Brain Plasticity

ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงของสมอง

Brain Plasticity

Brain Plasticity หมายถึง ความสามารถของสมองที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดชีวิต โดยการสร้างเซลล์ประสาทใหม่เรียกว่า Brain Plasticity หรือ Neuroplasticity คือการที่สมองสามารถฟื้นตัวและปรับโครงสร้างตัวเองได้หลังจากอาการบาดเจ็บหรือการเสื่อม เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease), การเสื่อมสภาพของทักษะการคิด (Cognitive deterioration), and โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease), การบกพร่องทางการอ่าน (Dyslexia), สมาธิสั้น (ADHD) เป็นต้น

ฮันนาห์ คริตช์โลว์ นักประสาทวิทยา บอกว่า นี่คือสิ่งที่งานวิจัยด้านสมองล่าสุดอาจบอกเรา ในช่วงที่วิชาประสาทวิทยาศาสตร์เริ่มเกิดขึ้นไม่นาน มีหลักการที่บอกว่า เส้นประสาททุกเส้นในสมองถูกสร้างขึ้นก่อนการเกิด และเมื่อสมองเกิดความเสียหาย เราไม่สามารถรักษามันได้ เป็นเวลาหลายปีที่นักประสาทวิทยาจำนวนมาก เชื่อว่า โครงสร้างสมองของผู้ใหญ่อยู่คงที่ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ มีอย่างไร ก็อยู่อย่างนั้น แต่ในช่วงทศวรรษ 1960 ความเชื่อนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงไป การวิจัยทดลองใหม่ได้ให้ผลที่ขัดแย้งจากเดิม โดยพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า อันที่จริงแล้ว สมองอาจถูกสร้างขึ้น อาจจะปรับตัว หรือ เติบโต และแม้แต่เกิดขึ้นมาใหม่ได้ (BBC, 2019: ออนไลน์)

br-synaptic

Synaptic Plasticity

การเปลี่ยนแปลงของสมองโดยการสร้างเซลล์ประสาทใหม่

เมื่อเราเรียนรู้ หรือมีการจดจำสิ่งใหม่ๆ สมองจะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยการสร้างเซลล์ประสาทขึ้นใหม่ โดยความแข็งแรงของเส้นใยนี้จะขึ้นอยู่กับการฝึกฝนในชีวิตประจำวัน ยิ่งฝึกฝนมาก เซลล์ประสาทก็จะยิ่งแข็งแรง เซลล์ประสาทจะเชื่อมต่อกันด้วย synapse หรือที่เรียกว่า จุดประสานประสาท การที่เรายิ่งฝึกบ่อยๆจะยิ่งทำให้การเชื่อมต่อของ เซลล์ประสาทแข็งแรงขึ้น และการเชื่อมต่อที่แข็งแรงขึ้นก็จะทำให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ตัวอย่างการเรียนรู้ของสมอง เช่น เมื่อเราเห็นนกชนิดหนึ่งที่ไม่เคยเห็น แล้วเราพยายามจะจำลักษณะของมัน จะเป็นช่วงที่การเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทที่มีความจำเพาะเริ่มสร้างขึ้น เช่นเซลล์ประสาททีี่ทำหน้าที่จดจำสีของนก เซลล์ประสาทด้านการฟังก็จะพยายามฟังเสียงนก และเซลล์อีกประเภทหนึ่งก็จะนึกชื่อชนิดของนก เพื่อที่จะสามารถบ่งบอกได้ว่าเป็นนกอะไร โดยการดูจากลักษณะ สี และเสียง และฝึกท่องจำชื่อชนิดของนกซ้ำๆ

br-plasticity

Brain Plasticity

แบ่งเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย

  1. การเปลี่ยนแปลงของกระบวนการทำงาน ความสามารถของสมองในการย้ายการทำงานจากสมองฝั่งที่บาดเจ็บไปใช้งานสมองฝั่งที่ปกติแทนได้
  2. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ความสามารถของสมองในการเปลี่ยนโครงสร้างทางกายภาพอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ (Cherry Kendra, 2019: ออนไลน์)

ปัจจัยที่ทำให้สมองเกิดการเปลี่ยนแปลง

นอกเหนือจากปัจจัยทางพันธุกรรมแล้ว มีปัจจัยต่างๆ ที่อยู่รอบตัวของเรา รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตก็มีบทบาทต่อการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองได้ เช่น

