ทักษะประมวลผล

ทักษะด้านความรวดเร็วในการประมวลผล

Processing Speed

การประมวลผลข้อมูลที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

การประมวลผลข้อมูล คือ การกระทำการบางอย่างหรือหลายอย่างกับข้อมูลที่มีอยู่เพื่อสร้างสิ่งใหม่ หรือแปรรูปให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ มนุษย์และสัตว์ที่มีสติปัญญาจะทำการประมวลผลข้อมูลตามธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น เวลาเราเดิน หรือนกบิน เราและนกต้องคอยปรับทิศทางไม่ให้ชนสิ่งกีดขวาง ไม่ให้เดินหรือบินไปชนกับวัตถุสิ่งของที่อยู่ข้างหน้า แม้ประทั้งเวลาเรารับประทานอาหารเราก็ต้องประมวลผลข้อมูลเพื่อตัดสินใจว่าจะไปที่ร้านไหนดี ซึ่งเราต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับร้านอาหารสะสมไว้ก่อนในสมองของเรา เช่น รายการอาหาร รสอาหาร ราคาอาหาร จนกระทั้งเมื่อสั่งอาหารมานั่งรับประทานแล้ว สมองของเราก็ต้องประมวลผลอยู่ตลอดเวลา เช่น ขณะตักข้าวใส่ปาก เราต้องใช้สายตาและประสาทความรู้สึกในการบังคบให้มือถือช้อนไปตักข้าวให้ตรงจาน และยกช้อนใส่ปากให้ตรงปาก ไม่ให้เลอะเป็นต้น ร่างกายของเราเป็นระบบประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนที่สุด โดยมีสมองเป็นตัวประมวลผลกลาง มีเส้นประสาทเป็นเส้นทางระบบสื่อสารข้อมูล มีประสาทสัมผัสเป็นหน่วยรับข้อมูลเข้า คือ ตารับรู้ภาพ ลิ้นรับรู้รส จมูกรับรู้กลิ่น หูรับรู้เสียง และผิวหนังรับรู้การสัมผัส เราอาศัยข้อมูลที่รับรู้เหล่านี้มาสร้างประโยชน์ในการที่จะทำอะไรให้สำเร็จ เช่น เดินทางไปถึงโรงเรียน ตักอาหารใส่ปากไม่หก โดยรวมแล้วก็คือ เพื่อให้ชีวิตอยู่ในสังคม ไม่ให้เกิดความผิดพลาด และเป็นภัยต่อตนเอง

ในการทำงานใด ๆ ก็เช่นกัน ควรกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน ความสำเร็จจะเกิดได้ก็ต้องมีการวางแผนและออกแบบระบบการทำงานให้ดีที่สุด เพื่อแก้ปัญหาความผิดพลาดและความล่าช้าของงาน ระบบงานโดยทั่วไปหมายถึงกระบวนการทำงานที่ประกอบด้วย คน วัตถุดิบ ข้อมูล และเครื่องจักรที่จำเป็น ระหว่างองค์ประกอบทั้ง 4 ประการนี้จะต้องมีการสื่อสาร ซึ่งก็คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน จากนั้นจึงนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อค้นหาข้อมูลที่มีประโยชน์ใช้สำหรับตัดสินใจให้สอดคล้องกันไปในทิศทางที่ต้องการ หรือที่เรียกว่า เป็นระบบ

ความเร็วในการประมวลผลคืออะไร ?

ความเร็วในการประมวลผล (Processing Speed) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของกระบวนการคิด (Cognitive Thinking) ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของการเรียนรู้ การพัฒนาความสามารถทางปัญญา และการใช้เหตุผล

ความเร็วในการประมวลผล (Processing Speed) คือความเร็วของกระบวนการทางความคิด ซึ่งสัมพันธ์กับความเร็วที่บุคคลหนึ่งจะสามารถเข้าใจและตอบสนองต่อข้อมูลที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภาพ (ข้อความและตัวเลข) ข้อมูลเสียง (ภาษา) หรือการเคลื่อนไหว กล่าวคือความเร็วในการประมวลผลคือเวลาที่ใช้ระหว่างการรับรู้และการตอบสนองต่อข้อมูล หากมีความเร็วในการประมวลผลที่ดีจะทำให้กระบวนการคิดและการเรียนรู้ดีขึ้นตามไปด้วย

