วิธีฝึกความจำ ป้องกันความจำสั้นเด็กและผู้ใหญ่
หัวข้อย่อย
- ความจำสั้นเกิดจากอะไร
- อาการความจำสั้น อาการแบบไหนที่เตือนว่าเราเริ่มมีความจำสั้น ?
- ทริคฝึกความจำ พัฒนาสมองง่าย ๆ ทำได้ทุกวัย
ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ามนุษย์นั้นมีปัญหาเกี่ยวกับโรคความจำมากขึ้น ทั้งในวัยเด็ก วัยเรียน วัยทำงาน หรือแม้กระทั่งผู้สูงวัย โดยอาการความจำสั้นอาจเป็นระยะแรกที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคทางสมองในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ หรือแม้กระทั่งโรคสมาธิสั้นเองก็ได้เช่นกัน
หากเพื่อน ๆ อยากรู้ว่าโรคความจำสั้นมีสาเหตุมาจากอะไร หรือกำลังสงสัยว่าอาการของตัวเองในตอนนี้เข้าข่ายว่ามีอาการความจำสั้น ถ้าอยากรู้ว่าตัวเองมีพฤติกรรมที่จะทำให้เป็นโรคความจำสั้นอาการเหล่านั้นเข้าข่ายหรือเปล่า บทความต่อไปนี้จะเป็นข้อสังเกตอาการความจำสั้น พร้อมทั้งยังมีวิธีฝึกความจำและวิธีการพัฒนาความจำที่เรานำมาแชร์ให้เพื่อน ๆ ป้องกันอาการความจำสั้นกันค่ะ
ความจำสั้นเกิดจากอะไร
สาเหตุของอาการความจำสั้นนั้นมีหลายปัจจัย จะเป็นอะไรได้บ้าง มาดูกัน
- อายุ เมื่อคนเรามีอายุที่เพิ่มมากขึ้นสมองก็จะแก่ตามไปด้วย สาเหตุนี้ถือว่าเป็นธรรมชาติของผู้สูงวัยที่จะมีอาการความจำสั้นตามมา ถือว่าเป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้คนมีอาการหลงลืมในระยะสั้นเลยก็ว่าได้
- ภาวะเครียด หากเรามีภาวะเครียดเป็นระยะเวลายาวนานก็สามารถส่งผลกระทบต่อสมองและความจำได้
- พักผ่อนไม่เพียงพอ การที่เราพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้สมองไม่ได้รับการพักผ่อน เมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้งานสมองจะทำงานได้ไม่เต็มที่ เมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ ก็อาจทำให้มีปัญหาเรื่องความจำสั้นด้วยเช่นกัน
- การใช้ยาหรือสารเคมี ยาหรือสารเคมีบางตัวที่ใช้ในการรักษาโรคหรือทำงาน อาจส่งผลกระทบต่อสมองและความจำสั้น
- การเสพติดสารเสพติด การใช้สารเสพติดจะส่งผลกระทบต่อสมองโดยตรง เมื่อใช้เป็นระยะเวลานานอาจทำให้มีปัญหาเรื่องความจำสั้นได้
- การบาดเจ็บทางสมอง การบาดเจ็บทางสมองสามารถทำให้เกิดโรคความจำสั้นหรือถ้ารุนแรงกว่านั้นอาจเสี่ยงสูญเสียความจำไปโดยถาวรได้อีกด้วย
- ภาวะซึมเศร้า ภาวะซึมเศร้าสามารถมีผลต่อความจำและโรคต่าง ๆ ทางสมองได้ หรือในผู้ป่วยบางรายโรคความจำสั้นอาจเป็นสัญญาณแรกของการมีภาวะซึมเศร้าอีกด้วย
- โรคจิตเวช บางสภาวะทางจิต เช่น อาการวิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า หรือกลุ่มโรคจิตเภทอื่น ๆ อาจเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดความจำสั้นลงได้
- โรคหลอดเลือดสมอง ปัญหาในระบบหลอดเลือดสมอง เช่น สูญเสียเลือด หลอดเลือดตีบ หรืออาการเลือดอุดตัน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความจำสั้น
อ่านเพิ่มเติม
Short-Term Memory ความจำระยะสั้น หน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำกัดภายในระยะเวลาสั้นๆสิ่งที่ป้องกันการลืม คือการ Recording และ Rehearsal
ความจำสั้นในเด็ก ไม่ใช่เรื่องเล็ก อย่ามองข้าม
อาการเด็กความจำสั้นไม่ใช่เรื่องเล็ก ถ้าไม่ได้รับการฝึกหรือการกระตุ้นความจำอย่างที่ควร เราขอแชร์ความจำสั้นวิธีแก้ในเด็กที่พ่อแม่นำไปใช้ได้เลย
อาการความจำสั้น อาการแบบไหนที่เตือนว่าเราเริ่มมีความจำสั้น ?