  1. ในตอนเริ่มต้นของการมีชีวิต: สมองของคนเราก็เริ่มมีการพัฒนา หรือเปลี่ยนแปลงตัวของมันเองตามธรรมชาติ ซึ่งในช่วงวัยเด็กอายุระหว่าง 3-11 ปีการพัฒนาทางสมองไม่ได้เกิดขึ้นอย่างที่เคยเป็นมาในช่วงปีแรก ๆ หรือจะเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงวัยรุ่น เพื่อการพัฒนาสมองที่ดีที่สุด เด็กควรได้เรียนรู้ทักษะในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการ ศิลปะ ร่างกาย สังคม อารมณ์ และความรู้ความเข้าใจ เนื่องจากวัยเด็กเป็นเวลาสำหรับการสำรวจ การเรียนรู้ พัฒนาและแสวงหานิสัยที่ดีของจิตใจมาสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับการเรียนรู้และการพัฒนาในอนาคต (Matthews Dona, 2018: ออนไลน์)
  2. ในตอนที่สมองได้รับบาดเจ็บ: จะมีการชดเชยสมองส่วนที่เสียไปโดยสมองส่วนที่ดี หรือกล่าวง่ายๆคือให้สมองส่วนที่ดีได้ทำงานมากขึ้น
  3. ในระหว่างที่เป็นผู้ใหญ่: การได้เรียนรู้และจดจำสิ่งใหม่ๆ (Michelon Pascale, 2008: ออนไลน์) มีหลายสิ่งที่ถูกกำหนดไว้จากพันธุกรรมของคุณ แต่สมองสามารถเติบโตต่อไปได้ เซลล์ประสาทสามารถเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและความเป็นผู้ใหญ่นี้สามารถเพิ่มการเชื่อมต่อภายในสมองของคุณได้มากขึ้น ซึ่งสามารถช่วยให้คุณเก็บข้อมูลได้มากขึ้น สังเคราะห์สถานการณ์ที่ยากลำบาก และมีทักษะในการแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น (Jon Boztepe Kaan, 2019: ออนไลน์)

Neuroplasticity กับ Depression, Anxiety, Anger และอื่นๆ

การรักษานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อช่วยเรื่องอาการซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความโกรธ หรือความผิดปกติด้านการเรียนรู้ เนื่องจากอาการป่วยเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนที่สมองของคุณจะได้รับบาดเจ็บ แต่อาการทางอารมณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากการบาดเจ็บที่สมองของคุณสามารถรักษาได้ หากแพทย์หรือผู้ดูแลสามารถเชื่อมโยงอาการทางอารมณ์ดังกล่าวกับการบาดเจ็บทางสมองที่เกิดขึ้น กล่าวคือ สามารถหาสาเหตุของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ก็จะทำให้ทราบถึงแนวทางในการที่จะใช้รักษานั่นเอง (Fong Alina, 2019: ออนไลน์)

ชีวิตแท็กซี่ในลอนดอนบอกอะไรเกี่ยวกับสมองเรา

ฮิวโก สเปียร์ส นักประสาทวิทยาทางความคิด ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความจำ แห่งมหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตีคอลเลจลอนดอน (University College London–UCL) บอกว่า “เมื่อขึ้นแท็กซีดำของลอนดอน แล้วบอกจุดหมาย คนขับก็มีหน้าที่พาคุณไปส่งยังปลายทางด้วยเส้นทางที่เร็วที่สุด” ในการทำเช่นนั้นได้ คนขับแท็กซี่ต้องจดจำถนนทุกสายในกรุงลอนดอน ซึ่งภายในรัศมี 10 กิโลเมตร มีถนนกว่า 60,000 สาย (รวมถึงทางเดินรถทางเดียว และการห้ามเลี้ยวตามจุดต่าง ๆ” นอกจากนี้ยังต้องจดจำสถานที่อีกกว่า 100,000 แห่ง คนขับแท็กซี่ใช้เวลา 2-4 ปี กว่าที่จะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว

เมื่อนักประสาทวิทยาศาสตร์ที่ UCL เริ่มศึกษาสมองของคนขับรถ พวกเขาได้ค้นพบเรื่องที่น่าประหลาดใจคือ ขณะที่กำลังมีการจดจำข้อมูลจำนวนมหาศาลนี้ สมองได้เริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น การใช้เทคโนโลยีภาพสมอง ทำให้นักวิทยาศาสตร์เห็นส่วนของสมองที่เรียกว่า ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ขยายใหญ่ขึ้น ช่วยให้ตีความได้ว่า สมองของเรา ณ ชั่วขณะหนึ่ง ไม่ได้คงอยู่แบบนั้นตลอดไป และเรามีความสามารถที่ทำให้สมองเปลี่ยนแปลงได้ (BBC, 2019: ออนไลน์)

5 เทคนิคอัพเกรดสมองพัฒนาความจำ

หากสมองได้รับการการกระตุ้นอย่างถูกต้อง สมองจะมีการสร้างเซลล์ประสาทใหม่เพิ่มมากขึ้นและเชื่อมโยงกันกลายเป็น เส้นทางที่แข็งแรง (Strong Pathway) ในขณะเดียวกันหากสมองของเราไม่ได้รับการกระตุ้นเลย เซลล์ประสาทภายในสมองก็จะค่อยๆ คลายตัวออกจากกัน เกิดเป็นเส้นทางอ่อนแอ (Weak Pathway) และอาจส่งผลให้สมองบริเวณนั้นฝ่อตัวลง (ภัคภร บูรณสันติกูล, 2019: ออนไลน์) 5 เทคนิคต่อไปนี้จะช่วยอัพเกรดสมองและพัฒนาความจำ:

1. ฟิตสมองด้วยการเล่นเกมหรือกิจกรรมฝึกสมอง ถือเป็นการออกกำลังกายสมอง ช่วยพัฒนาด้านความจำ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหลงลืม (Dementia) หรือ มีอาการสมองเสื่อม (Alzheimer’s disease)

โปรแกรมการฝึกสมองจาก BrainRx เป็นโปรแกรมที่ช่วยพัฒนาทักษะทางกระบวนการคิดต่างๆ เช่น ทักษะการเรียนรู้, การอ่าน, ความจำและการใช้สมาธิเพื่อที่จะทำให้สามารถใช้ศักยภาพของสมองได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะใช้ในการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตในประจำวัน ให้กับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ผู้เรียนจะได้ทำกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะด้านต่างๆ ในการคิด เพื่อกระตุ้นการพัฒนาประสิทธิภาพสมอง โดยกิจกรรมต่างๆ จะคล้ายกับการเล่นเกมส์ มากกว่าการเรียน ทำให้ผู้เรียนมีความสนุกสนานระหว่างการฝึก

2. ออกกำลังกายสักนิดเพื่อสุขภาพสมองที่ดี การออกกำลังกายนั้นส่งผลโดยตรงต่อสมอง มีหลักฐานงานวิจัยหลายชิ้น พบว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงของการเสื่อมถอยด้านสติปัญญาตามอายุ (Cognitive Function Impairment) และป้องกันการสูญสียความทรงจำ

3. การกินน้ำตาลมากเกินไป ความจำยิ่งสั้นลง จากข้อมูลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยบอสตัน ปี 2017 โดยใช้สัตว์ในการทดลอง รายงานว่า การบริโภคเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงติดต่อกันทุกวันจะมีส่วนทำให้ปริมาณสมองโดยรวมลดลง ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณแรกของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ นอกจากนี้ยังมีส่วนทำให้สมองส่วนอิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการจำและการเรียนรู้ มีขนาดเล็กลง ตอบสนองได้ช้ากว่าปกติ ส่งผลให้ความจำไม่ดี ร่างกายเฉื่อยชา และเกิดอาการอ่อนเพลีย

4. นอนหลับให้เพียงพอ หากวงจรการนอนหลับตามธรรมชาติถูกรบกวนก็จะนำไปสู่การบกพร่องทางสติปัญญา เนื่องจากกระบวนการที่สมองใช้ในการสร้างความทรงจำเกิดขึ้นขณะนอนหลับ การได้นอนหลับอย่างเต็มที่จะช่วยให้สมองสร้างและเก็บความทรงจำระยะยาวได้เป็นอย่างดี

5. นั่งสมาธิ/เจริญสติ หรือ Mindfulness Meditation ช่วยเพิ่มความจำ ช่วยให้สมองเกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะสมองเสื่อม ปรับปรุงหน่วยความจำในการทำงาน (Working-memory) และหน่วยความจำระยะยาว (Long-term memory)

This will close in 0 seconds