ความเร็วในการประมวลผลเป็นการอธิบายวิธีที่สมองได้รับ ทำความเข้าใจ และตอบสนองต่อข้อมูล ไม่ใช่ทุกคนที่จะคิดได้อย่างรวดเร็ว และความเร็วในการประมวลผลไม่เกี่ยวข้องกับระดับความฉลาดของเด็ก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กเรียนดีจะมีปัญหาด้านการประมวลผลช้า เนื่องจากปัญหาดังกล่าวเกิดจากความแตกต่างของสมองที่ทำให้พวกเขาใช้เวลาทำสิ่งต่าง ๆ นานกว่าเด็กคนอื่น ซึ่งรวมถึงการทำการบ้าน การสนทนาและการตัดสินใจต่าง ๆ ความเร็วในการประมวลผลที่ช้าสามารถเกิดขึ้นได้เอง แต่มักเกิดร่วมกับโรคสมาธิสั้น (ADHD) ความบกพร่องในการอ่าน (Dyslexia) และความวิตกกังวล (Anxiety) การเร่งคนที่มีการประมวลผลช้านั้นเป็นสิ่งที่เพิ่มความวิตกกังวลและทำให้พวกเขาใช้เวลานานขึ้นในการทำงานให้เสร็จ การประมวลผลช้านั้นเกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถทำให้เด็กมีผลการเรียนแย่กว่าเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน ทำให้เด็กเกิดความผิดหวัง และสร้างความรู้สึกเชิงลบกับการเรียนรู้ ส่งผลให้เกิดความนับถือตนเองต่ำ และขาดความมั่นใจในตนเอง

จากงานวิจัยของ Ellen Braaten ที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับความเร็วในการประมวลผล พบว่าปัญหาความเร็วในการประมวลผลส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเรียน พฤติกรรม และอารมณ์ โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้น (ADHD) นอกจากนี้ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าร้อยละ 61 ของเด็กที่มีการประมวลผลช้าจะมีลักษณะตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น และผลการวิจัยอื่น ๆ อีกดังนี้

1. เด็กผู้ชายถูกวินิจฉัยว่ามีปัญหาการประมวลผลช้ามากกว่าเด็กผู้หญิง

2. เด็ก 1 ใน 3 ที่มีปัญหาการประมวลผลช้า มีปัญหาด้านการเข้าสังคม อาจเนื่องจากความสามารถในการตอบสนองต่อการสื่อสารทั้งทางด้านภาพ และเสียงที่ช้ากว่าคนอื่น ๆ

3. ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้เข้าร่วมการวิจัยมีปัญหาหาทางด้านภาษา อาจเป็นเพราะเด็กจำนวนมากที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การอ่าน และการใช้ภาษาก็มีปัญหาด้านความเร็วในการประมวลผลเช่นกัน

4. เด็กส่วนใหญ่ที่มีการประมวลผลช้า ดูเหมือนอาการของพวกเขาจะไม่หายไปโดยเฉพาะในเด็กผู้ชาย

5. การขาดความเร็วในการประมวลผลไม่เหมือนกับ ADHD แต่ผู้ปกครองของเด็กสมาธิสั้นและเด็กที่มีการประมวลผลช้า มักจะบอกว่าความเร็วในการประมวลผลเป็นอาการที่มีปัญหามากที่สุด พวกเขาบอกว่าอาการของเด็ก ADHD ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก ทำให้เกิดความวุ่นวาย และความชอกช้ำทางจิดใจที่เกิดจากการที่เด็กไม่สามารถทำงานได้ทันเวลา

การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาประมวลผลช้า

1. ฝึกฝนทักษะเฉพาะ  

การฝึกฝนสามารถช่วยปรับปรุงความเร็วของเด็กได้ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทำงานซ้ำ ๆ จะช่วยเพิ่มความเร็วในการประมวลผล

2. ช่วยให้เด็กมีความสามารถมากยิ่งขึ้น 

โดยมองหาวิธีการที่จะช่วยให้เด็กมีความสามารถมากขึ้นจากงานหรือสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

3. การจัดระบบการทำงาน  

การวางแผนและการจัดระบบการทำงานอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กบางคนที่มีความเร็วในการประมวลผลช้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขาไม่รู้ว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหนในการทำงานบางอย่าง การจดบันทึกเวลาการเริ่มทำงานและเวลาที่ทำงานเสร็จสามารถช่วยได้ ทำให้สามารถประเมินระยะเวลาที่ใช้ในการทำงานได้

4. การวางแผน 

การวางแผนกิจกรรมในแต่ละวันเพื่อให้เด็กสามารถคาดเดาได้ว่าในแต่ละวันจะต้องเจอกับอะไร