อาการความจำสั้นหรือปัญหาเกี่ยวกับความจำนั้น เป็นอาการที่เราจะหลงลืม หรือจำสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้ เนื่องจากความจำระยะสั้นนั้นมีหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลอย่างจำกัดและถูกรบกวนได้ง่าย แล้วเราจะลืมอะไรบ้าง ต่อไปนี้คือข้อสังเกตทั่วไปที่เพื่อน ๆ สามารถสังเกตเองได้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงของอาการความจำสั้นหรือเปล่า สามารถสังเกตได้ดังนี้
- ลืมข้อมูลพื้นฐาน ลืมข้อมูลพื้นฐานที่ตัวเองใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ชื่อคนที่คุณรู้จักและที่อยู่ที่คุณพักอาศัย
- การลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงสั้น ๆ นี้ แม้ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญก็ตาม
- ความยากลำบากในการจดจำข้อมูล มีความยากลำบากในการจดจำข้อมูลใหม่ ๆ เช่น หมายเลขโทรศัพท์, ชื่อผลิตภัณฑ์, หรือรายละเอียดการนัดหมาย
- การทำซ้ำหรือทบทวนกับตัวเองบ่อย ๆ การพูดหรือทำซ้ำเรื่องที่เคยพูดหรือทำมาแล้ว บ่อย ๆ ซ้ำ ๆ เหมือนไม่เคยทำมาก่อน
- การหลงทาง การหลงทางในที่ที่คุณควรรู้จักหรือเคยไปเป็นประจำ
- ความหลงลืมในการทำงานประจำวัน ลืมทำงานประจำวันหรือทำงานที่เคยทำมาก่อน
- ความลำบากในการคิดหรือตัดสินใจ เริ่มมีความลำบากในการคิดหรือตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องที่คุณกำลังพบเจอ
หากคุณมีอาการหรือพบว่าตัวเองกำลังมีปัญหาในเรื่องข้างต้นที่ได้กล่าวไป ในบางคนที่มีอาการเหล่านี้อาจจะไม่ได้ถือว่าเป็นความผิดปกติทางสมอง อาจจะเป็นเพียงแค่การหลงลืมในระยะสั้น ๆ และเป็นนาน ๆ ครั้ง เพียงเท่านั้น หรือในบางคนอาการเหล่านี้อาจบ่งบอกถึงโรคทางสมองอื่น ๆ ได้เช่นกัน ดังนั้นหากท่านใดมีความกังวล ควรพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางสมองเพื่อรับการประเมินและวินิจฉัยอย่างถูกต้องจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ทริคฝึกความจำ พัฒนาสมองง่าย ๆ ทำได้ทุกวัย
การฝึกความจำเพื่อพัฒนาสมองให้มีความจำที่ดีขึ้นนั้น มีหลายวิธีที่เราเองสามารถทำได้ที่บ้าน เราควรฝึกความจำและพัฒนาความจำอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคความจําเสื่อมระยะสั้นที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
แล้วมีวิธีฝึกความจำหรืการพัฒนาความจำวิธีใดบ้างที่เราสามารถทำเองได้และไม่ว่าจะเป็นวัยไหนก็สามารถใช้ทริคนี้ได้ทุกคน บทความต่อไปนี้จะช่วยให้เพื่อน ๆ ได้รู้และสามารถนำวิธีฝึกความจำไปปรับใช้ได้ตามความถนัดของแต่ละคน ดังนี้
- การใช้เทคนิคจดจำแบบตัวอย่าง เป็นการลองจดจำข้อมูลโดยการสร้างรูปภาพหรือตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้น ๆ ในใจของคุณ เช่น การวาดภาพที่สื่อถึงสิ่งนั้น ๆ เมื่อเราดูภาพแล้วจะทำให้เราสามารถบอกได้ว่าสิ่งที่เรากำลังคิดถึงคืออะไร
