ่มสมาธิมากขึ้น เช่น สารโดพามีน สารนอร์อิพิเนฟริน สารเซโรโทนิน อาจกล่าวได้ว่า ทั้งการออกกำลังกายและการใช้ยารักษา เช่น ยาริทาลิน (Ritalin) และ ยาแอดเดอรัล(Adderall) ล้วนมีประสิทธิภาพในการรักษาที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน เพียงแค่การรักษาด้วยการออกกำลังกายนั้นเป็นวิธีที่ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ที่ตามมา
การออกกำลังกายที่ได้เน้นการเคลื่อนไหวของร่างกายเช่น การเต้น ยิมนาสติก ศิลปะการต่อสู้ และสเก็ตบอร์ด ล้วนเป็นกีฬาที่เหมาะสำหรับให้เด็กใช้เป็นวิธีแก้อาการสมาธิสั้น นอกจากนี้กีฬาที่เน้นการเล่นเป็นทีม ก็ทำให้เด็กกลุ่มนี้รู้สึกสนุกและมีสมาธิจดจ่อได้มากขึ้นเช่นกัน
ธรรมชาติสามารถบำบัดอาการสมาธิสั้นได้อย่างไร?
จากผลการศึกษาพบว่า การให้เด็กใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติสามารถลดอาการสมาธิสั้นในเด็กลงได้ ดังนั้น พ่อแม่อาจส่งเสริมให้ลูกน้อยออกไปเล่นข้างนอกอย่างน้อย 30 นาที ก็อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดี
การนอนหลับกับโรคสมาธิสั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไร?
การนอนหลับที่มีคุณภาพ ถือเป็นวิธีแก้อาการสมาธิสั้นในเด็กอีกวิธีหนึ่ง ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม เด็กจำนวนมากที่มีอาการนี้อาจมีปัญหาด้านการนอนหลับเนื่องจากผลข้างเคียงของการใช้ยา วิธีการแก้ไขเบื้องต้น อาจเริ่มจากการลดขนาดการใช้ยาหรือหยุดการใช้ยาไปเลย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเด็กที่มีอาการสมาธิสั้นจะไม่ใช้ยาในการรักษา แต่ก็อาจพบปัญหาในการนอนหลับได้ หากลูกน้อยของท่านเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหานี้ สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1. ปรับเวลานอนของลูกน้อยใหม่
2. หลีกเลี่ยงการดูโทรทัศน์ เล่นโทรศัพท์ ก่อนนอนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
3. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายก่อนนอน
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญถึงวิธีแก้เด็กสมาธิสั้น
แม้ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถดูแลลูกน้อยที่มีอาการสมาธิสั้น ได้ด้วยตัวเองที่บ้าน แต่นั่นอาจไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขเด็กสมาธิสั้นที่เหมาะสมคือ การที่ดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิดร่วมกับการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือศูนย์พัฒนาสมองที่น่าเชื่อถือเพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดีมากยิ่งขึ้น
ร่วมกันหาวิธีแก้เด็กสมาธิสั้นที่เหมาะสมกับลูกคุณที่ศูนย์พัฒนาสมอง Brain and Life
ทางศูนย์พัฒนาสมอง Brain and Life ได้รับการรับรองจาก BrainRx ซึ่งเป็นสถาบันส่งเสริมประสิทธิภาพสมองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีโปรแกรมที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุดังต่อไปนี้