5. ให้เวลากับเด็ก 

ให้เวลาในการทำสิ่งต่าง ๆ แก่เด็กมากขึ้น ทั้งทางด้านการทำงาน การคิด และการตัดสินใจ การเร่งหรือกระตุ้นให้เด็กทำเร็วๆ จะทำให้เด็กเกิดความวิตกกังวลและทำสิ่งต่าง ๆ ช้าลง

“ปกติผมนั้นเป็นคนที่ขี้ลืมง่าย ความจำไม่ดี และสมองสั่งการได้ช้า ทำให้การทำงานไม่ราบรื่นเท่าไรนัก จึงตัดสินใจเข้าร่วมโปรแกรมฝึกสมองกับ BrainandLife Center และหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมฝึกสมอง การเปลี่ยงแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากตัวผมเองและจากที่คนรอบข้างมองมา กระบวนการคิดการอ่าน รวดเร็วขึ้น มีสมาธิมากขึ้น ลืมน้อยลง มีความทรงจำที่ดีขึ้นทั้งระยะสั้นและระยะยาว ”

ผู้เข้าร่วมโปรแกรมฝึกสมอง อายุ 35 ปี

เราสามารถพัฒนาทักษะความเร็วในการประมวลผล (Processing Speed) ได้อย่างไร

Brain and Life Center เป็นศูนย์พัฒนาสมองและศักยภาพที่ช่วยปรับปรุงและพัฒนาทักษะทางกระบวนการความคิดของสมอง เราสามารถพัฒนาความเร็วในการประมวลผล (Processing Speed) ให้ดีขึ้นได้ด้วย Brain training Program โปรแกรมฝึกสมองที่จะทำให้สมองของคุณมีศักยภาพสูงสุดในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Brain and Life Center คืออะไร

“Brain and Life Center” เป็นศูนย์พัฒนาสมองและศักยภาพแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจาก BrainRx ซึ่งเป็นศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพสมองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเราพัฒนาทักษะทางกระบวนการคิดต่าง ๆ เช่น ทักษะการเรียนรู้ การอ่าน ความจำและการใช้สมาธิเพื่อที่จะทำให้สามารถใช้ศักยภาพของสมองได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะใช้ในการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตในประจำวัน ให้กับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป  ซึ่งทาง Brain and life center มีโปรแกรมที่เรียกว่า Brain training ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยพัฒนาทักษะทางกระบวนการคิด ทั้ง 7 ด้าน ดังนี้

1. ทักษะด้านความจำระยะยาว (Long-term Memory)

2. ทักษะด้านความจำในการทำงาน (Working Memory)

3. ทักษะด้านกระบวนการมองภาพ (Visual Processing)

4. ทักษะด้านตรรกะและเหตุผล (Logic & Reasoning)

5. ความเร็วในการประมวลผล (Processing Speed)

6. ทักษะด้านกระบวนการได้ยินเสียง (Auditory Processing)

7. ทักษะด้านภาษา (English Word Attack)

Brain Training โปรแกรม

โปรแกรมการฝึกสมองจาก BrainRx จะช่วยพัฒนาศักยภาพทางการคิดให้ผู้เรียนอย่างสูงสุด ด้วยโปรแกรมการฝึก 2 รูปแบบ คือ one on one training และ digital training

1. One-On-One Training  เป็นการเทรนตัวต่อตัวกับผู้เชี่ยวชาญ ผู้เรียนจะได้ทำกิจกรรมที่ต้องใช้การคิด และทักษะด้านต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมอง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะคล้ายกับการเล่นเกมส์มากกว่าการเรียน ทำให้ผู้เรียนมีความสนุกสนาน

2. Digital training  เป็นการเทรนด้วยโปรแกรมผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะทางการคิดเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะการเรียนรู้ของสมอง โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำตลอดการเทรน

ผู้เรียนจะต้องเทรนทั้ง 2 รูปแบบควบคู่กันไป เพื่อให้สมองของผู้เรียนมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลจากการเทรนทั้ง 2 รูปแบบนั้นจะทำให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • ผู้เรียนมีความจำที่ดีขึ้น
  • ผู้เรียนมีทักษะการใช้สายตาดีขึ้น
  • ผู้เรียนมีการคิดเชิงตรรกะและเหตุผลมากขึ้น
  • ผู้เรียนมีการประเมินผลที่เร็วขึ้น
  • ผู้เรียนมีการรับรู้ทางการได้ยินและมองเห็นดีขึ้น
  • ผู้เรียนมีสมาธิและความสามารถในการจดจ่อมากขึ้น

This will close in 0 seconds