- การใช้เทคนิคเชื่อมโยง เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลใหม่กับข้อมูลที่มีอยู่แล้วในหน่วยความจำของคุณ เช่น การนำคำศัพท์ใหม่กับคำศัพท์ที่คุณรู้จักมาเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน
- การใช้เทคนิคจดจำด้วยตัวเลข เป็นการใช้ตัวเลขมาช่วยในการจดจำข้อมูลนั้น ๆ เช่น การจำว่าข้อที่ 1 หมายข้อมูลในส่วนแรก การจดจำเลขเวลาหรือวันที่นั้น ๆ ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง
- การใช้ร่างกาย การให้ร่างกายได้มีส่วนร่วมในขณะที่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ สามารถช่วยให้ความจำดีขึ้นได้ อาจจะเป็นการลองเชื่อมโยงการเรียนรู้กับกิจกรรมที่มีการใช้ร่างกาย เช่น การเรียนรู้ข้อมูลใหม่ ๆ ขณะที่คุณกำลังเล่นกีฬา หากครั้งต่อไปเมื่อเรากำลังจะเล่นกีฬานั้น ๆ จะทำให้เรานึกถึงสิ่งที่เรียนรู้ในครั้งก่อนได้ในทันทีเมื่อเรากำลังเล่นกีฬาชนิดเดิม
- การใช้การเต้นรำหรือการร้องเพลง การใช้เครื่องดนตรี เต้นรำ หรือการร้องเพลงสามารถช่วยในการจดจำข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น เช่น คุณครูบางวิชาที่มีการนำบทเรียนมาใส่ทำนองดนตรีให้นักเรียนร้องตาม เมื่อมีดนตรีมาช่วยจะทำให้เด็ก ๆ สามารถจำบทเรียนนั้นได้ง่ายมากขึ้น
- การใช้เทคนิคสร้างเรื่องราว การนำข้อมูลที่เราต้องการจดจำมาสร้างหรือคิดให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน มีเนื้อเรื่อง หรือมีความหมายและตำแหน่งในเรื่องราวนั้น ๆ จะสามารถช่วยให้คุณมีความจำในเรื่องนั้น ๆ ดีขึ้นได้
- การใช้การสร้างแผนที่ความคิด (Mind Mapping) การใช้แผนที่ความคิดเพื่อแสดงความสัมพันธ์และโครงสร้างข้อมูลที่ต้องการจดจำจะช่วยให้คุณสามารถเข้าใจข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ ถูกต้อง ครบถ้วน เมื่อเรากลับมาดูจะสามารถจดจำได้ว่าข้อมูลในเรื่องนี้อยู่ในส่วนใดของแผนที่ความคิดที่เราเคยทำขึ้น
- การทำซ้ำและทบทวน การทบทวนข้อมูลที่ต้องการจดจำอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยในการยืดหยุ่นของหน่วยความจำ กล่าวคือจะเป็นการทำให้เราคุ้นชินกับข้อมูลนั้น ๆ เมื่อมีการเรียกใช้อีกครั้งเราจะสามารถจดจำได้ทันทีว่าข้อมูลในส่วนนี้ที่เรากำลังต้องการนึกถึงคืออะไร
- การให้เวลาพักผ่อน การให้เวลาในการพักผ่อนระหว่างการเรียนรู้ จะทำให้สมองของเราไม่ได้ทำงานหนักมากหรือรับข้อมูลมากจนเกินไป เมื่อเราต้องการที่จะจดจำข้อมูลใหม่ ๆ ต่อ จะทำให้สมองของเราเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ได้เร็วเหมือนกับช่วงแรกที่เริ่มจำ
- การออกกำลังกาย การออกกำลังกายสามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังสมองจะส่งผลให้การทำงานของสมองมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อสมองพร้อมทำงานจะทำให้เราสามารถจดจำข้อมูลได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
อ่านเพิ่มเติม
เราสามารถ พัฒนาสมอง ของเราได้ ถ้าเรา ฝึกสมอง เป็นประจำ โดย 10 เคล็ดลับง่ายๆนี้ จะทำให้เราฉลาดได้ในทุกช่วงวัย และใช้ศักยภาพที่มีได้อย่างสูงสุด